วิธีเตรียมตัว "บริจาคเลือด" ข้อห้ามอะไร ใครบ้างที่ทำไม่ได้
ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุผู้ที่พร้อมบริจาคโลหิตต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ -70 ปี สุขภาพสมบูรณ์พร้อม หากอายุต่ำกว่านั้นต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง โดยการเตรียมตัวบริจาคโลหิต มีดังนี้
ก่อนบริจาคโลหิต
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะใดๆ อย่างน้อย 7 วัน
- รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต และเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง ภายใน 6 ชั่วโมง
- ดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- งดสูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้
ข้อห้ามในการบริจาคโลหิต
- หญิงตั้งครรภ์และการให้นมบุตร ให้งดบริจาคโลหิตชั่วคราว
- สตรีอยู่ระหว่างมีประจำเดือนที่มีอาการอ่อนเพลีย
- การสักหรือการเจาะผิวหนังควรงดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 1 ปี จนกว่าจะคัดกรองอย่างละเอียด
- ท้องเสีย ท้องร่วง ควรงดบริจาคโลหิต 7 วัน
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุในระยะ 3 เดือน ควรงดเพราะอาจป่วยโรคร้าย
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดเล็ก ควรเว้นการบริจาคโลหิต 6 เดือน - 1 ปี
- ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน ต้องเว้นอย่างน้อย 3 วัน
- เคยมีประวัติติดยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องรอพ้นระยะ 3 ปี
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เสี่ยงติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ควรงด
- ผู้ที่ป่วยโรคเรื้อรัง หรือประวัติการเจ็บป่วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์ โรคตับอักเสบ ฯลฯ
หลังบริจาคโลหิต
- ควรพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการ และนั่งพักอย่างน้อย 15 นาที ให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
- หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟท์ บันไดเลื่อน อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการบริจาคโลหิต
- ผู้ที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
- รับประทานอาหารตามปกติ
- รับประทานธาตุเหล็กบำรุงโลหิต พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง หรือน้ำมะเขือเทศ
อย่างไรก็ตาม การบริจาคโลหิตหรือบริจากเลือดจะต้องให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ก่อนเข้ารับบริจาค เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ
ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ
เปิดรายชื่อตัวแทนรัฐบาลไทย หารือด่วนกับกัมพูชา 28 ก.ค.นี้ ที่มาเลเซีย
26 นาทีที่แล้ว
กัมพูชา ยิงใส่บ้านประชาชนกันทรลักษ์ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย
42 นาทีที่แล้ว
‘ภูมิธรรม-ฮุน มาเนต’ นัดถกด่วน ปมหยุดยิงชายแดนไทย-กัมพูชาพรุ่งนี้ ที่มาเลเซีย
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
DEIIT วิเคราะห์ 3 ฉากทัศน์ผลกระทบเศรษฐกิจชายแดน “ไทย-กัมพูชา”
1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิดีโอแนะนำ
ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ
ไขข้อสงสัย ทำไมไม่ควรทานยาคู่กับนม ส่งผลต่อฤทธิ์ของยาจริงหรือไม่?
PPTV HD 36
'แพ้ยา' อันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นได้ทุกคน อาการแบบไหน? ต้องระวัง
กรุงเทพธุรกิจ
เทคนิคอยู่กับความโกรธอย่างมีสติ ท่ามกลางความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา
PPTV HD 36
ต้นแบบ ‘ครอบครัวคนหัวใจเพชร’ งดเหล้า ยกระดับความสุขทุกมติ
กรุงเทพธุรกิจ
สธ.เผย มีผู้บาดเจ็บเหตุชายแดนไทย-กัมพูชาเพิ่ม 1 ราย รพ.ปิดบริการเพิ่ม 4 แห่ง
PPTV HD 36
หลายคนชะล่าใจ 5 จุดบนร่างกายบวม ทำลายตับไม่รู้ตัว ใครมีอาการรีบไปพบแพทย์ทันที
News In Thailand
มทร.ธัญบุรี เปิดพื้นที่รองรับผู้ลี้ภัย 2,000 คน พร้อมชวนบริจาคสิ่งของ
กรุงเทพธุรกิจ
กลไกสมองของคนตรรกะประหลาด "สมองส่วนหน้า" โดนกระแทกโตมาโง่จริงไหม ?
Amarin TV