โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

“พารากอนเเคร์” เปิดตัวพรีเซนเตอร์ ชิงตลาดความงาม 7.6 หมื่นล้าน.

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บริษัท ควอนตั้ม เฮลท์แคร์ ไทยแลนด์ ผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ด้านความงามตลาดเมืองไทยมานานกว่า 10 ปี ประกาศทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญ ยกระดับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พารากอนเเคร์ (ไทยเเลนด์) จำกัด (ParagonCare (Thailand) Co.,Ltd) เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจภายใต้สำนักงานใหญ่ บริษัท พารากอนแคร์ กรุ๊ป (ParagonCare Group) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นกลุ่มบริษัทเฮลท์แคร์ ดำเนินธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย ที่มีผลประกอบการในปี 2567 ที่ผ่านมากว่า 3,300 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

โดย บริษัท พารากอนแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จะยกระดับเพิ่มความแข็งแกร่งไปอีกขั้น พร้อมรองรับการขยายพอร์ตธุรกิจต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ ‘Diversification & Market Penetration’ ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลักดันให้พันธมิตรทางธุรกิจเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน

พร้อมเดินหน้ารุกตลาดความงาม ด้วยการเปิดตัว ‘เจมีไนน์’ นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ พรีเซนเตอร์ ULTRAFORMER MPT คนแรกของไทย และ‘โฟร์ท’ ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุล พรีเซนเตอร์ VOLNEWMER คนแรกของไทย สำหรับถ่ายทอดภาพลักษณ์และขยายฐานสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ของตลาด ด้สสนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ด้านความงาม โดดเด่นและเป็นผู้นำในกลุ่มของ การยกกระชับผิว (Skin Lifting) แบบไม่ผ่าตัด (Non-Surgical)

ทั้งนี้ บริษัท พารากอนเเคร์ (ไทยเเลนด์) จำกัด ได้จัดงาน ParagonCare Grand Launch in Thailand ‘Refining New Gen Beauty’ สร้างปรากฏการณ์มิติใหม่ของนิยามความงามสุดยิ่งใหญ่ ในคอนเซปต์ Consumer Event พร้อมชูจุดเด่นเครื่องเครื่องมือทางการแพทย์ด้านความงาม ของบริษัท CLASSYS อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

นายเซอค ซังยุบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พารากอนเเคร์ (ไทยเเลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำในกลุ่มนำเข้าเครื่องมือแพทย์ด้านความงามเมืองไทยกว่า 10 ปี ได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของ พารากอนแคร์ ประเทศไทย ที่มีความพร้อมทุกมิติในการสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถให้พันธมิตรทางธุรกิจมีความแข็งแกร่ง เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดความงามทั่วโลกในระยะยาว ตอบโจทย์ปัญหาด้านความงามอย่างครบวงจร

อีกทั้งมุ่งเน้นเรื่องราคาที่สมเหตุสมผล รวมถึงสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การให้การดูแลและบริการลูกค้าด้วยการบริการคุณภาพสูง ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอบรมผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลจากบริษัทผู้ผลิต รวมถึงเครื่องมือตรวจวัดที่ผ่านการสอบเทียบตามมาตรฐานสากลเป็นประจำทุกปี

ด้าน นางสาวอุมาภรณ์ เมธเมาลี ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจความงาม บริษัท พารากอนเเคร์ (ไทยเเลนด์) จำกัด กล่าวว่า ตลาด Medical Aesthetics ทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มขึ้นสำหรับการทำหัตถการแบบไม่ผ่าตัด และหัตถการแบบผ่าตัดเล็กน้อย ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการรักษาที่ปลอดภัย มีระยะเวลาการฟื้นตัวสั้น และให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ ดังนั้น จึงมีนโยบายที่มุ่งเน้นคุณภาพและการบริการ พร้อมทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเททำให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2567 มีมูลค่ายอดขายกว่า 1,500 ล้านบาท ทั้งยังมุ่งหวังว่าในปี 2568 จะเติบโตไปสู่ 2,000 ล้านบาท

จากทิศทางภาพรวมตลาดโลกของเครื่องมือแพทย์ด้านความงามยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องนั้น ด้วยความแข็งแกร่งของการรวมกิจการและมุ่งหวังการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่ม บริษัทพารากอนแคร์ ไทยแลนด์ จึงมุ่งเน้นขยายธุรกิจของบริษัท ภายใต้กลยุทธ์ ‘Diversification & Market Penetration’ ดังนี้

1. การเพิ่มสินค้า (Product Expansion/Line Extension) เพื่อเพิ่มยอดขายต่อคลินิก/ลูกค้าเดิม (Upselling & Cross-selling)

2. การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Penetration) เพื่อเพิ่ม % Market Share ในกลุ่มเป้าหมายเดิม

3. การขยายไปยัง Segment ใหม่ (Market Development & Segmentation Expansion) แสวงหาโอกาสในกลุ่มลูกค้าใหม่ หรือ Segment ใหม่ของธุรกิจความงาม เช่น เวชสำอาง (Cosmeceutical), Wellness & Anti-aging, Beauty Tech และอื่นๆ

สำหรับการขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ เน้นกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยทำงาน สื่อสารส่งต่อแนวคิดเข้าถึงไลฟ์สไตล์และขยายสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว ยังสะท้อนภาพความเป็นผู้นำในตลาดเครื่องมือแพทย์ด้านความงามเมืองไทยได้อย่างแท้จริง

โดยคาดการณ์ตลาดธุรกิจศัลยกรรมตกแต่งและความงามของไทยในปี 2568 มีมูลค่าจะแตะระดับ 76,500 ล้านบาท เติบโต 2.8% จากปีก่อน จากการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่ารักษาและค่าบริการที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนั้นในปี 2568 คาดว่าส่วนแบ่งมูลค่าตลาดของกลุ่มคลินิกอยู่ที่ 85% ลดลงจาก 90% ในปี 2564 เนื่องมาจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลจะมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 15% เนื่องจากจำนวนลูกค้าต่างชาติที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจุดแข็งด้านมาตรฐานการรักษาและชื่อเสียงของศัลยแพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีคลินิกความงาม 7,000 แห่งทั่วประเทศ เฉพาะในกทม. 2,000 แห่ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ราคาทองวันนี้ 23 กรกฎาคม 2568 เปิดตลาดราคาทองปรับเพิ่มขึ้น 350 บาท

29 นาทีที่แล้ว

ส.ป.ก.ขอดูกฎหมาย โซลาร์ฟาร์ม 4 หมื่นเมกฯ“ทักษิณ” หวั่นซ้ำรอยกังหันลมผลิตไฟฟ้า

32 นาทีที่แล้ว

จับตา “ดีลทรัมป์” สหรัฐฯ-จีนจ่อขยายเส้นตายภาษี 12 ส.ค.

34 นาทีที่แล้ว

เช็กรายละเอียดสิทธิทำฟันใหม่ เพิ่มวงเงินสูงสุด 2,500 บาท เริ่ม ส.ค 68

39 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เช็กรายละเอียดสิทธิทำฟันใหม่ เพิ่มวงเงินสูงสุด 2,500 บาท เริ่ม ส.ค 68

ฐานเศรษฐกิจ

เปิดโปรไฟล์ (ว่าที่) เลขาฯ อย.-อธิบดีกรมการแพทย์-กรมวิทย์ คนใหม่

ฐานเศรษฐกิจ

เตือนระวัง! แมลงก้นกระดก พบคนป่วยโรคเบาหวานถูกกัด แผลบวมแดง ใจสั่น ถึงขั้นช็อก

TNN ช่อง16

"ปล่อยห้องรก" แค่ความขี้เกียจ หรือสัญญาณเตือน! ปัญหาสุขภาพจิต

TNN ช่อง16

หนุนต้นแบบชมรมคนหัวใจเพชร พื้นที่สงขลา ชวน ช่วย ชมเชียร์

กรุงเทพธุรกิจ

10 สิทธิประโยชน์ใหม่ 'บัตรทอง 30 บาท' ปี' 2569 พร้อมปรับแนวจัดสรรเงิน

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...