10 สิทธิประโยชน์ใหม่ 'บัตรทอง 30 บาท' ปี' 2569 พร้อมปรับแนวจัดสรรเงิน
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2568 ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ภายในงานประชุมการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการต่อ (ร่าง) ประกาศการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2569 นางกาญจนา ศรีชมภู ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2569 สิทธิประโยชน์และความเปลี่ยนแปลงว่า งบประมาณที่คาดว่าจะได้รับในปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ราว 2.65 แสนล้านบาท หักเงินส่วนของเงินเดือนราว 71,000 ล้านบาท เหลืองบประมาณที่สปสช.นำมาบริหารจัดการราว 1.93 แสนล้านบาท
(ร่าง)ข้อเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ ที่ขอรับจัดสรรงบประมาณ ปี 2569
- สายด่วนเลิกเหล้า งบได้รับ 10.75 ล้านบาท เป้าหมาย 100,000 ครั้ง
- สายด่วนท้องไม่พร้อม/สายด่วนวัยรุ่น งบได้รับ 10.75 ล้านบาท เป้าหมาย 100,000 ครั้ง
- ธนาคารนมแม่งบได้รับ 2.68 ล้านบาท เป้าหมาย 12,000 คน
- วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในเด็ก (PCV) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ งบที่ได้รับ 225.02 ล้านบาท เป้าหมาย 383,300 คน
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Flu) สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ งบที่ได้รับ 138.66 ล้านบาท เป้าหมาย 1,015,800 คน
6.ชุดตรวจ Microalburnin ในปัสสาวะ เพื่อตรวจคัดกรองติดตามโรคไดเรื้อรัง และภาวะแทรกช้อนจากเบาหวาน อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ งบที่ได้รับ 40.00 ล้านบาท เป้าหมาย 400,000 คน
7.การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ งบที่ได้รับ 202.20 ล้านบาท เป้าหมาย 197,500 คน
8.การตรวจคัดกรอง Autistic disorder ด้วยเครื่องมือ TDAS อยู่ระหว่างการพิจารณาเป็นสิทธิประโยชน์ งบที่ได้รับ 91.41 ล้านบาท เป้าหมาย 130,580 คน
9.DMHT การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่เบาหวานระยะสงบ งบที่ได้รับ 39.33 ล้านบาท เป้าหมาย 15,000 คน
10.บริการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชุมชนงบที่ได้รับ 57.87 ล้านบาท เป้าหมาย 17,420 คน
สำหรับประเด็นปรับปรุง(ร่าง)ประกาศบริหารกองทุนปีงบประมาณพ.ศ 2569
- ผู้ป่วยใน ประเด็นที่เปลี่ยนแปลง คือ การกำกับติดตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2569 และการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข(Medical Audit)
โดยให้นำผลการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับบริการผู้ป่วยในทั่วไปที่สุ่มตรวจสอบแบบไม่มีเงื่อนไข (Random sampling) ของหน่วยบริการระดับเขตภายใต้ประกาศบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณนั้น มาประกอบการพิจารณาปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ต่ำ ( SUM ADJRW) ให้ถูกต้อง
โดยการนำร้อยละของค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้องดังกล่าวไป คำนวณย้อนกลับจากข้อมูลในภาพรวมทั้งหมด โดยยังคงเป็นการบริหารในระดับเขตภายใต้วงเงิน Global budget ระดับเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด
- บริการกรณีเฉพาะ ปรับอัตราจ่ายสำหรับบริการผู้ป่วยนอกทุกที่ Op Anywhere เป็นแบบรายครั้งของการรับบริการ และเพิ่มการจ่ายค่าพาหนะสำหรับการรับส่งผู้ป่วยจากที่พักอาศัยไปยังหน่วยบริการ
- บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ขยายขอบเขตการให้บริการควบคุมโรคโดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีความเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน จากเดิมที่มุ่งเน้นกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงสูง
- ไตวายเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเป็นงบประมาณแบบปลายปิด
- บริการควบคุมโรคเรื้อรัง การจ่ายตามผลลัพธ์บริการเพื่อเพิ่มกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ภาวะโรคสงบและสนับสนุนเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องในรูปแบบการจัดซื้อรวม
- บริการระดับปฐมภูมิและหน่วยนวัตกรรม ปรับอัตราจ่ายให้เหมาะสมในหน่วยนวัตกรรม ปรับลดจำนวนครั้งการใช้บริการตามรายการ/ อัตราจ่าย และรายการบริการที่ไม่จำเป็นสำหรับหน่วยนวัตกรรม 7 ประเภท จ่ายภายในวงเงินงบประมาณแบบปลายปิดไม่เกิน 3,770.48 ล้านบาท
- ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานครการจ่ายเงินครอบคลุมบริการแว่นตาเด็ก ผ้าอ้อมและการบำบัดยาเสพติดในชุมชน ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นหลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
- บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป พิจารณารายการที่จ่ายตามอัตราคงที่ตามรายการบริการเฉพาะที่จำเป็น
- ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมโรคไม่ติดต่อวงเล็บ( ncds ) ปรับแนวทางการจ่ายค่าบริการให้เป็นโครงการนำร่องป้องกันเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตเรื้อรัง สำหรับคนไทยทุกคนหลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
ทั้งนี้ เมื่อผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้วจะนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) ในวันที่ 4 ส.ค.2568