โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เสียงคนพิการเสนอ 'คู่มือวิดีโอล่ามภาษามือ' เข้าถึงบัตรทอง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายชัยยา ปุ้มไสว ผู้พิการทางการได้ยิน กล่าวในรายการพอดแคสต์ "Check up สุขภาพสิทธิ" ช่อง Youtube : Lady Wheeler Channel เกี่ยวกับการรับรู้ “สิทธิบัตรทอง 30 บาท” และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน ระบุว่า เคยเห็นโลโก้ สปสช. อยู่บ่อยๆ แต่ไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่อะไร เพราะคนหูหนวกจะเห็นแค่ภาพโลโก้

เช่นเดียวกับกับป้าย “บัตรทอง 30 บาท” ที่เห็นได้แต่ภาพ แต่ก็ไม่มีรายละเอียด จึงไม่สามารถเข้าใจมากกว่านั้น หรือบางครั้งในสื่อต่างๆ แม้ว่าจะมีล่ามภาษามือช่วยแปลเรื่องสิทธิผ่านสื่อต่างๆ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอะไร ทำให้เวลาที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลแต่ละแห่ง จึงเหมือนกับการลองผิดลองถูก และไม่มีใครที่ให้คำแนะนำการเข้ารับบริการที่ถูกต้องได้ แม้ว่าปัจจุบันตนเองจะใช้สิทธิบัตรทอง “คนพิการ (ท.74)” เวลาไปโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มักจะถามว่าใช้สิทธิบัตรทองหรือไม่ ทำให้ยังสับสนว่า “สิทธิบัตรทองคนพิการ (ท.74)” จะเหมือนบัตรทอง 30 บาททั่วไปหรือไม่ หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สปสช. เปิดขั้นตอน ลาออกจากงาน เปลี่ยนสิทธิประกันสังคม เป็นบัตรทอง

คนพิการห้ามพลาด! เปิดอบรมกว่า 70 หลักสูตร ทั่วไทย ก.ค.-ส.ค. 68

เสนอจัดทำ “คู่มือการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน”

ทั้งนี้ จากประสบการณ์การเข้ารับการรักษาพยาบาล จึงอยากเสนอให้มีการจัดทำ “คู่มือการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน” เนื่องจากคนหูหนวกแม้ว่าจะอ่านตัวอักษรได้ แต่ก็อาจไม่เข้าใจ ดังนั้นอยากให้จะมี QR code อยู่ในคู่มือ และเมื่อสแกนเข้าไปแล้วมี “วิดีโอล่ามภาษามือ” อธิบายเพื่อให้คนหูหนวกได้เข้าใจสิทธิบัตรทองของตัวเอง

นอกจากนี้อยากให้ทำสื่อในรูปแบบหนังสั้นด้วย โดยมีการแสดงบทบาทสมมุติเวลาที่คนหูหนวกไปติดต่อรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลจะต้องทำอย่างไร เพื่อเป็นการแนะนำพร้อมกับการให้ความรู้วิธิการใช้สิทธิบัตรทองฯ ให้กับคนหูหนวก เมื่อคนพิการคนหูหนวกดูแล้วก็ได้เรียนรู้และเชื่อมโยงความเข้าใจเวลาที่ต้องไปรับบริการที่สถานพยาบาล ทั้งยังเป็นรูปแบบสื่อสารที่ทำให้มีคความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

แนะอบรมให้ความรู้สิทธิบัตรทองแก่คนหูหนวก

นางอินทิรา ปุ้มไสว ผู้พิการทางการได้ยิน กว่าวว่า ตัวเองรู้แค่ว่า สปสช. ดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับคนไทยทั้งประเทศ แต่ในส่วนของการทำงานและนโยบายต่างๆ ของ สปสช. ตัวเองไม่เข้าใจ บ่อยครั้งที่ สปสช. มีนโยบายหรือโครงการต่างๆ ก็จะไม่ทราบ เนื่องจากไม่มีล่ามภาษามือคอยแปลให้ ทำให้ข้อมูลการรับรู้สิทธิสุขภาพก็จะตกหล่น และแม้จะมีคู่มือเกี่ยวกับสิทธิบัตรทอง แต่คนหูหนวกก็จะอ่านไม่เข้าใจ จึงต้องมีสื่อเฉพาะกลุ่ม

อย่างไรก็ดี อยากฝากถึงชมรมคนหูหนวกต่างๆ ด้วยว่า อยากให้มีการจัดทำโครงการอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิรักษาพยาบาลของคนหูหนวยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท รวมทั้งหน่วยงาน สปสช. นอกจากนี้อยากให้เพิ่มขนาดจอของล่ามภาษามือในสื่อต่างๆ เพื่อให้คนหูหนวกเห็นมือของล่ามได้ชัดเจน ดูได้สบายๆโดยไม่ต้องเพ่ง เพราะปัจจุบันเวลามีล่ามภาษามือตามทีวีก็จะดูได้ยาก ต้องไปเพ่งดูใกล้ๆ จอ ยิ่งผู้สูงอายุจะมองไม่เห็น อยากให้ขยายขนาดจอของล่ามให้ใหญ่มากขึ้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

KTC โชว์กำไรสุทธิ Q2/68 แตะ1.89พันล. โต 3.8% สร้างฐานการเงินแกร่ง

53 นาทีที่แล้ว

เอสเพรสโซ No.1 เครื่องดื่มมีคาเฟอีนสูงที่สุด ชาเขียวรั้งอันดับ 5

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปธ.กกต.ชี้ ‘แพทองธาร’ ช่วยหาเสียงได้ แม้ถูกหยุดปฏิบัติหน้าที่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไต่สวน 'คดีชั้น 14' หมอรับอาการ 'ทักษิณ' ไม่วิกฤติ เรือนจำไม่เคยติดตาม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

บุหรี่ซอมบี้ ภัยร้ายพันธุ์ใหม่ผสมยานำสลบ "เอโทมิเดต" อันตรายถึงชีวิต

Amarin TV

เรื่องใหม่ คุณแม่ต้องรู้ เพิ่มวันลาคลอด- ปรับเกณฑ์น้ำหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

เตือนหน้าฝน! ระวังโรคไข้ดิน 2568 ป่วยแล้ว 308 ราย คร่าชีวิต 7 ราย

PPTV HD 36

ภาวะเลือดหนืด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง

สยามรัฐวาไรตี้

ฝันถึงแฟนเก่า ไม่ใช่เพราะคิดถึง แต่สมองกำลังเคลียร์ความจำ

TNN ช่อง16

แพทย์เตือน! น้ำผลไม้ 1 ชนิด ไม่ผ่านการรับรองอันตรายถึงชีวิต

News In Thailand

ไอเดียปรับ “อาหารนอกบ้าน” ให้คลีนได้! เพิ่มใยอาหาร โปรตีนคุณภาพ

PPTV HD 36

"สมศักดิ์" ลุยใต้ จัด 11 คลินิกเชิงรุกบริการทุกช่วงวัยฯ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...