โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

SOCIETY: อย่าเพิ่งปรี๊ดแตก! นักวิจัยเผย ‘การควบคุมอารมณ์ได้ดี’ ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ พร้อมเผย 5 เคล็ดลับการควบคุมอารมณ์

BrandThink

เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่ว่าจะยืนอยู่ในอาชีพใด เราต่างต้องพบกับปัญหาร้อยแปดอย่าง ทั้งความไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ลงมือทำจะสำเร็จไม่หรือ การตัดสินใจเรื่องต่างๆ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีหรือเปล่า แถมยังต้องเจอกับหลากหลายคำถามประดังเข้ามาปั่นป่วนจิตใจให้เราอาจหันเหไปทางอื่น

จริงอยู่ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้ แต่เราเรียนรู้ที่จะรับมือกับมันได้นะ

ดร.โซรานา อิฟเซวิก พริงเกิล (Dr. Zorana Ivcevic Pringle) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ จาก Yale Center for Emotional Intelligence เผยว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จและมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด ไม่เพียงแต่จะมีสมองอันชาญฉลาดหรือมี IQ สูงเท่านั้น แต่ยังมี ‘ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ที่ดี’ อันเป็นทักษะที่เป็นเสมือนพลังพิเศษติดตัวพวกเขาด้วย

ทักษะนี้ช่วยให้เราสามารถรับมือกับสิ่งใหม่ๆ หรือในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงได้ดี โดยเฉพาะกับผู้ที่ทำงานสร้างสรรค์ เมื่อต้องลงมือสร้างงานใหม่ๆ ก็คงหนีไม่พ้นความเสี่ยงที่จะเจอความล้มเหลว เจอคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ชวนให้รู้สึกหงุดหงิด เสียใจ ผิดหวัง จนอาจล้มเลิกความตั้งใจในเวลาต่อมา การยอมรับความไม่แน่นอนที่มักเกิดขึ้นเป็นปกติกับการทำงานสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

แต่การควบคุมอารมณ์ ไม่ได้เป็นเรื่องของคนทำงานสร้างสรรค์หรือคนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น อารมณ์ยังมีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะกับการใช้ชีวิต

แต่เราจะทำอย่างไร หากรู้ตัวว่ากำลังถูกอารมณ์เชิงลบเข้าครอบงำ ดร.พริงเกิลได้เผย 5 วิธีพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ที่จะช่วยให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ไปได้ ดังนี้

1. ประเมินสถานการณ์ตรงหน้าให้เป็น
คนที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี มักจะประเมินสถานการณ์ตรงหน้าออกว่ามันจะทำให้เขามีพลังหรือหมดพลัง สิ่งนี้ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ตรงหน้า แต่มันช่วยให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากเพื่อไปถึงเป้าหมายและความตั้งใจส่วนตัวเป็นหลักได้

เช่นเมื่อถึงเวลาทำในสิ่งที่ตั้งใจแต่สัมผัสได้ว่า ระหว่างทางไม่ราบรื่นแน่ๆ เราสามารถเริ่มจัดการความรู้สึกของเราก่อนไปเผชิญกับความไม่ราบรื่นเหล่านั้นที่อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ไม่ในทางใดก็ทางหนึ่งได้เลย

2. เปลี่ยนสภาพแวดล้อม
วิธีนี้เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของพริงเกิลกับการพยายามจะเขียนหนังสือให้จบแต่กว่าจะเค้นออกมาได้ก็ยากเย็นเหลือเกิน และเธอก็ต้องทำงานวิจัยส่งให้ทันเดดไลน์ด้วย การทำงานควบคู่ทั้งสองอย่างทำให้เธอเครียดจนสมองตื้อตัน แต่พอลองเปลี่ยนสถานที่ไปนั่งทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ มันกลับช่วยให้เธอรู้ว่าควรทำอะไร เธอสามารถตัดสินใจในเรื่องยากได้ดี และหาทางออกได้ง่ายมากขึ้นด้วย

3. เปลี่ยนจุดสนใจ
การเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวดทางกาย ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความทุกข์ทางอารมณ์ได้ หากเกิดความรู้สึกหงุดหงิด โมโหกับเรื่องตรงหน้า ให้หยุดพักทำสิ่งนั้นแล้วหันไปทำอย่างอื่นเลย วิธีนี้ช่วยระงับอารมณ์ได้ดี แถมยังทำให้เรามองเห็นมุมมองที่ต่างไปจากเดิมด้วย

เธอได้อ้างถึงการศึกษาหนึ่งซึ่งระบุไว้ว่า คนเรามีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดถ้าเจอกับเป้าหมายที่ท้าทายและสามารถสลับเปลี่ยนงานไปมาได้ โดยทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้พวกเขามีแรงบันดาลใจและมีความสามารถต่อการเปลี่ยนมุมมองความสนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ตั้งคำถามเพื่อมองหาทางออกใหม่
เมื่อรู้สึกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้กำลังจะล้มเหลว เรามักจะเกิดความรู้สึกเชิงลบที่รุนแรงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นความท้อแท้ ความผิดหวังและสิ้นหวัง ให้มองว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่ากำลังเผชิญหน้ากับความรู้สึกเชิงลบ ให้ลองถอยออกมาหนึ่งก้าวและลองตั้งข้อสงสัยเพื่อมองหาทางเลือกใหม่ๆ ดู

นอกจากนี้อยากให้ลองประเมินปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการกระตุ้นความรู้สึกเชิงลบของตนเอง เช่น ความกระวนกระวายที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากอะไรกันแน่ มันเกิดจากความวิตกกังวลหรือเปล่า แล้วความวิตกกังวลนั้นเกิดจากอะไร หรือเกิดขึ้นเพราะคุณอยากทุ่มเทใจกับสิ่งนั้นมากๆ หรือเปล่านะ

5. เปลี่ยนวิธีการรับมือ
บางครั้งเราอาจจะเหนื่อยล้าหรือหงุดหงิดกับงาน แต่ก็ยังต้องอดทนหรือบังคับให้ตัวเองต้องกระตือรือร้นไปกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากไม่รู้จะจัดการอย่างไร อาจมีสองทางเลือกที่พอช่วยได้ ทางเลือกแรกอาจฟังดูแย่หน่อย คือแกล้งทำเป็นกำลังรู้สึกไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น วิธีนี้แค่ช่วยให้เราผ่านมันไปได้ แต่อาจต้องแลกมากับการต้องแบกรับอารมณ์ที่ทำให้เหนื่อยล้ากว่าเดิม

ทางเลือกที่สอง พยายามเปลี่ยนความรู้สึกของคุณเพื่อสัมผัสกับอารมณ์และทัศนคติที่สถานการณ์นั้นต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งมักจะได้ผลในแง่ของการสร้างแรงบันดาลใจให้คุณได้แสดงออกอย่างจริงใจ และสร้างความคิดสร้างสรรค์ต่อสถานการณ์ที่พบเจอมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ดร.พริงเกิลเคยกล่าวไว้ในหนังสือของเธอว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของการตัดสินใจซ้ำๆ ไม่ใช่พรสวรรค์ที่มาจากธรรมชาติ” ดังนั้นอย่าเกรงกลัวว่าคุณกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ขอเพียงแค่คุณมีทักษะการควบคุมอารมณ์ที่ดี คุณก็จะก้าวผ่านมันไปได้นั่นเอง และไม่แน่นะ เป้าหมายที่คุณตั้งใจไว้อาจเกิดผลสำเร็จในสักวันหนึ่งก็ได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

POP: รู้จักเทรนด์ ‘Aura Farming’ ท่าเต้นหัวเรือของหนุ่มน้อยอินโดฯ สู่ไวรัลที่คนดังเต้นตามกันทั่วโลก!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

POP: น้องคริปโตมีพลังวิเศษ! กระแสรับเลี้ยงน้องหมาจรเพิ่มสูงขึ้น หลังจาก ‘Superman’ เข้าฉายทั่วประเทศ

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ช้อปปลดล็อกทุกสไตล์! เซ็นทรัลชวนคุณสัมผัสประสบการณ์ใหม่ใน "CENTRAL SHOP UNLOCKED"

new18

ฟินแสงออกปาก! Thai Tea Brownie จาก Jerome Cheesecake X Karun Thai Tea

Gourmet & Cuisine

"มัทฉะ" ทำไมต้องดื่มเพียว ถึงได้สุขภาพ ดีต่อร่างกายอย่างไร

Thai PBS

กล้าเสี่ยง คิดนอกกรอบ Richard Branson เผยเคล็ดลับความสำเร็จผู้นำ

กรุงเทพธุรกิจ

ไรฝุ่นภัยเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตา! ควรเช็กอย่างไรว่าที่นอนมีไรฝุ่น

sanook.com

เรื่องย่อ "Confidence Queen" ซีรีส์คอเมดี้ ของ "พัคมินยอง" ประกาศสตรีม 6 ก.ย.

SpringNews

“พระชั้นสมเด็จ” สมัยรัชกาลที่ 2 ทำอะไร จึงพลาดตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช”

ศิลปวัฒนธรรม

“แม่ฟ้าหลวง” พระสมัญญาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มาจากประชาชน

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...