โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘ส.อ.ท.’ ชง 4 มาตรการด่วนรับมือ ‘ภาษีทรัมป์’ รวมข้อมูล 47 อุตฯ วางแนวทางเจรจา

The Bangkok Insight

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • The Bangkok Insight

"ส.อ.ท." เร่งรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตสาหกรรม ยื่นคลังเจรจาลด "ภาษีทรัมป์" ชง 4 มาตรการเร่งด่วนรับมือ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยสถานการณ์การเจรจาภาษีนำเข้าสหรัฐ ล่าสุด หลังสหรัฐประกาศอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ต่อ 22 ประเทศ มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคมนี้ ซึ่งไทยถูกเก็บภาษีสูงถึง 36%

ภาษีทรัมป์

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประชุมหารือกับ 47 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 11 คลัสเตอร์ โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

เวลานี้ผู้ส่งออกเองก็พยายามปรับตัวรองรับผลกระทบ เช่น บางกลุ่มอุตสาหกรรมได้มีการเจรจาระหว่างผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายทางฝั่งสหรัฐให้ช่วยรับภาษีไปคนละส่วน เพื่อจะได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระ

แต่มีบางกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ทางผู้นำเข้าไม่รับเงื่อนไขนี้ พร้อมเสนอแนวทางให้ภาครัฐเร่งเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้เหลือ 0% ในหลายพันรายการ เพื่อเดินหน้ามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการไทย

กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ กลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนการพึ่งพาตลาดสหรัฐสูงกว่า 28-35% ของมูลค่าส่งออก

รวมถึงยาง เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่น ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก ผลิตภัณฑ์หนังและเซรามิก ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบระดับสูง ถึงสูงมาก

เกรียงไกร เธียรนุกุล

นายเกรียงไกร บอกด้วยว่า ขณะนี้ ส.อ.ท. กำลังรอผลการศึกษาจากกลุ่มอุตสาหกรรม โดยจะต้องนำมาวิเคราะห์ และตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

ขณะเดียวกันก็กำลังรอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มา 22 ประเทศ จากร้อยกว่าประเทศ เนื่องจากตัวเลขจากหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ก็ยังไม่ถูกประกาศอย่างชัดเจน

จึงทำให้บางกลุ่มอุตสาหกรรมยังคงต้องรอข้อมูลในส่วนนี้ก่อน แต่กำลังทยอยทำและจะนำมาเปรียบเทียบดูว่าประเทศไทยจะเสียเปรียบมากน้อยแค่ไหน ก่อนยื่นให้กระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภาษี และรักษาความสามารถในการแข่งขัน เบื้องต้น ส.อ.ท. เสนอแนะให้ภาครัฐเร่งดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

ออกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการจากที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐ

  • ออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) หรือมาตรการพักชะลอหนี้ และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • ลดภาษีนิติบุคคล สำหรับเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐ
  • อุดหนุน หรือลดค่าใช้จ่ายในการส่งออก และการประกอบธุรกิจ เช่น ค่าบริการหน้าท่า พิธีการศุลกากร ค่าออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ และค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า
  • ออกสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้นำค่าใช้จ่ายการจ้างสำนักงานกฎหมายในสหรัฐ เพื่อศึกษ าและเจรจากับภาครัฐสหรัฐ มาลดหย่อนได้ 3 เท่า

ส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ทั้งใน และต่างประเทศ

  • เร่งการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ฉบับใหม่ ๆ เพื่อเปิดตลาดการค้า
  • ออกมาตรการส่งเสริมเพื่อหาตลาดใหม่ เช่น โครงการ SME Pro-active และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก และขยายตลาดต่างประเทศ
  • ส่งเสริมตลาดในประเทศ และการเพิ่มสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในสินค้าไทย (Made in Thailand-MiT)
    - ทุกหน่วยงานต้องสนับสนุนการใช้สินค้า และบริการที่ได้รับการรับรอง MiT อย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มเม็ดเงินลงทุ นและสร้างการจ้างงานในไทยให้มากขึ้น
    - หากภาคเอกชนเข้าร่วม และได้รับการรับรอง MiT จะสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า
    - MiT ช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกทางอ้อม เพราะเป็นการเพิ่มสัดส่วนวัตถุดิบ และแรงงานภายในประเทศ ช่วยสร้างแบรนด์สินค้าไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และยังสามารถนำแต้มสะสมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับจาก MiT ไปใช้ชดเชยหรือแลกรับเงินคืนในช่วงสิ้นปีได้

ภาษีทรัมป์

ออกมาตรการส่งเสริมการใช้ วัตถุดิบ และแรงงานภายในประเทศ ภายในประเทศ

  • นอกจากมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เช่น การลดภาษีนิติบุคคลสำหรับเอกชนที่ใช้วัตถุดิบ และแรงงานภายในประเทศ มากกว่า 90% และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

กำกับดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและแข็งค่ากว่าประเทศในภูมิภาค

นายเกรียงไกรย้ำว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส.อ.ท. จึงขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วน ร่วมมือกันก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน

"หากมีความร่วมมือที่เข้มแข็ง วิกฤติครั้งนี้อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะนำไปสู่โอกาสในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้น"

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X:https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube:https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Bangkok Insight

ดิว อริสรา เผยยอดขายของ ไลฟ์รอบที่ 2 ในคืนเดียวได้เท่าไหร่?

34 นาทีที่แล้ว

ฝีมือมนุษย์! เปิดผลสอบเครื่องบิน ‘แอร์ อินเดีย’ ตก พบสาเหตุ ‘คนทำพลาด’

55 นาทีที่แล้ว

GISTDA เปิดภาพน้ำท่วมน่าน พื้นที่ได้รับผลกระทบ 13,446 ไร่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘นัส ‘ขอโทษ ‘นิ้ง โศภิดา’ หลังวิจารณ์คำตอบ ปมลูกกับสามีจมน้ำจะช่วยใคร

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

“กรมอุทยาน” ผนึกเครือข่าย เปิดแผน 5 ปี สกัดขบวนการ “ค้าสัตว์ป่า” ชายแดน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ETDA คุมเข้ม! “แอปเรียกรถ” ไรเดอร์ต้องมีใบขับขี่สาธารณะ พร้อมจดทะเบียน “รย.18”

ข่าวหุ้นธุรกิจ

กทพ. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนสะพานข้ามแยกบางขุนเทียน-ชายทะเล ก่อสร้างทางยกระดับ วันที่ 15 ก.ค. ถึง 15 ส.ค.68

สยามรัฐ

กระทรวงอุตฯ เปิดตัว "มอก. วอทช์" AI เช็กสินค้าออนไลน์ไม่ได้มาตรฐาน

PPTV HD 36

สามสัปดาห์… สั้นหรือยาว? โจทย์ใหญ่ไทยต้องเร่งเกมเจรจา “ภาษีสหรัฐ” ก่อนสะเทือนส่งออก

ข่าวหุ้นธุรกิจ

สมาร์ทโฟน ‘จอพับ’ ตอบโจทย์คนแบบไหน ?

ประชาชาติธุรกิจ

YouTube บังคับใช้กฎใหม่ 15 ก.ค. 68 คลิปซ้ำหยุดสร้างรายได้ ตรวจสอบช่องด่วน

ฐานเศรษฐกิจ

ทีมวิจัยญี่ปุ่นทำลายสถิติ ความเร็วอินเทอร์เน็ต “1.02 เพตะบิต/วินาที”

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

‘ธีระชัย’ เตือนรัฐบาล อย่าซ่อนข้อมูลเจรจาสหรัฐ รีดภาษีไทย 36% กระทบหนัก

The Bangkok Insight

สอท. หวั่นสหรัฐรีดภาษีนำเข้า 36% – ส่งออกไทยเสียหาย 9 แสนล้าน

The Bangkok Insight

‘ไออาร์พีซี’ ชู ‘2 นวัตกรรมปรับสภาพดิน’ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

The Bangkok Insight
ดูเพิ่ม
Loading...