โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต คนมีโรคประจำตัวให้เลือดได้หรือไม่?

PPTV HD 36

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
จากกรณีความขัดแย้งไทย กัมพูชา ส่งผลให้ต้องเร่งสำรองเลือดเพื่อช่วยเหลือพลเรือนและทหารในพื้นที่ เผยคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตให้ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ

โลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิต ซึ่งมี 3 ชนิด คือ เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เกล็ดโลหิต ส่วนที่ 2 คือ พลาสมา (Plasma) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารประกอบใด ที่มาใช้ทดแทนโลหิตได้ดี

จุดบริจาคโลหิตสำรองคลังเลือด รับมือเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

เตรียมตัวให้พร้อมก่อน "บริจาคโลหิต" ให้ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ

ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิต จึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิต ให้ทันท่วงที การบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

  • อายุ 17 ปีบริบูรณ์ -70 ปี สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
  • ผู้บริจาคโลหิตต้องมีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง แต่อายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจบริจาคโลหิตได้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับการมีสิทธิเลือกตั้ง
  • ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี และบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 3 เดือน ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยเคลื่อนที่ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
  • ผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 65 -70 ปี และบริจาคต่อเนื่องมาตลอด ให้บริจาคได้ทุก 6 เดือน และต้องมีการตรวจนับจำนวนของเม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้ง ไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่

สุขภาพแข็งแรง และพักผ่อนเพียงพอ

ผู้บริจาคโลหิตแต่ละคนมีพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อนแตกต่างกัน หากการนอนหลับพักผ่อนนั้นเป็นไปตามปกติ และเพียงพอกับร่างกายของเขา โดยไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ สุขภาพพร้อมในวันที่มาบริจาคโลหิต ก็พิจารณาให้บริจาคได้โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องจำนวนชั่วโมงของการนอน

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนบริจาคโลหิต

ผู้บริจาคโลหิตแต่ละคนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแต่ละมื้อในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ผู้บริจาคโลหิตอาจยังไม่ได้รับประทานอาหารประจำมื้อ แต่ก็ปกติดี ไม่มีอาการหิวจัด อ่อนเพลีย จะเป็นลม ก็รับบริจาคโลหิตได้

ตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

โลหิตของหญิงตั้งครรภ์ มีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับทารกในครรภ์ ควรเก็บโลหิตของตนเองเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับทารก และเพื่อเป็นโลหิตสำรองในร่างกาย เพราะขณะคลอดบุตรอาจมีการเสียโลหิตเป็นจำนวนมากการบริจาคโลหิต อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ในข้อนี้ ถ้าตอบ “ใช่” ให้งดบริจาคโลหิตชั่วคราว

ผู้บริจาคหญิงที่กำลังให้นมบุตร ต้องการสารอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ผลิตเป็นน้ำนม และอาจต้องมีการตื่นบ่อยครั้งเพื่อให้นมบุตร เป็นผลทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ถ้าตอบ “ใช่” งดบริจาคโลหิตชั่วคราว

สตรีอยู่ระหว่างมีประจำเดือน

ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นมีสุขภาพแข็งแรง มีประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ร่างกายทั่วไปสบายดี ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ก็สามารถบริจาคโลหิตได้ และสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว สามารถบริจาคโลหิตได้ หากสุขภาพร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ

การสักหรือการเจาะผิวหนัง

การเจาะหูและการกระทำอื่นๆ ข้างต้น ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาด ปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญและเป็นเข็มหรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว ก็ปลอดภัยจากการติดเชื้อ แต่ก็ควรเว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบจากการเจาะหู หายสนิท อย่างน้อย 7 วัน แต่หากผู้บริจาคโลหิตไม่มั่นใจว่าการเจาะหูทำได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ มีการใช้เครื่องมือร่วมกัน หรือเจาะในสถานที่ที่มีคุณภาพด้านความสะอาดต่ำ ก็อาจจะติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อเอชไอวี เป็นต้น จึงควรงดบริจาคโลหิตอย่างน้อย 1 ปีหลังการเจาะหู เจาะอวัยวะ และอื่นๆ ข้างต้น เจ้าหน้าที่สัมภาษณ์คัดกรองจึงต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้บริจาคโลหิต

ท้องเสีย ท้องร่วง ควรงดบริจาคโลหิต 7 วัน

ผู้บริจาคอาจจะยังมีอาการอ่อนเพลียเพราะสูญเสียน้ำในร่างกาย ถึงแม้จะหยุดท้องเสียแล้วถ้าหากฝืนบริจาคโลหิต อาจอ่อนเพลียมากขึ้นและมีอาการเป็นลมหน้ามืดได้ ส่วนผู้ป่วยที่รับโลหิตอาจได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงที่อาจติดต่อทางกระแสโลหิต

น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา

การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้น อาจมีสาเหตุมาจากโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์ ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงสภาวะทางจิตใจที่มีความวิตกกังวล หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

ผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดเล็ก

ผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ คือ การผ่าตัดที่ต้องมีการใช้ยาสลบ หรือให้ยาชาเข้าไขสันหลัง มีการสูญเสียโลหิตจำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องใช้เวลาสร้างทดแทนขึ้นโดยเฉพาะการผ่าตัดใหญ่อาจเสียโลหิตมาก เนื้อเยื่อของร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม จึงควรเว้นการบริจาคโลหิต 6 เดือน หากบางรายต้องรับโลหิตด้วยต้องเว้น 1 ปี

ผู้บริจาคที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก คือ การผ่าตัดที่ไม่ต้องใช้ยาสลบ แต่ใช้การระงับความรู้สึกเฉพาะที่ และไม่ต้องมีการช่วยหายใจ ควรเว้นการบริจาคอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ผู้บริจาคมีสุขภาพแข็งแรงดีพอที่จะบริจาคโลหิต และลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด

ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน ต้องเว้นอย่างน้อย 3 วัน

การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษารากฟัน และการรักษาอื่นๆ ในช่องปากซึ่งก่อให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบภายใน 3 วัน อาจมีภาวะติดเชื้อโรคในกระแสโลหิตชั่วคราวโดยไม่มีอาการ (transient bacteremia) ซึ่งเชื้อโรคในกระแสเลือด อาจติดต่อไปสู่ผู้ป่วยได้ หากมีการผ่าตัดเล็ก เช่น ผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ

เคยมีประวัติติดยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษในระยะ 3 ปี

ผู้ที่เคยมีประวัติติดยาเสพติดชนิดต่างๆ หรือเพิ่งพ้นโทษ อาจมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการติดต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง โดยเฉพาะโรคเอดส์และโรคตับอักเสบ เนื่องจากมีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ รวมทั้งอาจใช้ยาเสพติดชนิดฉีด โดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จึงงดบริจาคโลหิต และรอให้ผ่าน 3 ปีเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าพ้นจากระยะฟักตัวของโรคต่างๆ ที่อาจได้รับมาแล้ว

เดินทางหรือพำนักในพื้นที่ที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือเคยป่วยเป็น โรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี

เนื่องจากยังไม่มีการตรวจเชื้อมาลาเรียทางห้องปฏิบัติการที่ไวเพียงพอ และสะดวกรวดเร็วเหมาะสมในการตรวจโลหิตบริจาค จึงต้องใช้การซักประวัติเป็นหลักในการคัดกรองผู้บริจาค ถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่มาลาเรียชุกชุม ถึงแม้ไม่ป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ต้องเว้นการบริจาค 1 ปี ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ต้องหายแล้ว 3 ปี สามารถหาข้อมูลพื้นที่มาลาเรียชุกชุมได้จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

ท่านมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ของท่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ท่ีไม่ใช่คู่ประจํา มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

  • ผู้บริจาคที่เคยได้รับโลหิตจากผู้บริจาคในประเทศอังกฤษหรือเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษ ระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2539 หรือเคยพำนักในทวีปยุโรป รวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523- ปัจจุบัน

เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าในประเทศอังกฤษ และประเทศในยุโรป รวมทั้งมีรายงานการติดเชื้อวัวบ้าจากการรับโลหิต จึงงดรับบริจาคโลหิตถาวร

  • การรับประทานยาแก้ปวด

  • กรณีรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล ถ้าไม่มีอาการปวดหรืออาการผิดปกติใดๆแล้ว จึงสามารถบริจาคโลหิตได

    • กรณีรับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ถ้าไม่มีอาการปวดหรืออาการผิดปกติใดๆแล้ว ให้เว้นอย่าง น้อย 3 วัน จึงสามารถบริจาคโลหิตได้ เนื่องจากยาแอสไพริน ทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ

กรณีที่ผู้บริจาคโลหิตรับประทานยาปฏิชีวนะ (แก้อักเสบจากการติดเชื้อ)

หลังจากรับประทานยามื้อสุดท้าย และไม่มีอาการผิดปกติใดๆแล้ว ให้เว้น 1 สัปดาห์ จึงสามารถบริจาคโลหิตได้

เคยเป็นโรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบมีหลายชนิด ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่สามารถบอกได้ว่าหายขาดหรือไม่มีเชื้อโรคตับอักเสบแล้ว ให้งดบริจาคโลหิต และปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจติดตามภาวะของโรคต่อไป

ผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วย

  • เป็นไข้หวัดธรรมดา หลังจากหายดีแล้ว 7 วัน บริจาคโลหิตได้ กรณีเป็นไข้วัดใหญ่ หลังจากหายดีแแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถบริจาคโลหิตได้
  • โรคความดันโลหิตสูง หากได้รับการรักษาจนควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ ความดันโลหิต Systilic ไม่เกิน 160 มม.ปรอท และความดันโลหิต Diastolic ไม่เกิน 100 มม.ปรอท และร่างกายปกติดีไม่มีโรคแทรกซ้อน รับประทานยาแล้วควบคุมความดันโลหิตได้ดี สามารถบริจาคโลหิตได้
  • โรคภูมิแพ้ หากอาการไม่รุนแรง เช่น จาม คัดจมูก ทานยาแก้แพ้ และไม่มีอาการแล้ว สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น ผื่นคันทั้งตัว ไอ หอบหืด หรือใช้ยาลดภูมิต้านทานให้งดบริจาคโลหิจจนกว่าจะหายดีแล้ว 4 สัปดาห์ จึงบริจาคโลหิตได้
  • โรคไขมันเลือดสูง หากรับประทานยาลดไขมัน และควบคุมอาหาร จนระดับไมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถบริจาคได้ ถ้าคอเลสเตอรอล สูงเพียงอย่างเดียว บริจาคโลหิตได้ หากไตรกลีเซอไรด์สูง ให้งดบริจาคโลหิตชั่วคราว จนกว่าจะควบคุมอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • โรคเบาหวาน หากควบคุมเบาหวานได้ดี ด้วยการรับประทานยาลดน้ำตาล ไม่ใช้อินซูลิน และไม่มีปัยโรคแทรกซ้อน สามารถบริจาคโลหิตได้
  • โรควัณโรค หลังรักษาหายดีแล้ว 2 ปี จึงสามารถบริจาคโลหิตได้
  • โรคไมเกรน หากไม่มีอาการ และหยุดยาแล้ว 7 วัน สามารถบริจาคโลหิตได้
  • โรคหอบหืด หากควบคุมอาการได้ด้วยยา สามารถบริจาคโลหิตได้ หากมีประวัติเป็นดรคหอบหืดชนิดรุนแรง และเป็นบ่อยให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ของแพทย์
  • เป็นไทรอยด์ไม่เป็นพิษ ที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์กลับสู่ปกติ ไม่มีอาการของโรค เช่น กินจุ น้ำหนักลด เหงื่อออกง่าย เหนื่อยง่าย ใจสั่น สามารถบริจาคโลหิตได้ กรณีไทรอยด์เป็นพิษ แม้ว่ารักษาหายแล้ว ต้องงดบริจาคโลหิตถาวร

ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาล ที่ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต

ขอบคุณข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ สภากาชาดไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PPTV HD 36

"พิชัย" โพสต์เรียกร้องกัมพูชา ยุติการใช้ความรุนแรงโดยทันที

49 นาทีที่แล้ว

อโมริม ชม "คุนญ่า" สร้างผลเชิงบวกให้แมนยู ย้ำที่ผ่านมาขาดแข้งประเภทนี้

50 นาทีที่แล้ว

ศบ.ทก. ย้ำไทยจะหยุดยิง ต่อเมื่อกัมพูชาจริงใจ ร่วมหารือทวิภาคี

52 นาทีที่แล้ว

กต. ประณามกองกำลังกัมพูชาใช้อาวุธร้ายแรงยิงใส่บ้านเรือนประชาชนในดินแดนไทย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

วิธีเตรียมตัว "บริจาคเลือด" ข้อห้ามอะไร ใครบ้างที่ทำไม่ได้

ฐานเศรษฐกิจ

แบบสำรวจ “โรคซึมเศร้า” ตามเกณฑ์วินิจฉัยของแพทย์ เช็กสภาพจิตใจก่อนสาย!

PPTV HD 36

กรมสุขภาพจิตส่งทีม MCATT เร่งเยียวยาจิตใจประชาชนชายแดนไทย-กัมพูชา

PPTV HD 36

TRSC ทุ่มงบตลาด 30 ล้านบาท รีแบรนด์ในรอบ 28 ปี รุกตลาดสุขภาพตา

ฐานเศรษฐกิจ

'หน้าลอกเป็นขุย' สัญญาณอันตรายที่มาจากภูมิแพ้ -เครื่องสำอาง

กรุงเทพธุรกิจ

สิทธิบัตรทอง เจ็บป่วยชายแดนไทย-กัมพูชา พบ หมอออนไลน์ ผ่าน 3 แอปฯ นี้

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ทัพฟ้าจัดหนัก! บิน F16 -Gripen ถล่มกัมพูชา 2 แนวรบ “ภูมะเขือ-ตาเมือนธม”

PPTV HD 36

เกาะติดสถานการณ์เหตุปะทะไทย-กัมพูชา 26 ก.ค. 68 ยังมีเหตุปะทะต่อเนื่อง

PPTV HD 36

ผบ.เขมรสิ้นชื่อ! “พลตรีดวง ซอมเนียง” เสียชีวิตที่ช่องตาเฒ่า-ภูมะเขือ

PPTV HD 36
ดูเพิ่ม
Loading...