โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คนไม่เปิดใจกิน ‘แมลง’ รู้สึก ‘ขยะแขยง’ แม้รู้ว่าให้โปรตีนสูง ดีต่อโลก

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แมลง” ถูกยกย่องว่าจะเป็น “โปรตีนทางเลือก” และแหล่งอาหารสำหรับอนาคตมานานแล้ว เนื่องจากมีจำนวนมาก แถมยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเลี้ยงปศุสัตว์ชนิดอื่น ๆ แต่ก็ล้มเหลวตลอดมา เนื่องจากผู้คนยังรู้สึกว่าแมลง “น่าขยะแขยง

การทำฟาร์มปศุสัตว์เพื่อบริโภคส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และอาจก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหนึ่งในสามของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

ขณะเดียวกัน คาดว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้า ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ร่ำรวยในประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้กับผืนดิน ทางน้ำ และสภาพภูมิอากาศ

นักวิจัยจึงพยายามหาแหล่งอาหารใหม่ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงสัตว์ หนึ่งในนั้นคือการกินแมลง โดยสหประชาชาติพยายามโน้มน้าวให้ผู้คนหันมาบริโภคแมลงเพื่อสร้างความยั่งยืนทางอาหาร มาตั้งแต่ปี 2013 แต่ผู้คนยังไม่รู้สึกอยากกินแมลง เพราะผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศตะวันตก ยังคงรู้สึกขยะแขยงที่จะกินแมลงเหล่านี้

ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะในสหรัฐและยุโรปพบว่า แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 91% จะยินดีลอง “เนื้อสัตว์ทางเลือก” ที่ทำจากพืช แต่มีเพียงประมาณ 20% เท่านั้นที่พิจารณารับประทานแมลง

โดยทั่วไปแล้ว สังคมตะวันตกมักปฏิเสธแนวคิดการกินแมลง โดยมักจะมองว่าเป็นอาหารของพวกป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม (แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว พฤติกรรมการรังเกียจเช่นนี้จะไม่ครอบคลุมถึงสัตว์ขาปล้องชนิดอื่น ๆ เช่น สัตว์จำพวกกุ้ง) และมองว่าเป็นอาหารที่ไว้กินในยามฉุกเฉินเท่านั้น

ในวัฒนธรรมเหล่านี้ แมลงมักถูกเชื่อมโยงกับความสกปรก อันตราย หรือความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน เพราะพวกมันอาศัยอยู่ตามดิน และมองว่าไม่ใช่ของกิน ดังนั้นเมื่อมีความคิดที่จะกินแมลง จึงกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกขยะแขยงและไม่ชอบอย่างรุนแรง

ความรังเกียจนี้ไม่ได้มีรากฐานมาจากรสชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงรูปร่าง กลิ่น รสสัมผัสของแมลง รวมถึงหน้าตาของอาหารด้วย ขณะที่กลุ่มมังสวิรัติยังปฏิเสธที่จะกินแมลงเนื่องจากเป็นสัตว์เช่นกัน เนื่องจากพวกเขาไม่กินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ใด ๆ

แม้ว่าบางคนจะคุ้นเคยกับแนวคิดเรื่องการกินแมลงแล้ว แต่การยอมรับก็ยังคงต่ำ เนื่องจาก “ภาวะการกลัวอาหารชนิดใหม่” (Food neophobia) ทำไม่ให้กล้าลองอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เช่นเดียวกับเด็ก ๆ ที่มักไม่กินผัก

รายงานฉบับนี้พบว่า นอกจากปัจจัย “ความน่ารังเกียจ” ที่ฝังอยู่ในจิตใจของผู้คนแล้ว รายงานยังพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังนิยมเลี้ยงแมลงเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เช่น แมลงวันลายดำ มากกว่าอาหารของมนุษย์ สำหรับธุรกิจโปรตีนทางเลือกเพื่อมนุษย์มีเพียงสตาร์ทอัพโปรตีนบาร์เพียงไม่กี่ราย และส่วนมากมักจะมุ่งเน้นไปที่ “เนื้อเพาะเลี้ยง” จากห้องแล็บมากกว่า

ในฐานะอาหารแล้ว แมลงมักไม่ได้แข่งขันโดยตรงกับเนื้อสัตว์ อันที่จริง เงินทุนสนับสนุนอุตสาหกรรมแมลงทั้งหมดน้อยกว่า 1% ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาอาหารสำหรับมนุษย์ที่สามารถทดแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ได้ แต่กลับถูกนำไปใช้ในขนมขบเคี้ยวและเส้นพาสต้ามากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตภัณฑ์จากแมลงส่วนใหญ่กลับแข่งขันกับอาหารจากพืชมากกว่าที่จะมาทดแทนเนื้อสัตว์

“ด้วยความท้าทายเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นว่าอาหารที่ทำจากแมลงจะสามารถทดแทนเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญอย่างไร” รายงานระบุ

ดัสติน ครัมเมตต์ ผู้ร่วมเขียนผลการศึกษาและผู้อำนวยการบริหารของสถาบันแมลง กล่าวว่า “เรามีทรัพยากรจำกัด และเราจำเป็นต้องทุ่มเททรัพยากรเหล่านี้ให้กับทางเลือกที่มีแนวโน้มมากที่สุด แต่ผลสำรวจปรากฏว่าแมลงที่เลี้ยงในฟาร์มมักจะได้คะแนนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ทดแทนทั้งหมด และตลาดที่แท้จริงของแมลงเหล่านี้มีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ แม้แต่ในพื้นที่ที่กินแมลงอยู่แล้ว”

นอกจากนี้ ครัมเมตต์กล่าวเสริมว่า แม้จะมีความพยายามบางอย่างที่จะใส่แมลงลงในอาหาร เช่น แท่งขนมและขนมปัง แต่แมลงเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงได้จริง

มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อควบคุมการบริโภคเนื้อสัตว์ แม้ว่าจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม และเกรงว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เดนมาร์กได้นำเสนอแบบอย่างที่เป็นไปได้ในการทำเช่นนี้ โดยเปิดเผยแผนในปี 2023 เพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์และส่งเสริมการบริโภคอาหารจากพืช

“อาหารจากพืชคืออนาคต หากเราต้องการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรกรรม เราทุกคนต้องกินอาหารจากพืชให้มากขึ้น” จาค็อบ เจนเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร การเกษตร และการประมงของเดนมาร์ก กล่าวในขณะนั้น

แต่กลับไม่มีประเทศใดที่ผลักดันการกินแมลงให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งที่การกินแมลงทั้งหมดไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก เพราะผู้คนยังคงมีปฏิกิริยาต่อต้านแมลงอย่างรุนแรง และแมลงไม่ได้อยู่ในประวัติศาสตร์การกินอาหารของภูมิภาคใด ๆ ของโลกเช่นกัน

“การเปลี่ยนแปลงประเพณีการทำอาหารที่มีมายาวนานและปฏิกิริยาต่อต้านที่ฝังรากลึกนั้นยากที่จะทำให้คนหันมากินอาหารจากแมลงมากขึ้น” ครัมเมตต์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ครัมเมตต์กล่าวว่าโครงการของเดนมาร์กเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างทางเลือกใหม่ แทนที่จะหวังเพียงให้ผู้คนหันมากินแมลง

“คุณต้องทำให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายและอร่อย ไม่ใช่แค่สอนศีลธรรมและโจมตีคนที่ไม่กิน เพราะเมื่อคนมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ดีกว่าโดยพิจารณาจากรสชาติ ราคา และความสะดวกสบาย เราจะเริ่มเห็นแรงผลักดันในการลดผลกระทบจากปศุสัตว์”

ที่มา: Aljazeera, Bio Based Press, Business Green, The Guardian

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เสียงคนพิการเสนอ 'คู่มือวิดีโอล่ามภาษามือ' เข้าถึงบัตรทอง

15 นาทีที่แล้ว

ทำเนียบขาวแจง 'ทรัมป์มือ-ขาบวม' เพราะป่วยโรคหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง

27 นาทีที่แล้ว

'กมธ.งบฯ' ค้าน 'สภาฯ' ของบ 177 ล้าน สร้างห้องประชุมให้ ครม.

39 นาทีที่แล้ว

แฮกเกอร์ป่วนหนัก! ไตรมาสเดียวเจาะเซิร์ฟเวอร์ในไทยทะลุ 2 แสนครั้ง

42 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ปรากฏการณ์ Sawasdee POPMART at Siam Center วันแรก คิวยาวคึกคัก!

สยามรัฐ

“POP MART บุกสยามเซ็นเตอร์ เปิดสาขาใหม่เต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัว MEGA SPACE MOLLY 400% ‘Mango Sticky Rice’ ครั้งแรกในโลก

สยามรัฐ

สถานทูตเปรู จับมือ สยามพิวรรธน์ เชิญชมการแสดงวัฒนธรรม ‘Peruvian Traditional Dance’ ฟรี! 23 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

PUN ชวน 1MILL ถ่ายทอดความไม่สมบูรณ์แบบแต่ลงตัวผ่านซิงเกิลใหม่ Perfect

THE STANDARD

ห๊ะ ! Mango Zero เนี่ยะน๊ะห์ เขาออกจะน่ารักใสๆ อ่ะแก เขาจะเปิดรับ “Video Editor” คนใหม่มาร่วมทีม 1 ตำแหน่ง ได้ยังไง

Mango Zero

อนุสัญญาออตตาวา ห้ามใช้ สะสม ผลิต ถ่ายโอน "ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล"

Thai PBS

“สุนทรภู่” กวีมีชื่อยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีภรรยา-ลูก กี่คน?

ศิลปวัฒนธรรม

วางลิ้นให้ถูกต้อง เคล็ดลับสุขภาพและบุคลิกภาพที่คุณอาจไม่เคยรู้!

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...