โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Gen Z กลัวตกงานปีนี้ เหตุประสบการณ์ยังน้อย ซ้ำ AI เขย่างานสายเทคฯ

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่นานมานี้ มีผลสำรวจใหม่ล่าสุดชี้ว่า คนรุ่นใหม่ Gen Z ในสหรัฐอเมริกา เกินครึ่งกลัวถูกเลย์ออฟภายใน 1 ปี ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือน ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ผนวกกับหนี้การศึกษาและการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี AI กำลังซ้ำเติม Gen Z ให้อยู่ในภาวะ ‘ไม่มั่นคงในอาชีพ’ มากกว่ารุ่นพี่

กลัวตกงานทั้งที่ยังมีงานประจำทำอยู่ เป็นเพราะอะไร?

แม้ตัวเลขแรงงานในสหรัฐฯ จะยังคงทรงตัวดี โดยอัตราว่างงานยังต่ำ และการจ้างงานยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่คนรุ่นใหม่กลับไม่รู้สึกมั่นใจในอนาคตของตัวเองนัก

รายงานล่าสุดจาก Allianz Life เผยว่า 64% ของแรงงาน Gen Z กลัวว่าตนเองอาจถูกเลย์ออฟในช่วง 12 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจาก 55% เมื่อไม่กี่เดือนก่อน และสูงกว่าคนรุ่นมิลเลนเนียล (45%) และ Gen X (41%) อย่างชัดเจน

ความวิตกนี้ไม่ใช่แค่ความรู้สึกลอยๆ หรือคิดไปเอง เพราะตั้งแต่ต้นปี 2025 เป็นต้นมา พบว่าหลายบริษัทใหญ่ทั้ง Microsoft, UPS, Dell, BP และหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ต่างมีการลดพนักงานจำนวนมาก ขณะที่รายงานจาก Challenger, Gray & Christmas ยังพบว่า ยอดเลย์ออฟในช่วงกลางปีนี้ สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดโควิด-19

"เข้าใหม่-ออกก่อน" คนเพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ แต่มักตกงานคนแรก?

เดวิด ไรซ์ (David Rice) ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจากองค์กร People Managing People ให้ความเห็นว่า คนรุ่นใหม่จำนวนมากมักรู้สึกว่า "ตัวเองไม่มีอิทธิพลในองค์กร" และยังไม่มั่นใจพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อเจอกับตลาดแรงงานที่มีแต่ความผันผวนไม่แน่นอน

“สำหรับวัยทำงานคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน (First Jobber) ความคิดเรื่องการรับงานฟรีแลนซ์หรือสัญญาจ้างระยะสั้น อาจดูเหมือนโลกไร้กฎเกณฑ์ที่น่ากลัว” ไรซ์ อธิบาย

ด้านศาสตราจารย์ริต้า แม็คเกรธ (Rita McGrath) จาก Columbia Business School เสริมว่า คนหนุ่มสาวมักตกอยู่ในสถานะ "เข้าใหม่-ออกก่อน" และหากบริษัทกำลังปรับลดคน มักเล็งไปที่แรงงานที่ยังมีประสบการณ์น้อย

Gen Z ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเสี่ยง จึงกลัวมากเป็นพิเศษ

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Gen Z กังวล คือพวกเขาเข้าสู่อุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกปลดพนักงานออก ไม่ว่าจะเป็นสายงานเทคโนโลยี ค้าปลีก สื่อ หรือพนักงานภาครัฐ(ข้าราชการ) ซึ่งล้วนเผชิญคลื่นเลย์ออฟในปีที่ผ่านมาและต่อเนื่องมาถึงปีนี้

“ภาคเทคโนโลยีคือหนึ่งในกลุ่มที่ปลดคนมากที่สุด” ไรซ์ ชี้แจงเพิ่มเติม “ไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมเดียวกันนี้กำลังพัฒนา AI และเริ่มรู้สึกว่าตัวเองต้องการคนน้อยลง”

เจสัน เลเวอแรนท์ (Jason Leverant) ประธานบริษัทจัดหางาน AtWork Group เสริมว่า ข่าวปลดพนักงานในวงการเทคโนโลยีส่งผลต่อความกลัวของคนรุ่นใหม่อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็มองว่านี่อาจเป็นโอกาสให้พวกเขามองหาสายอาชีพอื่นที่ใช้ทักษะได้คุ้มค่ากว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่สายเทคฯ เท่านั้นที่เสี่ยง ไรซ์ ชี้ว่า วงการสื่อเองก็ “ปลดคนเป็นสิบปีมาแล้ว” ขณะที่การลดพนักงานภาครัฐ ก็ทำให้หลายคนไม่มั่นใจในเสถียรภาพงานราชการ

หนี้การศึกษา-ค่าครองชีพ ดึงความมั่นใจลงเหว

ความวิตกเรื่องงานยังเชื่อมโยงกับภาระทางการเงินที่คนรุ่นใหม่เผชิญอยู่ โดยเฉพาะ หนี้การศึกษาที่เฉลี่ยอยู่ที่ 77,000 ดอลลาร์ต่อคน (ราวๆ 2,500,000 บาทต่อคน) และราคาค่าเช่า-ค่าครองชีพ ที่พุ่งสูงในเมืองใหญ่

“ค่าเช่าก็พุ่ง ค่าใช้จ่ายในเมืองก็มาก รุ่นนี้ไม่มีทรัพย์สินสะสม เพราะยังเก็บเงินแทบไม่ได้เลย” ผู้เชี่ยวชาญด้าน HR อธิบาย ไม่เพียงเท่านั้น เขายังยกตัวอย่างว่า ตั้งแต่ปี 1985 ราคาบ้านในอเมริกาเพิ่มขึ้นกว่า 408% ขณะที่รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียง 241% เท่านั้น ทำให้คนหนุ่มสาวในสหรัฐมีความยากลำบากในการซื้อบ้านสักหลังมากกว่าคนรุ่นก่อน

ยกตัวอย่างกรณีคนหนุ่มสาวที่ทำงานในนิวยอร์ก แม้เงินเดือนเริ่มต้นจะสูงถึง 80,000 ดอลลาร์ฯ ต่อปี แต่ต้องอยู่ในเมืองที่ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์แบบสตูดิโอทะลุ 3,200 ดอลลาร์ฯ ต่อเดือน สะท้อนถึง “การชะลอตัวทางเศรษฐกิจย่อมฟังดูน่ากลัว เพราะอาจหมายถึงการอยู่รอดในชีวิตจริง”

ความไม่แน่นอนจาก AI เพิ่มแรงกดดันในตลาดงาน

อีกหนึ่งแรงกระแทกที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มั่นใจในอนาคต คือการเข้ามาของ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างรวดเร็ว จากผลสำรวจของ World Economic Forum พบว่า 41% ของบริษัททั่วโลกคาดว่าจะลดจำนวนพนักงานใน 5 ปีข้างหน้าเพราะ AI

ไรซ์ มองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ “มันรู้สึกเหมือนคุณกำลังฝึกฝนตัวเองเพื่อทำงานที่อาจไม่เหลืออยู่ เมื่อคุณเก่งพอจะทำมันได้” โดยเฉพาะงานสายครีเอทีฟ งานธุรการ และงานซัพพอร์ต ที่เคยเป็นบันไดขั้นแรกของแรงงานหน้าใหม่ กำลังถูกเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ หรือไม่ก็ถูกออกแบบใหม่จน ‘ประตูแรก’ ในการเริ่มงานก็แทบไม่มีให้เห็น

แม้ เลเวอร์แรนท์ จะเห็นว่า AI ยังไม่สามารถแย่งงานคนได้ทันทีในตอนนี้วันนี้ และยังต้องใช้แรงงานมนุษย์อีกมากในระบบเศรษฐกิจ แต่ความเร็วของการเปลี่ยนแปลง ก็กำลังสร้างแรงกดดันให้คนที่ยังอยู่ระหว่างการฝึกฝนทักษะรู้สึกหวั่นไหว

“ทุกวันนี้ เรายังไม่มีเส้นทางที่ชัดเจนในการปรับตัวกับ AI ไม่มีหลักสูตรกลาง ไม่มีวิธีอัปสกิลที่เป็นมาตรฐาน มีแค่พาดหัวข่าวที่เต็มไปด้วยการคาดเดา และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ใครก็รู้สึกไม่มั่นคง โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มต้นอาชีพ”

อ้างอิง: Newsweek

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

กระหึ่มเวทีไอทียู 'ศูนย์ AOC 1441’ คว้ารางวัลระดับโลกด้านภัยไซเบอร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศชี้ ช่องว่างสิทธิอำนาจทางการเมืองต่ำสุด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'วิปรัฐบาล' วางมติล่วงหน้า ตีตก ร่างกม.นิรโทษกรรม สีส้ม-ประชาชน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เจาะวิธีคิด 'ศุภลักษณ์ อัมพุช' จากเดอะมอลล์ บริหารค้าปลีกอย่างไร ท่ามกลางนักท่องเที่ยวหาย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ใครหยุดบ้าง 10-13 ก.ค. 2568 เช็กวันเปิดทำการธนาคาร - ไปรษณีย์ - เอกชน

Thai PBS

“Price War: สงครามราคาครั้งนี้ ใครได้ ใครเสีย?!”

GM Live

ยิ่งใหญ่สมการรอคอย “งานบวงสรวงพญาศรีสัตตนาคราช” ปี 2568 จังหวัดนครพนม

Manager Online

MEYOU แท็กทีม JAONAAY-JAOKHUN ร่วมกันถ่ายทอดอารมณ์คนเหงาผ่านซิงเกิลล่าสุด 4TH JULY

THE STANDARD

สีก็มีผล! เลือกสีกระดาษขอพรวันทานาบาตะอย่างไรให้ปัง!

conomi

Doh Kyungsoo ปล่อยอัลบั้ม BLISS ผลงานเต็มชุดแรกในฐานะศิลปินเดี่ยว

THE STANDARD

เผยคำตอบโครงกระดูกมนุษย์ท่าพิสดาร ณ จุดสร้างสถานีรถไฟฟ้าศิริราช ใน “ไขปริศนาความตายท้ายเมืองธนบุรี”

ศิลปวัฒนธรรม

ตักบาตรดอกไม้วันเข้าพรรษา 2568 จัดวันไหน มีกิจกรรมอะไรบ้าง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...