โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

นกแอร์ เหลือหนี้ 400 ล้าน ตั้งเป้าออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ กลางปี 2571

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันนี้(วันที่ 23 กรกฏาคม 2568) นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนกแอร์มีภาระหนี้เหลืออยู่ราว 400 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยครบกำหนดชำระแล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับจากนี้ โดยตั้งเป้าหมายออกจากแผนฟื้นฟูกิจการในกลางปี 2571 ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ออกจากแผนฟื้นฟูก่อนกำหนดนั้น จะต้องดำเนินการชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด เบื้องต้นเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้

วุฒิภูมิ จุฬางกูร

ขณะที่การดำเนินธุรกิจของนกแอร์ในขณะนี้ เริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยกลับมามีกำไรในช่วง 2 ปีติดต่อกัน ในปี 2566 มีกำไรราว 49 ล้านบาท และในปี 2567 มีกำไรราว 60 ล้านบาท หลังจากที่ผ่านมาขาดทุนต่อเนื่องมา 9 ปี

ส่วนผลการดำเนินงานปัจจุบันนกแอร์มีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท มั่นใจว่าในปีนี้จะสามารถทำรายได้ไม่ต่ำกว่าปีก่อน ที่มีประมาณ 7,000 ล้านบาท เนื่องจากขณะนี้นกแอร์ได้วางแผนกลับไปเปิดให้บริการในหลายจุดบินระหว่างประเทศที่มีศักยภาพสูง อาทิ อินเดีย จีน และเวียดนาม โดยจะเริ่มทำการบินในช่วงตารางบินฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้ ตรงกับไตรมาส 4 ของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซัน

นายวุฒิภูมิ กล่าวต่อว่า การกลับมาเปิดบินในเส้นทางระหว่างประเทศ อาทิ หนานหนิง เจิ้งโจว มุมไบ นิวเดลี ดานัง และฮานอย รวมทั้งนกแอร์ยังเตรียมเปิดให้บริการ 2 จุดบินใหม่ในช่วงเดียวกัน เพื่อรองรับการการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วย บาหลี (อินโดนีเซีย) และมะนิลา (ฟิลิปปินส์) จะทำให้รายได้ของปีนี้เติบโตมากกว่าปีก่อน ส่วนอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟกเตอร์) จะสูงอยู่ในระดับ 85% จากปัจจุบันอยู่ในระดับ 80%

ปัจจุบันนกแอร์มีสัดส่วนผู้โดยสารส่วนใหญ่ เป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 80 – 90% แต่ภายหลังที่นกแอร์จะกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางระหว่างประเทศ และเปิดจุดบินใหม่ที่เป็นตลาดศักยภาพเหล่านี้ คาดว่าจะทำให้สัดส่วนผู้โดยสารปรับเป็น ผู้โดยสารภายในประเทศ 60% และผู้โดยสารระหว่างประเทศ 40%

สำหรับแผนขยายฝูงบินเพื่อรองรับการเติบโต นกแอร์จึงมีแผนจะรับมอบเครื่องบินเพื่อมาทำการบินในสิ้นปีนี้อีก 2 ลำ และตั้งเป้าจะทยอยรับมอบเครื่องบินใน 5 ปีนี้ให้มีจำนวน 20 -30 ลำ โดยจะมีการทยอยรับมอบเพิ่มอย่างน้อยปีละ 4 ลำ จากปัจจุบันนกแอร์มีจำนวนเครื่องบินที่ทำการบินประจำฝูงบิน 14 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่นำมาให้บริการจำนวน 10 ลำ การเพิ่มจำนวนเครื่องบินจะทำให้นกแอร์สามารถเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10-15%

อีกทั้งในโอกาสที่นกแอร์ครบรอบ 21 ปีจึงได้เปิดตัว 2 บริการใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับทุกการเดินทาง ได้แก่ Nok Air Inflight Entertainment (IFE) บริการด้านความบันเทิงบนเครื่องบินที่ผู้โดยสารสามารถเพลิดเพลินไปกับเนื้อหาสาระและความบันเทิงระหว่างการเดินทางได้ผ่านอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวของตนเอง จากการจับมือกับพาร์ทเนอร์แพลตฟอร์มดูซีรีส์ยอดนิยมอย่าง Viu (วิว) และผู้ให้บริการคอนเทนต์อื่นๆ รวมถึงเนื้อหาจากสายการบินนกแอร์เอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมให้บริการในเดือน ส.ค.นี้

นอกจากนี้ยังเปิดตัวบริการ Nok Deal แพลตฟอร์มสิทธิพิเศษใหม่สำหรับสมาชิก Nok Fan Club ที่กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ เพื่อสร้าง Brand Loyalty ด้วยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการพิเศษ, ส่วนลดบัตรโดยสารจากนกแอร์. สิทธิประโยชน์จากพันธมิตรทั่วประเทศ, บัตรคอนเสิร์ต และอีกมากมาย ที่ผู้โดยสารสามารถแลกผ่าน Nok Deal ได้โดยตรง

นกแอร์ เดินหน้าสร้างการจดจำแบรนด์ด้วยความเป็นมิตร ความใกล้ชิด และการใส่ใจในทุกความต้องการของผู้โดยสาร ด้วยภาพลักษณ์ “เพื่อนร่วมทางของคนไทย” ผ่านกิจกรรม CSR ท้องถิ่น และการกลับมาของ Nok Fan Club อย่างเต็มตัว

อีกทั้งในอนาคต “นกแอร์” ยังเตรียมขยายฝูงบินด้วยเครื่องบินแบบ Boeing 737-800 พร้อมพิจารณาจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่เพื่อเสริมศักยภาพฝูงบิน ขณะเดียวกันยังยกระดับช่องทางดิจิทัล ทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการจองตั๋ว รวมถึงช่องทางการขายแบบออฟไลน์ที่ตอบรับกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศซึ่งยังคงมีสัดส่วนสูง

โดยในอีก 3 ปีข้างหน้า นกแอร์ ตั้งเป้ากลับสู่การสร้างกำไรสุทธิอย่างยั่งยืน รวมถึงขยายเส้นทางการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้ได้มาตรฐานระดับโลก โดยมีเป้าหมาย On-Time Performance (OTP) เทียบเท่าสายการบินชั้นนำ

ปัจจุบัน “นกแอร์” ให้บริการมากกว่า 100 เที่ยวบินต่อวัน ครอบคลุมกว่า 15 เส้นทางบินภายในประเทศ และเตรียมกลับมาเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศสู่ประเทศจีน, อินเดีย, เวียดนาม และเส้นทางใหม่ อาทิ บาหลี และมะนิลา ในช่วงเดือนตุลาคม (Winter Schedule) เป็นต้นไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

รู้ก่อนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กระทรวงการคลัง ครั้งที่ 2 ดูเลย

23 นาทีที่แล้ว

เปิดที่มาแผน "จักรพงษ์ภูวนาถ" ยุทธศาสต์ปกป้องอธิปไตยไทย

50 นาทีที่แล้ว

เปิดแล้ว “ASEAN Tools Expo 2025” เวทีเครื่องมือช่างระดับอาเซียน

54 นาทีที่แล้ว

ภาษีทรัมป์ “ทีดีอาร์ไอ” ชี้อย่าหวังการค้า วิน-วิน ยิ่งช้า ยิ่งเสียเปรียบ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

เปิดแล้ว “ASEAN Tools Expo 2025” เวทีเครื่องมือช่างระดับอาเซียน

ฐานเศรษฐกิจ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...