โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

‘โปรตีนรั่วในปัสสาวะ’ อาการเสี่ยงโรคไตที่ต้องระวัง!

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โปรตีนรั่วในปัสสาวะ หลายคนอาจจะไม่เคยคุ้นชินกับภาวะนี้มาก่อน ทำให้คุณไม่ทันสังเกตอาการป่วย และเผลอมองข้ามไป จนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น และเป็นโรคไตได้ในที่สุด อ่านถึงตรงนี้คุณอาจเกิดข้อสงสัยได้ว่าโปรตีนรั่วอันตรายไหม? บทความนี้เราขอพาคุณไปทำความเข้าใจถึงสัญญาณเสี่ยงที่บ่งบอกถึงภาวะโปรตีนรั่ว พร้อมรู้ถึงสาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกันความเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ

โปรตีนรั่ว คือ เป็นภาวะหนึ่งที่บ่งบอกถึงได้ว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากภาวะนี้เกิดจากการทำงานของไตที่ผิดปกติ มักพบโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ประกอบอยู่ในเลือดเป็นส่วนใหญ่ และได้ไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงไตด้วยเช่นกัน

โปรตีนอัลบูมินสัมพันธ์กับน้ำและเนื้อเยื่อโดยตรง เมื่อไตทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโปรตีนชนิดนี้ไปเจือปนกับปัสสาวะในปริมาณที่มาก อาจทำให้ร่างกายบวม ปัสสาวะเป็นฟอง หายใจลำบาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โปรตีนเยอะไปก็ไม่ผอม! เปิดความจริงของโปรตีนที่คนออกกำลังต้องรู้

อร่อยง่าย ได้โปรตีน! 'เจลลี่พุดดิ้ง' จุฬาฯ ตัวช่วยสูงวัยเคี้ยว กลืนลำบาก

โปรตีนรั่วในปัสสาวะ คืออะไร?

โดย “โปรตีนรั่วในปัสสาวะ” เกิดได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ หากเห็น “เด็กตาบวมตัวบวม หรือปัสสาวะเป็นฟอง” ควรมาพบแพทย์เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่เหมาะสมทันท่วงที และให้การดูแลอย่างถูกต้อง โดยหลักๆ เบื้องต้นแพทย์จะแยกก่อนว่าภาวะบวมนี้เกิดจากอะไร ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มโรคได้ดังนี้

  • โรคหัวใจที่มีหัวใจวายร่วม
  • ตับวาย
  • โรคไต
  • การแพ้รุนแรงแบบเฉียบพลัน
  • ภาวะทุพโภชนาการที่มีภาวะโปรตีนในร่างกายต่ำอย่างมาก

Nephrotic syndrome หรือกลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (หรือที่บางครั้งจะได้ยินว่า ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ) เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคไตที่ทำให้เกิดปัญหานี้ มักจะมาด้วยประวัติบวมๆยุบๆ ที่หนังตาบน ขาบวม ท้องบวม หรือบวมทั้งตัว มักมีปัสสาวะเป็นฟองร่วมด้วย จัดเป็นกลุ่มอาการที่ต้องประกอบด้วย

  • มีประวัติบวมที่หนังตา บวมที่ขา หน้าเท้า ตาตุ่มด้านใน ท้องบวม หรือตัวบวมทั้งตัว
  • มีโปรตีนรั่ว ออกมาในปัสสาวะตามปริมาณที่กำหนด
  • มีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ
  • มีระดับไขมันคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง

อย่างไรก็ตาม โปรตีนรั่ว เป็นภาวะที่มีโปรตีนในกระแสเลือดรั่วออกมาในปัสสาวะมากเกินไป เป็นผลมาจากไตที่ทำงานผิดปกติ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ไตจะกรองโปรตีนในเลือดไม่ให้ผ่านไปเจือปนกับปัสสาวะ ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโปรตีนชนิดนี้ไป และเกิดอาการป่วยในเวลาต่อมา

ด้วยเหตุนี้ ภาวะโปรตีนในปัสสาวะจึงสามารถเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคไต เช่น ไตรั่ว ไตวาย หรือไตอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้โปรตีนรั่วมีอะไรบ้าง?

สาเหตุ ภาวะโปรตีนรั่วในไต หลักมาจากการเป็นโรคไตอักเสบ 2 ชนิด คือ โรคไตเนโฟรติกปฐมภูมิ (Primary Nephrotic Syndrome) และ โรคไตเนโฟรติกทุติยภูมิ (Secondary Nephrotic Syndrome) ที่มีสาเหตุมาจากการเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นต้น ทำให้มีโปรตีนอัลบูมินรั่วหลุดจากผนังหลอดเลือดของไตมากขึ้น และทำให้ร่างกายแสดงอาการขึ้นในเวลาต่อมา

พบบ่อยในช่วงอายุ 1-8 ปี แต่ทั้งนี้ เกิดได้ทุกช่วงอายุและมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไป โดยหากลงไปดูที่ไตระดับหน่วยการกรองจะพบว่ามีการอักเสบและการทำลายของเส้นเลือดฝอยระดับหน่วยการกรองที่ไตที่เรียกว่า glomerulus

การเกิดการอักเสบและการทำลายเส้นเลือดฝอยระดับหน่วยการกรองของไต (glomerulus) ทำให้มีการรั่วของโปรตีนของร่างกาออกมาในปัสสาวะ ที่เรียกว่า Albumin การสูญเสียโปรตีน Albumin ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ออกไปทำให้เกิดอาการภาวะดังกล่าวข้างต้น และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างตามมาได้

•ในเด็ก ส่วนมากสาเหตุการเกิดยังไม่ชัดเจน แต่พบว่ามีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของ ส่วนระดับการกรองของไต เรียกว่า minimal change disease ที่เหลืออาจจะมีความผิดปกติเป็นผังผืดบางส่วน หรือมีการหนาตัวของผนังการกรองของไต จะมีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากโรคที่ทราบสาเหตุ เช่น SLE การติดเชื้อไวรัส หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา

•ในผู้ใหญ่ 30% ของสาเหตุความผิดปกติเกิดจากโรคประจำตัวเดิมของผู้ป่วยคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่เหลือส่วนมากเป็นโรคที่ทราบสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง e.g. SLE ยาหรือโลหะหนักต่างๆ มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่ทราบสาเหตุแบบที่พบในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โปรตีนรั่ว

นอกจากนี้ ภาวะเจ็บป่วย พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงปัจจัยภายนอกร่างกายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โปรตีนรั่วเช่นกัน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตทั้งสิ้น โดยโปรตีนรั่วในปัสสาวะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลายเช่น

  • ไตเสื่อม
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง
  • เป็นไข้
  • ได้รับพิษจากโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น
  • การบาดเจ็บจากการใช้ยาจำพวก NSAID
  • การออกกำลังกายหนักเกินไป
  • ภาวะเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะโปรตีนรั่ว

อาการที่เป็นสัญญาณเสี่ยงโปรตีนรั่ว

ต้องอธิบายก่อนว่า อัลบูมินเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ทำหน้าที่ดึงน้ำต่าง ๆ ที่รั่วออกไปนั้นกลับเข้ามาในกระแสเลือด ช่วยหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อให้สุขภาพดี และควบคุมการขนส่งฮอร์โมน ยา วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ไปยังทุกส่วนของร่างกาย แต่เมื่อไตเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้ไตไม่สามารถกรองโปรตีนอัลบูมินกลับจากกระแสเลือดที่ไหลเวียนผ่านไปได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงพบโปรตีนในปัสสาวะในปริมาณที่สูงนั่นเอง

เมื่อโปรตีนอัลบูมินรั่วในปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียโปรตีนอัลบูมินไปในปริมาณมาก จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ (Hypoalbuminemia)” ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการบวม (Edema) เป็นอาการสำคัญ เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินที่ลดลงทำให้ แรงดันออนโคติก (Oncotic Pressure) หรือเเรงที่ดึงดูดน้ำไว้ภายในหลอดเลือดลดลงด้วย ส่งผลให้ของเหลวในเลือดนั้นเคลื่อนที่ออกจากหลอดเลือด และไหลเข้าสู่เนื้อเยื่อจนเกิดการบวมขึ้นมา

4 ระดับโปรตีนรั่วที่ควรรู้

โปรตีนรั่วมีทั้งหมด 4 ระดับด้วยกัน คือ

1.โปรตีนรั่วระดับปกติ ปริมาณโปรตีนที่รั่วจะน้อยกว่า 150 มก. / 24 ชม.

2.โปรตีนรั่วระดับปานกลาง ปริมาณโปรตีนที่รั่วจะอยู่ที่ 150-500 มก. / 24 ชม.

3.โปรตีนรั่วระดับรุนแรง ปริมาณโปรตีนที่รั่วจะมากกว่า 500 มก. / 24 ชม.

4.โปรตีนรั่วระดับรุนแรงมากถึงขั้นเป็นโรคไตเนโฟรติก ซึ่งปริมาณโปรตีนจะรั่วมากกว่า 3,500 มก. / 24 ชม.

เช็กสัญญาณบ่งบอกได้ว่ากำลังเป็นโรคโปรตีนรั่ว

1. ปัสสาวะเป็นฟอง

ปัสสาวะเป็นฟองคืออาการสำคัญที่บ่งบอกได้ว่าไตกำลังมีปัญหา ซึ่งสิ่งที่ทำให้ปัสสาวะเกิดฟองขึ้นนั้นก็คือโปรตีนที่รั่วออกมามากเกินไป

2. ปัสสาวะบ่อยขึ้น

โปรตีนอัลบูมินในเลือดมีความสำคัญในการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย แต่เมื่อโปรตีนอัลบูมินในเลือดลดลง จึงทำให้แรงดันออนโคติกในเลือดลดลงตามมา ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบวม ดังนั้นร่างกายจึงพยายามปรับสมดุลเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกมาจนกลายเป็นอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น

3. มีอาการบวมน้ำ

เมื่อร่างกายสูญเสียโปรตีนอัลบูมินในปริมาณที่มาก ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดน้อยลง ส่งผลให้แรงดันออนโคติกในเลือดลดลง อีกทั้งยังทำให้น้ำในเลือดซึมออกไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ด้วย ทำให้มีอาการบวมน้ำตามมือ เท้า ใบหน้า ท้อง และข้อเท้าได้ ส่วนในตอนเช้าอาจมีอาการบวมที่รอบดวงตาประกอบด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำคั่งอยู่ภายในปอด

4. เป็นตะคริวตอนกลางคืน

อาการตะคริวเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกได้ว่ากำลังมีภาวะโปรตีนรั่ว เพราะการทำงานของไตที่ผิดปกติ ทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมความสมดุลของเกลือเเร่ที่มีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเปลี่ยนไป จึงมีโอกาสที่จะเป็นตะคริวตอนกลางคืนได้

นอกจากอาการสำคัญทั้ง 4 อาการนี้แล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงการมีภาวะโปรตีนรั่วปรากฏร่วมด้วย เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และอาการอื่น ๆ เพราะฉะนั้น เมื่อคุณมีอาการตามที่กล่าวข้างต้นนี้ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

วินิจฉัยและการรักษาโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

เมื่อคุณสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น และตัดสินใจเข้ารับการรักษาแล้วนั้น แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคให้แน่ใจว่าคุณมีภาวะโปรตีนรั่วจริงหรือไม่ โดยเริ่มต้นจากการเก็บตัวอย่างปัสสาวะของคุณเพื่อตรวจหาโปรตีนด้วยการใช้แท่งที่มีเเผ่นซึ่งมีความไวต่อโปรตีน (Urine Dipstick) จุ่มลงไป ซึ่งจะสามารถประเมินปริมาณโปรตีนในปัสสาวะคร่าว ๆ ได้จากการเปลี่ยนสีของเเผ่นดังกล่าว เเละอาจเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะต่อไป

หลังจากนั้นแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดด้วยการตรวจเลือด เพื่อหาอัตราการกรองของไต ตรวจปริมาณโปรตีนที่รั่วทางปัสสาวะอย่างละเอียด และมองหาอาการแสดงของโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่อาจทำให้เกิดโรคไตเนโฟรติกทุติยภูมิ และหากจำเป็นแพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในไตเพื่อตรวจความผิดปกติของไต หาสาเหตุของภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ และวางแผนวิธีรักษาต่อไป

เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยภาวะโปรตีนรั่วในไตเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการรักษาให้คุณด้วยวิธีรักษาต่าง ๆ โดยพิจารณาถึงสาเหตุ ระดับความรุนแรงของอาการ และสภาพร่างกาย เพื่อให้การรักษาโปรตีนรั่วนั้นให้ประสิทธิภาพดีและตรงจุดที่สุด โดยมีวิธีการรักษาทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่

1. รักษาตามอาการทั่วไป

ให้ยาลดความดันภายในไต เพื่อลดความเสียหายของไต และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูง โดยแพทย์อาจพิจารณาการให้ยาขับปัสสาวะในผู้ป่วยบางราย และทานโปรตีนวันละ 1 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

2. รักษาแบบจำเพาะอาการ

ในขณะเดียวกัน หากตรวจพบว่าสาเหตุของโปรตีนรั่วจำเพาะกับโรคใด แพทย์จะวางแผนรักษาตามโรคที่วินิจฉัย ตัวอย่างเช่น

  • Lupus nephropathy: ให้ยากดภูมิ เช่น Prednisolone พร้อมกับยา Mycophenolate mofetil (MMF) ในการรักษา โดยขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค
  • เบาหวาน: ให้ยาลดความดัน ยาจำเพาะสำหรับโรคเบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร และการควบคุมระดับน้ำตาล

ภาวะโปรตีนรั่วหายเองได้หรือไม่

ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะโปรตีนรั่ว หากมีอาการไม่รุนแรงมีโอกาสหายได้ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง ต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจังเพื่อลดอาการป่วยให้บรรเทาลง แต่ทั้งนี้ คุณต้องดูแลสุขภาพอย่างจริงจังด้วย

  • ผู้ป่วยในเด็ก

ส่วนมากเป็นกลุ่มไม่ทราบสาเหตุ แต่ไม่ต้องกังวลค่ะว่าไม่ทราบสาเหตุจะรักษาได้ยังไง กลุ่มนี้ 80% ตอบสนองดีต่อการรักษา จะมีเพียง 20% ของกลุ่มนี้เท่านั้นทีการตอบสนองต่อการรักษาอาจจะช้าหรือตอบสนองไม่ดี

Steroid ถือเป็นยาที่เป็นมาตรฐานในการรักษา และพิจารณาเป็นอันดับแรกในการใช้ ซึ่งมีระยะเวลาการรักษาเป็นเวลาหลายเดือน โดยจะปรับตามการตอบสนองการรักษาและมาตรฐานการรักษาที่กำหนด โดยต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ยากดภูมิคุ้มกัน ยากลุ่มนี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ steroid ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตอบสนองเพียงเล็กน้อย หรือกลับเป็นซ้ำบ่อยครั้งจนไม่สามารถลด steroid ได้ หรือมีผลข้างเคียงจากยาsteroid ค่อนข้างมาก ซึ่งยากลุ่มนี้มีหลายชนิดและราคาค่อนข้างสูง ซึ่งต้องมีการเจาะตรวจชิ้นเนื้อไตร่วมด้วย ก่อนการใช้ยา ตามแต่ชนิดของยาที่พิจารณา

ยาขับปัสสาวะ มีการใช้ได้ทั้งยาฉีด หรือยากิน ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค แต่มักพิจารณาในผู้ป่วยที่บวมค่อนข้างมาก

Albumin การให้ albumin ทางเส้นเลือดร่วมกับการให้ยาขับปัสสาวะ ทั้งนี้จะให้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง บวมมาก มีภาวะน้ำเกินในร่างกายมาก และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอันตราย เพื่อให้ผู้ป่วยมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและใช้ยากินต่อไปได้

  • ผู้ป่วยผู้ใหญ่

ส่วนมากทราบสาเหตุการเกิด จะให้รักษาตามสาเหตุ และควบคุมรักษาโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ยาอื่นที่พิจารณาก็อาจเป็น ยาลดโปรตีนในปัสสาวะ ยาลดระดับไขมันในเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวหรือลิ่มเลือดอุดกั้นผิดปกติ หรือ steroid ก็มีการใช้ตามข้อบ่งชี้

เมื่อคุณได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญที่คุณต้องใส่ใจ คือ การทานยาอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เพิ่มยาหรือหยุดยาเอง ประกอบกับการดูแลอาหารการกินอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะได้มากขึ้น

วิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะโปรตีนรั่ว

การป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะโปรตีนรั่วสามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยมีวิธีป้องกันจากภาวะนี้ คือ

  • งดทานอาหารรสเค็มจัด อาหารที่ปรุงด้วยเกลือ และมีโซเดียมสูง
  • ทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ชั่วโมง
  • ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น วัดความดัน ตรวจระดับน้ำตาล
  • งดสูบบุหรี่หรือยาสูบ เพราะจะเป็นช่ยส่งเสริมให้โปรตีนรั่วได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง โดยเฉพาะยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เว้นแต่แพทย์จะแนะนำ NSAID ที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซน

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่ามีอาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาตามอาการสำหรับคนที่ไม่ได้มีโรคแทรกซ้อนหรือมีอาการหนักมาก และรักษาแบบจำเพาะอาการสำหรับคนที่เป็นโรคไตจากสาเหตุจำเพาะต่าง ๆ และโรคเบาหวาน ประกอบกับการป้องกันตัวเองอย่างดีจะช่วยให้คุณมีอาการที่ดีขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะไปรักษาภาวะโปรตีนรั่วที่ไหนดีนั้น ขอแนะนำให้ไปตรวจกับทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูงให้การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาและการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง: โรงพยาบาลพระรามเก้า ,โรงพยาบาลสมิติเวช

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘Google’ เปิดเคล็ดลับเขียนพรอมต์สร้าง AI วิดีโอด้วย ‘Veo 3’

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สเปซเอ็กซ์ ทุ่ม 2 พันล้านดอลลาร์ ลงทุนในบริษัท xAI ของอีลอน มัสก์

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สหไทย สุราษฎร์ธานี’ ปรับแผนรับมือคนไทยรัดเข็มขัด สร้างค้าปลีกมุ่งอันดับหนึ่ง

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'มหาเถรสมาคม' สั่งคณะหนปกครอง เรียก 'พระฉาว' สางปมมั่วสีกา

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

"ออฟฟิศซินโดรม" ระเบิดเวลาที่แฝงตัวอยู่ในทุกท่านั่งที่เราทำงาน

ฐานเศรษฐกิจ

แพทย์เตือน! "ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ" อย่าชะล่าใจ สัญญาณเสี่ยงโรคร้าย

TNN ช่อง16

อย่าชะล่าใจ! 1 สัญญาณเตือนมะเร็ง พบเฉพาะกลางคืน หลายคนมองข้าม

News In Thailand

ครั้งแรกในไทย นวัตกรรม AI สแกนอายุฟันจริง พร้อมแนวโน้มในอนาคต

ฐานเศรษฐกิจ

PM2.5 บุหรี่ไฟฟ้า ควันธูป อะไร "ร้ายที่สุด" ต่อปอดและระบบภูมิคุ้มกัน ?

Amarin TV

เตือน "ไข้ดิน" ช่วงน้ำท่วม เสียชีวิตแล้ว 72 ราย เปิด 5 จังหวัดป่วยสูงสุด

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...