โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เสียงสะท้อนจากวิกฤตของผู้ลี้ภัยสงครามและภัยแผ่นดินไหว

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ ในการเดินทางครั้งนี้ ด้วยสองวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อติดตามคุณพ่อบาทหลวงไพรัช ศรีประเสริฐ และ Bishop Aristelo Miranda ท่านนี้เป็นบาทหลวงที่มาจากนครรัฐวาติกัน ประเทศอิตาลี คุณพ่อเกรียงไกร คุณพ่ออภิชิต ซึ่งคุณพ่อทั้งสี่ท่านเป็นบาทหลวงของกลุ่มคาทอลิก อีกหนึ่งวัถตุประสงค์ คือ เพื่อติดตามดูสถานการณ์หลังแผ่นดินไหวใหญ่ที่ผ่านมา เมื่อคณะเราไปถึงสนามบิน ก็ได้พบกับท่าน Bishop Augustine Win Myint ซึ่งท่านเป็นบาทหลวงประจำที่ Archbishop’s House Mandalay ท่านมาร่วมเดินทางไปกับคณะ เพื่อคอยต้อนรับพวกเราด้วยครับ

เมื่อคณะเดินทางไปถึงสนามบินมัณฑะเลย์ คุณพ่อ Augustine ก็นำคณะเดินทางไปยังสำนักงานของท่าน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมัณฑะเลย์มากนัก ภายในสำนักงานมีที่ดินกว้างประมาณ 4-5 เอเคอร์ ภายในพื้นที่ดังกล่าว มีโบสถ์ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้รับความเสียหายไปไม่น้อย และมีอาคารเอนกประสงค์อีกหนึ่งหลัง อาหารห้องครัว ที่ใช้รับรองอาหารกลางวัน ที่ได้รับความเสียหากเล็กน้อยอีกหนึ่งหลัง

พอคณะเราไปถึง คุณพ่อ Augustine ก็พาคณะไปทานอาหารกลางวันแบบพื้นเมืองง่ายๆ ที่อาคารดังกล่าว หลังทานข้าวเสร็จ ท่านจึงพาเราเดินชมพื้นที่ทั้งหมด คณะเราเดินผ่านแคมป์ที่พักชั่วคราวกลุ่มใหญ่ รวมทั้งท่านได้พาเราไปชมอาคารไม้ไผ่ ที่สร้างขึ้นมารองรับกับกลุ่มผู้อพยพลี้ภัย ส่วนใหญ่จะเป็นชนชาติพันธุ์ ที่หนีภัยสงครามกลางเมือง มาอาศัยอยู่ที่นี่จำนวนไม่น้อย เท่าที่ผมสังเกตุเห็นและได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ลี้ภัยดังกล่าว จึงทราบว่ามีการอพยพมาอาศัยใบบุญอยู่ที่นี่นานพอสมควรแล้ว

นอกจากนั้นยังมีอาคารเรียนหลังใหญ่ ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงมาก ทำให้เด็กๆ ที่ติดตามพ่อแม่ลี้ภัยมา ไม่สามารถเข้าไปเรียนหนังสือในอาคารได้ แต่คุณพ่อบาทหลวงก็ได้พยายามสร้างกระต๊อบมุงจากเล็กๆ พอให้เด็กๆ ได้อาศัยเรียนหนังสือได้ชั่วคราวครับ เท่าที่เห็นเด็กเล็กเหล่านี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษกันอยู่อย่างมีความสุขเลยทีเดียวครับ

บางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ลี้ภัย จึงต้องดิ้นรนมาหลบภัยสงครามกันที่เมืองมัณฑะเลย์นี้ ต้องบอกว่าเมืองมัณฑะเลย์เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรม และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทางภาคกลางของประเทศเมียนมา เนื่องจากที่นี่เป็นจุดศูนย์กลางของความเจริญทางภาคกลางของเมียนมา จึงทำให้กลายเป็นที่พึ่งพิงของชีวิตประชาชนนับพันที่ต้องพลัดถิ่น จากสถานการณ์ความไม่สงบในหัวเมืองต่างๆ

ท่ามกลางวิกฤตสงครามที่ยืดเยื้อ ชาวบ้านจากพื้นที่ต่างๆจากภาคเหนือของประเทศ ต่างจำต้องทิ้งบ้านเรือนที่เคยอยู่อาศัย เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงและการสู้รบ ที่ปะทุขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน พวกเขาเหล่านั้นจึงเดินทางมายังเมืองมัณฑะเลย์ ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับความปลอดภัย และโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่เบื้องหลังความหวังนั้น คือเรื่องราวของการพลัดพราก ความยากลำบากและอนาคตที่ยังไม่แน่นอน ซึ่งชาวบ้านเหล่านี้ อาจจะได้แต่เพียงความคาดหวังเท่านั้นครับ

สถานการณ์ความไม่สงบและภัยแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง ในหลายพื้นที่ของประเทศเมียนมา ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องอพยพ การเผชิญหน้ากับการสู้รบในพื้นที่ต่างๆ และสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ผลักดันให้ผู้คนต้องหลบหนีออกจากพื้นที่เดิมอย่างเร่งด่วน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ ชีวิตและทรัพย์สินไม่ปลอดภัย การเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานอย่างอาหาร น้ำสะอาด และบริการทางการแพทย์ ก็เป็นไปอย่างยากลำบาก ทำให้การเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีการคมนาคมเข้าถึงได้ง่าย กลายเป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับหลายครอบครัว

ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มักจะเดินทางมาพร้อมกับเสื้อผ้าไม่กี่ชิ้น และเงินเก็บเพียงน้อยนิด บางคนอาจมีญาติพี่น้องอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์ ทำให้พอมีที่พึ่งพิงชั่วคราว แต่หลายคนต้องเผชิญกับความท้าทาย ในการหาที่พักพิงและแหล่งรายได้เพื่อประทังชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ที่แตกต่างจากบ้านเกิดเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย พวกเขาต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการทำงาน การขาดแคลนอาหาร และการเข้าถึงการศึกษาสำหรับบุตรหลานของพวกเขา

ชีวิตใหม่ในเมืองมัณฑะเลย์ของพวกเขา ความหวังท่ามกลางความยากลำบากและการโอบอุ้มทางศาสนา เมื่อมาถึงเมืองมัณฑะเลย์ ผู้ลี้ภัยสงครามมักจะพึ่งพาเครือข่ายทางสังคมที่มีอยู่ หรือขอความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศล เช่น วัดหรือสถาบันศาสนาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของบาทหลวงและพระสงฆ์ในเมืองมัณฑะเลย์ จึงมีความโดดเด่นอย่างยิ่ง ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พลัดถิ่น ทั้งวัดพุทธและคริสตจักรหลายแห่ง ได้เปิดพื้นที่ให้ผู้พลัดถิ่นได้เข้ามาพักพิงชั่วคราว พร้อมทั้งจัดหาอาหาร

เท่าที่ได้รับทราบจากคุณพ่อ Augustine ท่านจะเป็นผู้จัดหาอาหารกลางวันสำหรับผู้ลี้ภัยในสถานที่(แคมป์) ของท่านทุกวัน นอกจากนี้ยังมีสิ่งของจำเป็น แม้ว่าทรัพยากรเหล่านี้ จะมีจำกัดและไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ แต่ความเมตตาและน้ำใจจากผู้นำทางศาสนาและผู้ศรัทธา ได้เป็นเสมือนแสงสว่างที่ช่วยประคับประคองชีวิตของผู้ที่ต้องพลัดถิ่น ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

ผู้ลี้ภัยจำนวนมากเหล่านี้ กลุ่มที่เป็นผู้ใหญ่จะต้องเผชิญกับปัญหาในการหางานทำ โดยเฉพาะงานที่มั่นคง และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ หลายคนต้องรับจ้างทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะมากนัก เช่น งานก่อสร้าง งานแบกหาม หรือเป็นลูกจ้างในร้านค้าเล็กๆ ซึ่งมักจะมีค่าแรงต่ำมากและไม่มีสวัสดิการ นอกจากนี้การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข แม้จะมีโบสถ์ของคาทอลิคที่เปิดเป็นคลินิก คอยรับบริการให้ตรวจรักษาฟรีอยู่หนึ่งแห่ง แต่ก็ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้พังพินาศไปไม่น้อย ซึ่งในวันต่อมา ทางคณะเราก็ได้ไปเยี่ยมชมด้วย คุณพ่อบาทหลวงได้ใช้ศาลาเล็กๆ ภายในโบสถ์ เป็นสถานบริการคลินิกชั่วคราว ก็มีเพียงเตียงผู้ป่วยหนึ่งเตียง และยูกยาเพียงเล็กน้อย ซึ่งก็เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อบาทหลวง เนื่องจากท่านยังขาดเงินทุนและยารักษาโรคในการให้บริการอย่างมากครับ

ผมเชื่อว่าแม้จะเผชิญกับความยากลำบาก แต่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็ยังคงมีความหวัง ในการสร้างชีวิตใหม่ให้กับตนเองและครอบครัวต่อไป เท่าที่ผมเห็นชีวิตในแคมป์หลายคน ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง และการสร้างกำลังใจให้กันและกัน เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ จึงน่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วน ไม่ใช่เพียงแค่การจัดหาปัจจัยพื้นฐาน

แต่ยังรวมถึงการเยียวยาทางจิตใจ การสนับสนุนให้เข้าถึงการศึกษาและอาชีพที่มั่นคง รวมถึงการสร้างโอกาสให้พวกเขากลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภาคประชาสังคมคงจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อตอบสนองความต้องการความช่วยเหลืออย่างครอบคลุม และสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์ที่เปราะบางนี้ให้กับประชาคมโลกได้รับรู้ เรื่องราวของ “ผู้ลี้ภัยสงครามและภัยธรรมชาติจากหัวเมือง ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์” คือภาพสะท้อนของความเจ็บปวดจากภัยเหล่านั้น ได้สร้างความเข้มแข็ง และความหวังที่ยังคงอยู่ในใจของประชาชนชาวเมียนมาผู้ประสบภัย ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ธนาคารไทยพาณิชย์แจ้ง ชื่อไม่ตรงกับซิมใช้แอป SCB EASY ไม่ได้

38 นาทีที่แล้ว

BOI คาดเกมยาว "ภาษีทรัมป์" ชง 5 แนวทางรับมือ ดึง 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

53 นาทีที่แล้ว

ประกันสังคม ม.33 ม.39 ตรวจมะเร็งฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เช็กเงื่อนไขที่นี่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กสิกร แจ้งปิดบริการแอป K PLUS ชั่วคราว 3 ชั่วโมง 20 ก.ค.พัฒนาระบบ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

บางขนาดนี้ คุณพี่ทำได้ไง? Samsung เผยไต๋ 'Z Fold7' ทำไมถึงบางเฉียบ

กรุงเทพธุรกิจ

พาณิชย์ เตรียม 3 มาตรการเยียวยาผลกระทบภาษีทรัมป์ พร้อมเร่งเจรจาเอฟทีเอ ยันทีมเจรจาตั้งเป้าได้อัตราภาษีต่ำสุด

กรุงเทพธุรกิจ

Afternoon Report 2025-07-14

StockRadars

GCAP ออกหุ้นกู้มีประกัน ชูยิลด์สูง 7.25% ขายสถาบัน-รายใหญ่ 24-25 ก.ค.และ 29 ก.ค.2568 นี้

Wealthy Thai

กลุ่มอิเล็กฯ ห่วงภาษีทรัมป์! ตัวเลขสูงสะเทือนลงทุนไทย

กรุงเทพธุรกิจ

TIDLOR คว้ารางวัล Social Empowerment จากเวที AREA 2025 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งมอบความรู้ทางการเงิน

Wealthy Thai

TEKA เดินหน้า Turnkey Project เสริมแกร่งธุรกิจสู่ผู้รับเหมาก่อสร้างแบบครบวงจร

Wealthy Thai

SC Asset โชว์ยอดขายบ้านหรูไตรมาส 2/2568 โตแรง 118% เซ็กเมนท์ 20 ล้านครองแชมป์ รับกระแสดีมานด์บ้านหรูแกร่ง ตอกย้ำผู้นำบ้านพรีเมียม

Wealthy Thai

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...