โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“มาเลเซีย” อัดฉีด 500 ล้านดอลล์ แจกเงินสด-ลดราคาน้ำมัน บรรเทาค่าครองชีพ รับมือภาษีทรัมป์

การเงินธนาคาร

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"มาเลเซีย" อัดฉีด 500 ล้านดอลล์ เปิดตัวมาตรการช่วยเหลือประชาชนชุดใหญ่ แจกเงินสด ลดราคาน้ำมัน ชะลอขึ้นค่าทางด่วน และลดค่าไฟ พร้อมยืนยันเศรษฐกิจมาเลเซียยังแข็งแกร่ง แม้เผชิญแรงกดดันภาษีสหรัฐ

วันที่ 23 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.56 น. สำนักข่าว Nikkie Asia รายงานว่า อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แถลงผ่านโทรทัศน์ประกาศมาตรการบรรเทาค่าครองชีพชุดใหม่ รวมมูลค่ากว่า 2 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรวมถึงการแจกเงินสดให้ประชาชนวัยผู้ใหญ่ทุกคน และการปรับลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

อันวาร์กล่าวว่า แม้อัตราเงินเฟ้อของประเทศในเดือนมิถุนายน 2568 จะลดลงมาอยู่ที่ 1.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 52 เดือน แต่ราคาสินค้าอาหารยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย และเป็นภาระหลักของประชาชน พร้อมยืนยันว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังมีรากฐานที่แข็งแกร่ง แม้จะเผชิญผลกระทบจากมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐที่จะเริ่มมีผลในเร็ววันนี้

ตามมาตรการที่ประกาศ ชาวมาเลเซียที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกคนจะได้รับเงินสดคนละ 100 ริงกิต หรือราว 23.60 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับใช้จ่ายในสินค้าอุปโภคบริโภค โดยสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชน (MyKAD) กดรับเงินได้ตั้งแต่ 31 ส.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2568

มาตรการช่วยเหลือนี้มีขึ้นท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) ของสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมาเลเซียอาจเผชิญอัตราภาษีสูงถึง 25% ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนอย่างญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต่างสามารถเจรจาลดภาษีลงได้ที่ 15%, 19% และ 20% ตามลำดับ

ในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายค้านมาเลเซียเตรียมจัดชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในวันเสาร์นี้ โดยอ้างว่าประชาชนเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงและการขยายฐานภาษี โดยคาดว่าจะมีผู้ร่วมชุมนุมถึง 300,000 คน แม้ตำรวจประเมินไว้เพียง 10,000–15,000 คน ที่จัตุรัสเมอร์เดกา ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังประกาศปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน RON95 สำหรับประชาชนทั่วไปลงอีก 6 เซนต์ เหลือ 1.99 ริงกิต/ลิตร จากราคาเดิม 2.05 ริงกิต ซึ่งยังถือว่าอยู่ในระดับที่รัฐบาลอุดหนุน แม้ราคาน้ำมันที่ไม่มีการอุดหนุนจะอยู่ที่ 2.50 ริงกิต/ลิตร

ในส่วนของค่าทางด่วน รัฐบาลจะชะลอการขึ้นค่าผ่านทางบนทางด่วน 10 สาย โดยรับภาระค่าใช้จ่ายกว่า 500 ล้านริงกิตแทน พร้อมปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ตั้งแต่เดือนนี้ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 85% ได้รับส่วนลดค่าไฟสูงสุดถึง 14% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก

แม้มาเลเซียจะสร้างสถิติการอนุมัติเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงสุดในปี 2567 ที่ 3.84 แสนล้านริงกิต เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อนหน้า และค่าเงินริงกิตแข็งค่าขึ้น แต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวในตอนท้ายว่า “สิ่งเหล่านี้จะไร้ความหมาย หากประชาชนยังต้องเผชิญความยากลำบากจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอยู่”

อ้างอิง : asia.nikkei.com

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์รอบรั้วอาเซียน ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรุงไทย แอกซ่า ชี้แจง กรณีการบริหารจัดการธุรกิจประกันสุขภาพ

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หุ้นไทย ปิดบวก 27.87 จุด หลังเจรจาภาษีสหรัฐคืบหน้า หวังอัตราภาษี 18-20%

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ยอดขาย “Green Bonds” ทั่วโลกร่วง 32% ท่ามกลางแรงกดดันจากนโยบายสหรัฐ-อียู

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

การเงินธนาคาร

“อภิสิทธิ์” จี้รัฐหยุดวนลูปแจกเงิน แนะปฏิรูปรากเศรษฐกิจ กิโยตินกฎหมาย-เพิ่มทักษะคนไทย

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...