โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เช้านี้ ค่าเงินบาท แข็งค่า เปิด 32.23 บาท/ดอลลาร์

การเงินธนาคาร

อัพเดต 22 กรกฎาคม 2568 เวลา 15.18 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.23 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันที่ผ่านมา ณ ระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์

22 ก.ค. 2568 นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.23 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันที่ผ่านมา ณ ระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ทะลุโซนแนวรับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ (แกว่งตัวในกรอบ 32.21-32.38 บาทต่อดอลลาร์) สอดคล้องกับการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังบรรดาสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (สวนทางกับคาดการณ์ของเรา) หลังผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก (Upper House Election) เป็นไปตามที่ผู้เล่นในตลาดประเมินไว้ โดยพรรครัฐบาล LDP และ Komeito ได้ที่นั่งเพียง 47 ที่นั่ง จากเป้าหมาย 50 ที่นั่ง เพื่อคงอำนาจเสียงข้างมากในวุฒิสภา ทว่า นายกรัฐมนตรี Shigeru Ishiba ยังคงยืนกรานที่จะอยู่ในตำแหน่งและพร้อมเดินหน้าประนีประนอมกับฝ่ายค้านในการขับเคลื่อนนโยบายการคลังเพื่อ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อสูง (อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และควรเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด)

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันจากจังหวะการปรับตัวลดลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มทยอยเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยรับมือความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับเฟดที่ยังคงมีอยู่ โดยการปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (XAUUSD) ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทดสอบโซนแนวต้าน 3,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงคืนที่ผ่านมา

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท

เรายอมรับว่า เงินบาทได้ทยอยแข็งค่าขึ้น สวนทางกับที่เราประเมินไว้ โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) หลังรับรู้ผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก ที่แม้ว่า ผลการเลือกตั้งจะสะท้อนว่า พรรครัฐบาล LDP และ Komeito จะสูญเสียการครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ทว่านายกฯ Shigeru Ishiba ก็ยังคงยืนกรานที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจเลือกที่จะทยอยปิดขายทำกำไรสถานะ Short JPY (มองเงินเยนอ่อนค่าลง)

อย่างไรก็ดี เราคงมุมมองเดิมว่า ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และมีความเสี่ยงที่จะเห็นการกลับมาอ่อนค่าลงของเงินเยนญี่ปุ่น พร้อมกับแรงขายสินทรัพย์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะบอนด์ระยะยาวญี่ปุ่น ได้อีกครั้ง หากผู้เล่นในตลาดกังวลเสถียรภาพการคลังของรัฐบาล ซึ่งจะขึ้นกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการคลังของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งจะต้องมีความประนีประนอมมากขึ้นกับฝ่ายค้าน

นอกจากนี้ เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนอยู่ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงทยอยออกมาสดใส รวมถึง รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และหนุนการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ส่วนหนึ่งก็ได้อานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งล่าสุด ราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้าน และเริ่มมีความเสี่ยงที่จะย่อลงได้บ้าง หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง ทำให้

โดยรวมเรามองว่า แม้เงินบาทจะพอได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่า แต่การแข็งค่าของเงินบาทจะเป็นไปอย่างจำกัด และเงินบาทอาจยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นทะลุโซนแนวรับถัดไป 32.10 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก ในทางกลับกัน เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลงบ้าง โดยโซนแนวต้านของเงินบาทจะอยู่ในช่วง 32.30 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแรก และมีโซน 32.60-32.70 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแนวต้านถัดไป

เรายังคงมีความกังวลเดิม คือ ความผันผวนของเงินบาทที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ Options เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.15-32.35 บาท/ดอลลาร์

มุมมองตลาดอื่น ๆ

แม้ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะยังไม่กล้าเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอลุ้นผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า ทว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็พอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ โดยเฉพาะ Alphabet +2.7% ก่อนที่จะรับรู้รายงานผลประกอบการในช่วงวันพุธนี้ ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +0.38% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.14%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ย่อลงเล็กน้อย -0.08% หลังผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป (EU) ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนฝั่งยุโรปก็ออกมาผสมผสาน ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปยังคงเคลื่อนไหวไร้ทิศทางที่ชัดเจน

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์ บรรดาผู้เล่นในตลาดทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวเพิ่มเติม ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับเฟดที่ยังคงอยู่ หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รัฐมนตรีฯ คลัง และบรรดาสมาชิกพรรครีพับลิกันส่วนใหญ่ ต่างต้องการให้เฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ย ก็มีส่วนหนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงบ้าง สู่ระดับ 4.37% ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดควรรอจังหวะบอนด์ยีลด์ระยะยาวสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ในการทยอยเข้าซื้อ หลัง Risk-Reward มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโซน 4.50% ขึ้นไป สำหรับบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ โดยจังหวะการทยอยเข้าซื้อดังกล่าวอาจกลับมาอีกครั้ง ในช่วงสัปดาห์ต้นเดือนสิงหาคมที่ตลาดจะรับรู้ แนวโน้มการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับจังหวะปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ นอกจากนี้ บรรดาสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ก็พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังนายกฯ Shigeru Ishiba ยืนกรานที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป แม้ว่าพรรค LDP และ Komeito จะสูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภา หลังการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกล่าสุดในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวลงสู่ระดับ 97.8 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 97.7-98.3 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. 2025) สามารถปรับตัวสูงขึ้น สู่โซน 3,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้

ในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานดัชนีภาวะธุรกิจ ทั้งในฝั่งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดยเฟดสาขา Richmond ในเดือนกรกฎาคม เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน พร้อมทั้งรอติดตามถ้อยแถลงจากบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้งในฝั่งของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB)

อ่านข่าว การเงิน-อัตราแลกเปลี่ยน-ราคาทอง-ราคาน้ำมัน ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

ทีทีบี สานต่อ “ปีแห่งการช่วยเหลือลูกหนี้” เผยช่วยไปแล้วกว่า 5 หมื่นบัญชี

23 นาทีที่แล้ว

“ธนาคารกลางอังกฤษ” เล็งชะลอแผนออก “เงินปอนด์ดิจิทัล” หลังประเมินประโยชน์ลดลง

31 นาทีที่แล้ว

ครม.เคาะ “วิทัย รัตนากร” นั่งผู้ว่าธปท. ลำดับที่ 25

48 นาทีที่แล้ว

บลูบิค ย้ายเทรด SET วันแรก ตั้งเป้า 3 ปี ดันองค์กรเข้า SET100

54 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

BDMS ชูสุขภาพ-ไลฟ์สไตล์ลักชัวรี บน ONESIAM SuperApp

หุ้นวิชั่น

ครม. มีมติแต่งตั้ง “วิทัย รัตนากร” เป็นผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ มีผล 1 ตุลาคม 2568

TNN ช่อง16

“5 New Paradigms” ยุทธศาสตร์ใหม่ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทย มุ่งปั้น Soft Power – Sport

ประชาชาติธุรกิจ

กำไรแบงก์6เดือนโต3.9%-สินเชื่อ-รายได้หลักชะลอ-คุมเข้มคุณภาพหนี้

Manager Online

ทีทีบี สานต่อ “ปีแห่งการช่วยเหลือลูกหนี้” เผยช่วยไปแล้วกว่า 5 หมื่นบัญชี

การเงินธนาคาร

GULF มอบ 1.2 ล้าน เป็นขวัญ-กำลังใจ ทหารเหยียบกับระเบิด

หุ้นวิชั่น

รถไฟฟ้า 20 บาทใกล้คลอด ฝ่ายค้านตั้งคำถามเอื้อนายทุน ?

Thai PBS

พลัสฯ ประเดิมคว้างานปรับโฉมอาคาร "ชลันต์ทิพย์" สู้ศึกมิกซ์ยูสแห่ผุดเป็นดอกเห็ด

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...