1 กรกฎาคม 1975-2025 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน
GM Live
อัพเดต 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.23 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เว็บไซต์ว่าด้วยเรื่องราวของผู้ชาย เทรนด์ บทสัมภาษณ์ บทวิเคราะห์ธุรกิจ รถยนต์ Gadget สุขภาพ อัพเดทก่อนใครบทความโดย: ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
ผมเขียนบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจนโยบายการต่างประเทศของจีนในปัจจุบันและในอนาคต
ตลอดสองปีที่ผ่านมา จีนได้เปิดตัวหลากข้อริเริ่มและหลายความร่วมมือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งหวังที่จะสร้าง “ประชาคมของมวลมนุษยชาติที่มีอนาคตร่วมกัน” (community with a shared future for mankind)
.
ปิติ ศรีแสงนาม ชวนสำรวจการต่อยอดยุทธศาสตร์ของจีนจากความริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) สู่การพัฒนา 3 เสาหลัก ได้แก่ Global Development Initiative (GDI), Global Security Initiative (GSI) และ Global Civilization Initiative (GCI) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระเบียบโลกใหม่ของจีน
.
“เสาหลักต้นแรกของนโยบายการต่างประเทศจีนยุคใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมของมวลมนุษยชาติที่มีอนาคตร่วมกัน คือโครงการริเริ่มการพัฒนาระดับโลก (GDI) เป็นโครงการริเริ่มการพัฒนาระหว่างประเทศที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในปี 2021 […] GDI ถือเป็น ‘เครื่องยนต์คู่’ เคียงข้างโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
“ส่วน GSI มีวัตถุประสงค์ เพื่อยึดมั่นในหลักการความมั่นคงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ (the principle of indivisible security) สร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงที่สมดุล มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน และต่อต้านการสร้างความมั่นคงของชาติตนเองบนพื้นฐานของความไม่มั่นคงของประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ยังรวมเป้าหมายของความคิดริเริ่มความมั่นคงข้อมูลระดับโลก (Global Data Security Initiative: GDSI) ที่ประกาศในปี 2020 เข้าด้วย”
.
“เสาหลักที่ 3 อย่าง ความคิดริเริ่มอารยธรรมโลก (GCI) มีพื้นฐานมาจากแนวคิดทางการทูตของสี จิ้นผิง ที่เน้นการเคารพซึ่งกันและกันและหลีกเลี่ยงการบังคับใช้ค่านิยมหรือตัวแบบ (model) ทางสังคมต่อกัน โดยจีนพิจารณาว่าในอดีตที่ผ่านมา ตัวแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมมักจะมีสภาพบังคับและวางอยู่บนแนวคิดเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตก (Western Liberal Democracy) ซึ่งหลายๆ ครั้งไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและระดับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกกดดันให้รับตัวแบบดังกล่าว”
.
“เมื่อพิจารณาทั้ง 3 เสาหลักจะเห็นได้ว่า จีนในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่คนป่วยแห่งเอเชียอีกต่อไป จีนมีความพร้อมในการเสนอตัวขึ้นมายืนในแถวหน้าของการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเวทีโลก แทบจะอยู่ในระดับเดียวกันกับมหาอำนาจเดิม ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องประเมินยุทธศาสตร์ของตนเองใหม่”