โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ย้อนรอย 28 ปี “ต้มยำกุ้ง” ถึงวันนี้ ไทยดีขึ้นแค่ไหน? กสิกร ชี้ “บาทแข็ง” ยังเป็นโจทย์ใหญ่

Thairath Money

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

แม้ว่าจะผ่านมาแล้ว 28 ปี แต่คนไทยก็ยังไม่ลืมวิกฤติเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อย่าง "วิกฤติต้มยำกุ้ง" เหตุการณ์ทางการเงินที่ทิ้งรอยแผลเป็นและบทเรียนให้กับประเทศไทยมาจนถึงวันนี้

2 กรกฎาคม 2540 คือวันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และหันไปขอความช่วยเหลือจาก IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ไม่เพียงเขย่ารากฐานเศรษฐกิจไทย แต่ยังลามไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Asian Financial Crisis"

ย้อนเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง

ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าจะเกิดวิกฤติการเงินอย่างต้มยำกุ้งขึ้น เพราะในตอนนั้นเศรษฐกิจไทยดูเหมือนจะกำลังเป็นไปอย่างราบรื่น และแทบจะเรียกได้ว่าเป็นยุคทอง

ในตอนนั้น เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้แต่เอกชนในไทยเองก็ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนเพิ่ม จนราคาที่ดิน บ้าน คอนโด พุ่งขึ้นแบบผิดปกติจนกลายเป็น "ฟองสบู่"

ปัญหาใหญ่ในอดีต คือ ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบกึ่งตรึงค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์ แม้จะดูเหมือนช่วยให้ตลาดเงินมีเสถียรภาพ แต่ในความเป็นจริงกลับทำให้ทั้งคนที่กู้เงิน และคนที่ปล่อยให้กู้ มองข้ามความเสี่ยงจากค่าเงินที่อาจเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ระบบธนาคารยังเผชิญกับปัญหาใหญ่ที่เรียกว่า "กู้สั้น-ลงทุนยาว" คือไปยืมเงินต่างประเทศแบบระยะสั้นที่ต้องใช้คืนโดยเร็ว แต่นำเงินไปปล่อยกู้ให้โครงการในประเทศแบบระยะยาว ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะได้คืน และถ้าเงินทุนต่างชาติไหลออกอย่างฉับพลัน จะไม่มีเงินพอใช้หนี้ทันที เกิดเป็นความเสี่ยงหนักต่อระบบการเงินของประเทศ

ในขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวจากการลงทุนของทั้งคนในประเทศและต่างชาติ ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งกลับประเมินความเสี่ยงได้ไม่แม่นพอ รวมถึงปล่อยสินเชื่อไม่รอบคอบเท่าที่ควร

การผูกค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์ ส่งผลให้เมื่อมีข่าวลือว่าจะมีการลดค่าเงินบาท นักลงทุนต่างขายเงินบาทหนีไปถือเงินดอลลาร์มากขึ้น และทำให้การลงทุนหยุดชะงัก เพราะนักลงทุนต่างชาติทยอยถอนตัวออกไปเรื่อย ๆ จนค่าเงินบาทอ่อน เศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง ค่อย ๆ เสียสมดุลและพังลง ก่อนจะกลายเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งในที่สุด

เศรษฐกิจยุคนั้น VS ยุคนี้ มีอะไรต่างหรือเหมือนกันบ้าง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า บริบทเศรษฐกิจปี 2568 ได้ปรับเปลี่ยนไปมากจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ทั้งในมิติของทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่า

ขณะที่ ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง เงินสำรองอยู่ในระดับสูง และมีกลไกเร่งจัดการปัญหาหนี้เสีย เพราะได้บทเรียนจากช่วงวิกฤติทางการเงินเมื่อ 28 ปีก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะชะลอตัวจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง, การปล่อยสินเชื่อน้อยลง เพราะหนี้เสีย (NPL) ยังน่าห่วง, สงครามการค้าระหว่างประเทศ, ชาวต่างชาติลงทุนในไทยน้อยลง รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวลง 2.8% เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย กระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เนื่องจากพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก

แต่สถานการณ์ปัจจุบันต่างจากช่วงวิกฤติ 2540 เพราะจากรายงานที่เทียบตัวเลขของทั้งสองยุค พบว่า

ปี 2540-2542 (วิกฤติต้มยำกุ้ง)

  • อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย : -52% ต่อปี (เฉลี่ยปี 2540 - 2541)
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ : 27,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 70.4% ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
  • หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศ : 72.9% ต่อจีดีพี (ปี 2542)
  • หนี้เสียในระบบแบงก์ : 52.3% ต่อสินเชื่อรวม (ปี 2542)
  • สถานการณ์ค่าเงินบาท : อ่อนค่าหนักตามพื้นฐานเศรษฐกิจ และผันผวนสูงมากหลังประกาศลอยตัว

ในขณะที่ปัจจุบัน ปี 2568 (ตัวเลขจากไตรมาส 1/68)

  • อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย : +3.1%
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ : 258,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 304% ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
  • หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศ : 35.4% ต่อจีดีพี
  • หนี้เสียในระบบแบงก์ : 2.90% ต่อสินเชื่อรวม
  • สถานการณ์ค่าเงินบาท : เงินบาทแข็งค่า 5% เพราะดอลลาร์อ่อนตัวจากราคาทองคำโลกที่ปรับขึ้น และมีความผันผวนสูงกว่าช่วงปกติ

สะท้อนให้เห็นว่าแม้การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัว แต่นับว่ามีการปรับตัวที่ดีขึ้นจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เป็นบทเรียนใหญ่ด้านการเงินของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุอีกว่า โจทย์เศรษฐกิจในปี 2568 มี 3 เรื่องที่ต้องจับตามองต่อไป คือ

  • ความกังวลต่อทิศทางแข็งค่าของเงินบาท แม้ความผันผวนของเงินบาทปี 2568 จะน้อยกว่าช่วงปี 2540
  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยชะลอตัว จากผลของ Tariffs สหรัฐฯ เศรษฐกิจโลกที่เสี่ยง และปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย
  • กระสุนทางการคลังเผชิญข้อจำกัดมากขึ้น

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิจัยกสิกร [1] [2]

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่

https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ย้อนรอย 28 ปี “ต้มยำกุ้ง” ถึงวันนี้ ไทยดีขึ้นแค่ไหน? กสิกร ชี้ “บาทแข็ง” ยังเป็นโจทย์ใหญ่

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : Thairath Money
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

“บัตรเดบิต ออมสิน อุ่นใจ” กับเงื่อนไขที่ไม่เหมือนเดิม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ติดหนี้หมื่นล้าน ลงทุนจนหมดตัว ถอดบทเรียน ผู้เล่น Squid Game ชีวิตจริง “ไม่มีแผนการเงิน = ตกรอบ”

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

2025 ปีแห่งการรีเซ็ตองค์กร AI กลืนงานหายแล้วเกือบแสนตำแหน่ง บิ๊กเทคปรับโครงสร้าง ปลดคนระนาว

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Perfect Storm 3 ลูก ซัดเศรษฐกิจไทย ท่องเที่ยว - ส่งออก - ลงทุนทรุด KKP แนะลงทุนต่างประเทศ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

อัลลูมิเนียมลูป โชว์ความสำเร็จรีไซเคิลทะลุ 1,300 ล.กระป๋อง ดัน Closed Loop สู่มาตรฐานใหม่ หนุน EPR จัดการบรรจุภัณฑ์ไทย

Manager Online

ThaiBMA หั่นเป้ายอดออกหุ้นกู้ปี 68 เหลือ 8 แสนล้าน ครึ่งหลังยังน่ากังวล

PostToday

กูรูมองไทยมีหนาว สหรัฐปิดดีลเวียดนาม สูตรภาษี 40-20-10-0 | คุยกับบัญชา | 4 ก.ค. 68

BTimes

SACIT ลุยเฟ้นงานศิลปหัตถกรรมไทย การันตีคุณภาพโกอินเตอร์

เดลินิวส์
วิดีโอ

พิชัย เผย ยังเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ไม่เป็นผล จะนำฟีคแบ็ก มาทำข้อเสนอใหม่

BRIGHTTV.CO.TH

SCGCลั่นรง.LSPเดินเครื่องผลิตอีกครั้งปลายส.ค.-ก.ย.นี้

Manager Online

"พิชัย" รับเจรจาปิดดิวภาษีสหรัฐฯยังไม่สำเร็จ ยังยึดมั่นหลัก Win-Win

สยามรัฐ

"พิชัย" เผย เจรจาภาษีสหรัฐฯ ฟีดแบคดี แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องทำข้อเสนอเพิ่ม ยืนยันข้อตกลงต้อง Win-Win

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...