โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ฉีดสารกัมมันตรังสีผ่านหลอดเลือดแดง ทางเลือกใหม่รักษา มะเร็งตับ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"มะเร็งตับ" ปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย พบบ่อยเป็นลำดับที่ 1 ในเพศชาย และลำดับที่ 5 ในเพศหญิงเกิดจากภาวะตับแข็งด้วยสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบ แอลกอฮอล์เรื้อรัง ไขมันพอกตับเรื้อรังและปัจจัยอื่น

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันทางเลือกในการรักษามะเร็งตับมีหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้ป่วย สภาวะการทำงานของตับและลักษณะของตัวโรคซึ่งการรักษาทางเลือกหลักที่มีโอกาสหายขาดสูงสุด คือ การผ่าตัด แต่ข้อจำกัดการผ่าตัดมีหลายอย่าง ทั้งสภาวะร่างกายผู้ป่วยและปริมาตรของตับที่เหลือหลังการผ่าตัด

การรักษาเฉพาะที่ (Locoregional treatment) เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยที่สภาวะโดยรวมไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด โดยอาจเป็นทางเลือกเพื่อการรักษาที่หายขาด (Curative treatment) หรือการรักษาเสริมเพื่อการเตรียมความพร้อมในการรักษาวิธีอื่น ๆ ต่อ (Adjunct treatment or bridging treatment)

หนึ่งในวิธีการรักษาใหม่สำหรับมะเร็งตับ คือ การรักษามะเร็งตับด้วยวิธีการฉีดสารกัมมันตรังสีผ่านทางหลอดเลือดแดง (Transarterial Radioembolization - TARE)

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์

เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า วิธีการฉีดสารกัมมันตรังสีผ่านทางหลอดเลือดแดง (Transarterial Radioembolization - TARE) เป็นการฉีดสารกัมมันตรังสี Yttrium-90 microsphere (Y-90) ผ่านทางหลอดเลือดแดงของตับที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งซึ่งสารกัมมันตรังสีจะทำลายเนื้องอกระยะใกล้ภายในร่างกายผู้ป่วย การรักษาวิธีนี้เข้ามาเป็นส่วนช่วยในเพิ่มโอกาสการเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย โดยเป็นการทำลายเนื้องอกเฉพาะที่

อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาตรตับในส่วนที่ดีให้โตขึ้นทางอ้อม ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หลังการรักษาที่ระยะเวลา 3-6 เดือน Y-90 TARE มีบทบาทในแนวทางการรักษามะเร็งตับระดับนานาชาติ เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับที่ผ่าตัดไม่ได้ โดยถูกแนะนำให้เลือกใช้กับผู้ป่วยที่มีก้อนขนาดใหญ่ การกระจายตัวของก้อนหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยที่มีโอกาสรับการผ่าตัดได้ หากสามารถควบคุมการแพร่กระจายของก้อนได้และมีปริมาตรของตับหลังการผ่าตัดเพียงพอ หรือผู้ป่วยที่เนื้องอกขนาดเล็กแต่ไม่สามารถรับการรักษาวิธีอื่นได้ เป็นต้น

เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

แพทย์หญิงอรรถพร อจลเสรีวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการกลุ่มงานรังสีวินิจฉัยและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประสบการณ์การรักษาโดยการใช้สารกัมมันตรังสีในประเทศไทยพบว่า สามารถเพิ่มโอกาสการรักษาให้กับผู้ป่วยในกลุ่มที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยสามารถลดระยะของโรค (Down staging) ให้กับผู้ป่วยได้ 50% และทำให้ผู้ป่วยที่เบื้องต้นไม่สามารถรับการรักษาผ่าตัดได้ สามารถรับการผ่าตัดได้ 33%

ข้อจำกัดที่สำคัญของ Y-90 TARE คือมีราคาสูง และมีความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษา โดยก่อนการรักษาแพทย์จะต้องฉีดสีประเมินการกระจายของอนุภาคอย่างละเอียดเพื่อประเมินกายวิภาคของก้อนเนื้องอก คำนวณปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษา และประเมินอวัยวะที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจากสารกัมมันตรังสี

ทางทีมสหสาขาวิชาชีพในการรักษามะเร็งตับของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เล็งเห็นประโยชน์และความจำเป็นของการรักษาด้วย TARE จึงมีการพัฒนาทักษะของบุคลากร ปรับปรุงความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการให้บริการ TARE ให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

แผน “จักรพงษ์ภูวนาถ” คืออะไร หลังกองทัพไทยสั่งใช้ตอบโต้กัมพูชา

41 นาทีที่แล้ว

พรรคเพื่อไทย ประณามเหตุลอบวางทุ่นระเบิดช่องอานม้า ชายแดนไทย-กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดรายชื่อ 5 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บเหตุเหยียบกับระเบิดล่าสุด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นกแอร์ เหลือหนี้ 400 ล้าน ตั้งเป้าออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ กลางปี 2571

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

รักษาหลุมสิวใช้เวลานานไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

new18
วิดีโอ

เตือนสายไดเอต! เด็กสาววัย 16 เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังใช้วิธีลดน้ำหนักสุดโหด

WeR NEWS

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันร้ายไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีโรคเพียบ

Amarin TV

ครีมกันแดด Chemical VS Mineral: ดูดซับ VS สะท้อน รังสียูวี จริงหรือ !?

Amarin TV

ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

BT Beartai

สุ่มตรวจเวชระเบียน ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดการรักษาเกินจำเป็น

ฐานเศรษฐกิจ

CIB ผนึก อย. บุกลาดกระบังทลายโกดังสินค้าจีน พบของใช้ในครัวเรือน - เครื่องสำอางเถื่อนเพียบ

ฐานเศรษฐกิจ

Tighter bird flu screening of people coming to Thailand from infected areas

Thai PBS World

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...