โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ปฏิกรรมสงคราม “3 ล้านฟรังก์” ที่สยามจ่ายให้ฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 คือเงินกี่บาท?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา
เรือรบฝรั่งเศสขณะมุ่งสู่ปากน้ำเจ้าพระยาพร้อมเล็งปืนใหญ่เข้าหาพระสมุทรเจดีย์ (ภาพจากหนังสือพิมพ์ Le Petit Parisien)

เงิน 3 ล้านฟรังก์ ค่าปฏิกรรมสงครามแลกอิสรภาพไทยในห้วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ครั้งแผ่นดินรัชกาลที่ 5 คิดเป็น “เงินบาท” จำนวนเท่าไหร่ ?

รัตนโกสินทร์ศก 112 (ร.ศ. 112) หรือ พ.ศ. 2436 เรือรบฝรั่งเศสลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำสี่พระยา หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการให้สยามสละสิทธิความเป็นเจ้าอธิราชเหนือแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่รัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศส

นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้สยามจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงินหลายล้านฟรังก์ จากข้อกล่าวหาที่ว่าสยามเปิดฉากยิงพวกเขาอย่างอุกอาจ ขณะที่ “เรือปืน” ของฝรั่งเศสล่องเข้ามาในลำน้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรณีความขัดแย้งก่อนหน้านั้น คือ เหตุปะทะกันที่เมืองคำม่วน ริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสสังเวยชีวิตไป 12 คน (ทหารไทยตาย 6 คน)

ข้อเรียกร้องทั้งหมดของฝรั่งเศส ไกรฤกษ์ นานาเสนอไว้ในบทความ “‘เงินถุงแดง’ อิสรภาพไทยแลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส”(ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม 2546) ชี้ให้เห็นถึงความเอารัดเอาเปรียบที่ฝรั่งเศสกระทำในห้วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 และนี่คือ “คำขาด 6 ข้อ” ที่ ม. ปาวีทูตฝรั่งเศส แจ้งแก่รัฐบาลสยาม

1. ยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส

2. ถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงภายใน 1 เดือน

3. ต้องทำความพอใจให้กับฝรั่งเศสกรณีทุ่งเชียงคำและคำม่วน (คดีพระยอดเมืองขวาง) และกรณีที่สยามโจมตีเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำ

4. ต้องลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่ทำผิดตามข้อ 3 และจ่ายเงินให้กับครอบครัวของผู้เสียหายในข้อ 3

5. ค่าเสียหายนี้ให้จ่ายเป็นเงิน 2,000,000 ฟรังก์ เป็นค่าปรับไหมในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชนชาติฝรั่งเศส

6. ให้จ่ายเงิน (อีก) 3,000,000 ฟรังก์ โดยให้ชำระเป็นเงินเหรียญโดยทันที เป็นมัดจำชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ และเงินค่าทำขวัญในข้อ 4 และ 5 หรือถ้าไม่สามารถ ก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองพระตะบองและเสียมราฐ

ทั้งหมดนี้ขีดเส้นตายให้สยามยอมรับข้อตกลงอย่างไม่มีเงื่อนไขภายใน 48 ชั่วโมง

ราชสำนักสยามอยู่ในสภาวะอลหม่านทันที แต่ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ทรงตัดสินพระราชหฤทัยว่าจะจ่ายให้ฝรั่งเศส เพื่อยุติความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่า เพราะหากความตึงเครียดนั้นลุกลามบานปลายกลายเป็นสงคราม นั่นอาจหมายถึงการสิ้นชาติสิ้นแผ่นดินเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ไม่รู้ราชสำนักสยามไปเล่นแร่แปรธาตุอย่างไร เพราะสุดท้ายกลายเป็นว่าเราต้องชำระ “เงินมัดจำ” ในข้อ 6 เพียง 1 ล้านฟรังก์ (เดิม 3 ล้านฟรังก์) เมื่อรวมกับค่าปรับไหมในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (ข้อ 5) จึงรวมเป็นเงิน “ไถ่บ้านไถ่เมือง” 3 ล้านฟรังก์ที่ต้องชำระทันที

ไกรฤกษ์ เผยว่า เงินที่สยามจ่ายให้ฝรั่งเศสปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส LE MONDE ILLUSTRE ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436) ระบุว่า สยามจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็น “เหรียญเม็กซิกันรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 801,282 เหรียญ หรือคิดเป็นน้ำหนักอยู่ที่ 23 ตัน…”

อัตราแลกเปลี่ยนในเวลานั้น 3 เหรียญเม็กซิกัน (บางแหล่งเรียก เหรียญนก, เหรียญนกเม็กซิกัน) เท่ากับ 5 บาท (48 เหรียญเม็กซิกัน เท่ากับ เงินไทย 1 ชั่ง) และ 1 เหรียญเม็กซิกัน เท่ากับเงินฝรั่งเศส 3.20 ฟรังก์

ดั้งนั้น เหรียญเม็กซิกัน 801,282 เหรียญ จึงมีค่าเท่ากับเงินฝรั่งเศส 2,564,102 ฟรังก์

ส่วนเงินอีก 5 แสนฟรังก์ เข้าใจว่า รัฐบาลสยามจ่ายเป็นเช็คส่งตามไปไซ่ง่อน ที่ทำการรัฐบาลอินโดจีนของฝรั่งเศส เพราะท้ายที่สุดจะเห็นว่าฝรั่งเศส “ยอมรับ” สิ่งที่สยามชดใช้ให้ในเบื้องต้น

คำถามคือ จำนวนเงิน 3,000,000 ฟรังก์ ที่เราจ่ายไปในคราวนั้น แปลงเป็นเงินไทยได้กี่บาท ?

ไกรฤกษ์ ชี้ว่า “โชคดีที่ยังพอมีการยืนยันในเอกสารทางการไทยว่า สมเด็จฯ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูลพระปิยมหาราช ว่าได้จ่ายเงินให้ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2346 คิดเป็นเงินไทยรวม 1,605,235 บาท กับอีก 2 อัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงบันทึกไว้ในหนังสือชื่อเจ้าชีวิตว่า ‘ไทยยอมเสียค่าปรับเป็นเงิน 3,000,000 ฟรังก์เหรียญทอง’ (เท่ากับราว 1,560,000 บาทในสมัยนั้น)”

จึงอนุมานได้ว่า เงิน 3,000,000 ฟรังก์ ที่จ่ายไปในสมัยนั้น ควรจะมีมูลค่าเป็นเงินบาทอยู่ที่ 1.6 ล้านบาทนั่นเอง

แล้ว 1.6 ล้านบาท สมัยนั้น (พ.ศ. 2436) เยอะแค่ไหนหากเทียบกับปัจจุบัน ? ขอเทียบคร่าว ๆ กับราคาข้าวเปลือกต่อเกวียน (ตัน) ที่ซื้อขายกันในกรุงเทพฯ ยุคนั้น จากหนังสือ ดรุโณวาท(ตีพิมพ์ พ.ศ. 2417) ซึ่งระบุว่า

“…ข้าวเปลือกนาเมืองราคาเกวียนละ 26 บาท ข้าวเปลือกนาสวนที่หนึ่งเกวียนละ 42 บาท, ข้าวเปลือกนาสวนที่ 2 เกวียนละ 38 บาท, ข้าวเปลือกนาปักที่หนึ่งเกวียนละ 35 บาท, ข้าวเปลือกนาปักที่สองเกวียนละ 33 บาท, ข้าวเปลือกนาปักที่สามเกวียนละ 32 บาท, ข้าวสารนาสวนที่หนึ่งเกวียนละ 77 บาท, ข้าวสารนาสวนที่สองเกวียนละ 75 บาท…”

ทั้งนี้ ปัจจุบันข้าวเปลือก 1 ตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 7,000-8,000 บาทแล้ว

หรือหนังสือ กรุงเทพฯ เมื่อวันวาน(พี. วาทิน พับลิเคชั่น จำกัด : 2525) เล่าว่า สมัยรัชกาลที่ 5 “ควายดี (ควายเมืองกรุง) ตัวละ 40 บาท ควายลูกเขมรหรือควายตะวันออกตัวละ 30 บาท”ส่วนทุกวันนี้ ควายโตเต็มวัย (สูง 1.3-1.5 เมตร) ในตลาดซื้อขายตามต่างจังหวัดอยู่ที่ราคาราว 25,000-30,000 บาทเข้าไปแล้ว

ดังนั้น เงิน 1.6 ล้านบาท ที่ไทย “ยอมจ่าย” อย่างเสียมิได้ให้ฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ย่อมมีมูลค่าสูงกว่าตัวเลขที่เรามองจากปัจจุบันมากมายนัก

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

https://www.silpa-mag.com/history/article_10723

https://www.silpa-mag.com/history/article_80574

https://www.silpa-mag.com/history/article_80521

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 พฤษภาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ปฏิกรรมสงคราม “3 ล้านฟรังก์” ที่สยามจ่ายให้ฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 คือเงินกี่บาท?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

ทำไมต้องโยนไม้ขีดไฟให้เสือสมิง

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระนเรศวร ตีละแวกแล้วทำ “พิธีปฐมกรรม”...นำ “เลือดศัตรูล้างพระบาท” จริงหรือ?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เปิดข้อมูล พระราชาคณะ พ้นสมณศักดิ์ ต้องส่งคืน พัดยศ หลังลาสิกขา พัวพันสีกา ก.

MATICHON ONLINE

อิ๊งค์ เผย ข่าวดี ยูเนสโก บรรจุ พระปราง วัดอรุณฯ ในรายชื่อ จ่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก

MATICHON ONLINE

5 วิธีเลือกซื้อน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil) และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed Oil) ให้ได้ของดีจริง

THE POINT

7 THINGS WE LOVE ABOUT SCANDINAVIAN BRANDS เสน่ห์แบบนอร์ดิกที่ครองใจคอแฟชั่นทั่วโลก

THE STANDARD

แม่ครัวบอกเอง วิธีเก็บผักได้เป็นเดือน แช่แข็งหรือแช่เย็น แบบไหนดีกว่ากัน

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

Lorde เคยกังวลว่าโรคการกินผิดปกติจะทำให้เธอกลับมาทำเพลงไม่ได้

THE STANDARD

กฎหมายไทยกับความสามารถในการลืมอดีต: ไม่มีบทเรียน ไม่มีการเยียวยา ไม่มีอนาคต

The Momentum

มติมส. มอบ เจ้าคณะใหญ่ เรียกตัว 5 พระชั้นผู้ใหญ่ ชื่อเกี่ยวพัน สีกาก. รายงานตัวด่วน ไม่มามีโทษ

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปฏิกรรมสงคราม “3 ล้านฟรังก์” ที่สยามจ่ายให้ฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 คือเงินกี่บาท?

ศิลปวัฒนธรรม

ทำไม “พระสงฆ์ไทย” วินัยหย่อน? เหตุผลจากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ

ศิลปวัฒนธรรม

"เงินถุงแดง" อิสรภาพไทยแลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...