พลิกโฉมวงการแพทย์ เห็ดขี้ควาย ช่วยชะลอแก่ ลบภาพจำพืชสารเสพติด
ลบภาพเห็ดมอมเมา งานวิจัยจากสหรัฐชี้ พบสารในเห็ดขี้ควาย ช่วยต้านความชรา หวังพัมนาเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้น
เพจเฟซบุ๊ก “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์" โดย ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท เผยผลการศึกษาจากสหนัฐฯ พบว่า สาร ไซโลไซบิน ที่พบให้เห็ดขี้ควาย มีสรรพคุณให้การต้านความชรา ระบุว่า
เห็ดขี้ควาย ยืดชีวิต? เมื่อ “ไซโลไซบิน” กลายเป็นสารชะลอวัยในห้องแล็บ
เคยดูในหนังจีนที่ฮ่องเต้ให้ลูกน้องไปค้นหายาอายุวัฒนะเพื่อหยุดยืนชีวิตที่ยืนยาวทรงพระเจริญพระเจ้าค่ะ แต่หามีไม่
งานวิจัยล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาได้ส่งสัญญาณบางอย่าง สัญญาณที่มาจาก “เห็ดขี้ควาย”
ใครจะคิดว่า “เห็ดเมา” ที่มักขึ้นตามพื้นดินชื้น ๆ ริมคอกวัว จะกลายเป็นประเด็นสำคัญในวงการเวชศาสตร์ชะลอวัย งานวิจัยจาก Baylor College of Medicine และ Emory University เพิ่งเปิดเผยว่า “ไซโลไซบิน” (psilocybin) สารที่อยู่ในเห็ดขี้ควายและเห็ดหลอนประสาทชนิดอื่น ๆ สามารถยืดอายุเซลล์มนุษย์ในห้องทดลองได้นานขึ้นถึง 57%
ทีมนักวิจัยพบว่าไซโลไซบินไปกระตุ้น SIRT1 ซึ่งเป็นโปรตีนเกี่ยวข้องกับกลไกการมีอายุยืน และช่วยปกป้อง "เทโลเมียร์" ปลายโครโมโซมที่เปรียบเสมือน “ฝาครอบรองเท้า” ของ DNA ไม่ให้สึกกร่อนก่อนวัยอันควร
และเมื่อทดลองกับหนูสูงวัย (ซึ่งอายุเทียบเท่ามนุษย์ราว 60 ปี) หนูที่ได้รับไซโลไซบินเดือนละครั้งมีอัตรารอดชีวิตมากขึ้นถึง 30% และที่น่าสนใจคือ หนูเหล่านั้น “ขนไม่หงอก” ขนแน่น และดูสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่วงการชีววิทยากล่าวถึงเห็ดขี้ควายในฐานะ “สารต่อต้านความชรา” มากกว่าจะเป็น “ยาเสพติดให้โทษ”
เห็ดแห่งชีวิต หรือสารเสพติดกันหนอ
แม้จะมีข้อมูลเชิงบวกในระดับห้องแล็บ แต่ข้อควรระวังก็มีอยู่ไม่น้อย
1. ไซโลไซบินยังไม่ผ่านการทดลองในมนุษย์ กลไกในร่างกายมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่าหนูทดลองหลายเท่า ผลที่ได้ในห้องทดลองจึงไม่ควรรีบตีความเป็นความจริงเชิงคลินิก
2. สารนี้มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท อาจก่อให้เกิดอาการหลอน วิตกกังวล หรือภาวะจิตสับสนในบางราย โดยเฉพาะหากใช้โดยไม่มีการควบคุมทางการแพทย์
3. ไซโลไซบินยังเป็นสารเสพติดผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย
ที่น่าสนใจ เราอาจต้องตั้งคำถามเชิงปรัชญาด้วยว่า รากำลัง “ยืดชีวิต” เพื่ออะไร?
ถ้าอายุยืนขึ้น แต่คุณภาพชีวิตตกต่ำ สุขภาพจิตแย่ ความสัมพันธ์เลือนหาย การมีชีวิตนานขึ้นจะยังมีความหมายอยู่ไหม?
จากเห็ดขี้ควายสู่ยายืดอายุ
แม้เห็ดขี้ควายจะถูกตีตราว่าเป็น “ยาเมา” หรือ “ของผิดกฎหมาย” ในบริบทวัฒนธรรมไทย แต่โลกตะวันตกกำลังมองใหม่ว่าสารหลอนประสาทเหล่านี้อาจมีศักยภาพที่มากกว่าที่เคยเข้าใจ ไม่ใช่เพียงในมิติของจิตวิทยา แต่รวมถึงชีววิทยาแห่งอายุขัยด้วย
หากการศึกษาในมนุษย์ยืนยันผลของไซโลไซบินในอนาคต เราอาจต้องนิยาม “ยาอายุวัฒนะ” กันใหม่ ไม่ใช่จากสมุนไพรโบราณ แต่จากเห็ดที่มนุษย์เคยกลัวแล้ว แฮะ
แต่ๆ อย่าเพิ่งไปหสเห็ดเมามากินนะฮะ หลอนไม่รู้ด้วย นี่เพิ่งเริ่มวิจัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นักวิทยาศาสตร์จีนเผยผลวิจัยดินและหินจากดวงจันทร์ด้านไกล
- นักวิจัยพบ ดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้พูดภาษาอังกฤษได้คล่องขึ้น
- กิน “แมลง” อาจดีต่อโลก แต่ไม่ดีต่อใจ งานวิจัยชี้ชัด คนฝั่งตะวันตกยังรู้สึกแขยง
- สารในเห็ดขี้ควาย อาจช่วยให้นักดื่ม “ลด” การดื่มลงได้ !?
- เตือนระวัง! สารเสพติดพันธุ์ใหม่ ล่อใจเยาวชน ปรับโฉมใหม่ วางขายโจ่งแจ้งในออนไลน์