โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

"ศาลรัฐธรรมนูญ" มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ฟัน "กกต." จัดเลือก "สว. ไม่สุจริต" ปล่อย "ภูมิใจไทย" ครอบงำ

สยามรัฐ

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2568 ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับพิจารณาคดีที่นางภัทรสุภางค์ เฉลิมนนท์ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ซึ่งกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. (ผู้ถูกร้องที่ 1) จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

เนื่องจากพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 4) กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 5) สมาชิกสังกัดพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 6 ถึงผู้ถูกร้องที่ 16) ร่วมกันวางแผนครอบงำกระบวนการเลือก สว. โดยมิชอบไว้ตั้งแต่แรก

เมื่อพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสงสัยว่าการเลือกสว.มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เลขาธิการกกต. (ผู้ถูกร้องที่ 2) มิได้สั่งการให้ดำเนินการใดๆ ส่งผลให้สว. 138 คน (ผู้ถูกร้องที่ 3) ได้รับเลือกเป็นสว. ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 113 และมาตรา 224

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดการเลือก สว.ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากละเลยต่อหน้าที่โดยปล่อยให้ผู้ถูกร้องที่ 4 ถึงผู้ถูกร้องที่ 16 ร่วมกันกระทำการครอบงำกระบวนการเลือกสว. ส่งผลให้ผู้ถูกร้องที่ 3 ได้รับเลือกเป็นสว. ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 และมาตรา 224

ซึ่งการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 และมาตรา 47

แม้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลอื่นได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม

ส่วนกรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้การเลือกสว.เป็นโมฆะนั้น เห็นว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. พ.ศ. 2561 กำหนดกระบวนการยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลฎีกา หรือกกต.ไว้แล้ว ตามมาตรา 44 และมาตรา 64 เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2)

ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้อง ดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

เตรียมฟินจิกหมอน! ศุกร์นี้ "ภูม" สารภาพรัก "พี่เซ้นต์" ใน "หวานใจผู้ใหญ่จอม" EP.10

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ทักษิณ” ลั่นไม่มีเปลี่ยนตัวนายกฯ รัฐบาลต้องทำงานต่อเนื่อง โอด“อิ๊งค์”โดนพักงานเรื่องเฮงซวย พร้อมขออาสาเป็นเสมียน ปท.

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่ขำแล้ว! Comeback ล่าสุดของ ATLAS ทำ 7 หนุ่มอารมณ์ดี กลายเป็น "ตัวอะไร!?" ในความสัมพันธ์

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

น้ำตาตก! สาวใหญ่พ้นโทษกลับบ้าน พบอดีตสามีขายบ้าน-สวนทุเรียน 5 ไร่ เชิดเงิน 3 ล้านหนี

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม