‘พิพัฒน์’เตือนศก.ไทยกำลังเจอศึกหนัก อย่าปล่อยให้วิกฤติสูญเปล่า
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดเสวนาโต๊ะกรม "Roundtable: The Art of (Re)Deal” ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ “ศึกที่ค่อนข้างหนักหนา” และไม่ควร “waste a useful crisis”หรือปล่อยให้วิกฤตครั้งนี้ผ่านไปโดยไม่ได้ใช้เป็นโอกาสนี้ในการปรับตัวให้ได้ เพราะศึกครั้งนี้มาแน่นอน
และหากดูการวางโครงสร้างซัพพลายเชนของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราการวางโครงสร้างซัพพลายเชนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย บน globalization หรืออยู่บนพื้นฐานของโลกาภิวัตน์ โดยไทยได้ผนวกตัวเองเข้าไปอยู่ใน global supply chain หรือห่วงโซ่อุปทานโลก และอยู่ในกฎเกณฑ์ของโลก
เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) รวมถึงหลักการ MFN Most Favored Nationที่มีหลักปฏิบัติเท่าเทียมภายใต้สมาชิก WTO เว้นแต่ในกรณีของข้อตกลงการค้าเสรี FTA
แต่ครั้งนี้ “โดนัลด์ ทรัมป์” กำลังเปลี่ยนแปลงหลักการนี้อย่างสิ้นเชิง มาเป็น preferential treatment คือให้ความสำคัญสหรัฐเป็นพิเศษ สหรัฐต้องมาก่อน ไม่เช่นกันอาจโดนผลกระทบ ซึ่งครั้งนี้สหรัฐมีข้อเรียกร้อง สามประการ
1. การเปิดอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการลดอัตราภาษี ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (non-tariff barriers) และปรับปรุงพิธีการศุลกากรต่างๆ
2. การย้ายฐานการผลิตไปลงทุนในสหรัฐ
3. ประเด็นเรื่อง Transshipment ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
ฉะนั้น เป้าหมายหลักของสหรัฐจากการขู่ใช้มาตรการภาษีเหล่านี้ คือต้องการ disrupt ตัวซัพพลายเชนของทั้งภูมิภาค หรือการรบกวนห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคทั้งหมด
โดยมีจีนเป็นเป้าหมายสำคัญ สหรัฐกำลังบีบให้ประเทศต่างๆ รวมถึงไทย ต้องเผชิญกับ trade-off ในประเทศ หรือการตัดสินใจเลือกในหลายมิติ ทั้งให้เราเลือกระหว่างภาคอุตสาหกรรม และเกษตรและบริการ ที่อยากให้ไทยเปิดตลาดมากขึ้น
ดังนั้น อุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากสหรัฐ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย ข้อมูลระบุว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว สหรัฐ เป็นเพียง 10% ของการส่งออกของไทย แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 18% การเติบโตนี้อาจมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการแข่งขันของไทยเอง หรืออาจมีประเด็นเรื่อง transshipment และการสวมสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แต่โดยรวมสหรัฐถือเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ทั้ง อิเล็กทรอนิกส์, เซมิคอนดักเตอร์, ปิโตรเคมี, ยาง, จิวเวลรี่, และอาหาร ฯลฯ
ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ใหญ่ ดังนั้นประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าไทยได้รับผลกระทบเท่าใด แต่อยู่ที่ว่าไทยได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับคู่แข่งของเรา ที่วันนี้ส่วนใหญ่มีอัตราภาษีต่ำกว่าไทย ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม value-added ต่างๆได้รับผลกระทบแน่นอน
นอกจากผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแล้ว การลงทุนก็ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน อาจเกิดคำถามว่า ทําไมเขาต้องมาอยู่ในเมืองไทย ในวันที่ความไม่แน่นอนหรือ uncertainty เต็มไปหมดซึ่งการใช้ uncertainty หรือความไม่แน่นอน เป็น "เครื่องมือ" ในการเจรจาของทรัมป์
หากไม่มีการตกลงอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างจะยังคง “up in the air” หรืออยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนตลอดไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความสามารถในการการเดินฐานของการลงทุนมากกว่าความสามารถในการแข่งขัน สิ่งนี้จะกระทบภาพระยะยาวแน่นอน ดังนั้น หากไทยไม่สามารถเจรจาได้ เหนื่อยแน่นอน
ไทยกำลังถูกบังคับให้เลือกระหว่างสองทางเลือกที่สำคัญ
ทั้ง ภาคอุตสาหกรรมกับการลงทุน ภาคเกษตรและบริการ เพื่อให้ไทยเปิดตลาด ดังนั้นเราควรใช้โอกาสจากวิกฤตสถานการณ์นี้อาจถูกใช้เป็น โอกาสที่ดีในการเปิดเสรีภาคเกษตรอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดเสรีภาคบริการอย่างเป็นค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและลดผลกระทบ
เพราะหากความท้าทายหลังจากนี้จะเพิ่มขึ้น จากการเปิดเสรีภาคเกษตร หากไทยต้องเปิดเสรีภาคเกษตร จะต้องมี กลไกในการชดเชย และ กลไกในการบรรเทาผลกระทบ เพราะการเปิดเสรี โดนแน่นอน
เนื่องจากในหลายอุตสาหกรรม เกษตรกรรมไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในด้าน และแม้ว่าภาคเกษตรอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม แต่จํานวนแรงงานคนที่รับผลกระทบต่างกันเยอะมากทำให้การตัดสินใจนี้ยิ่งซับซ้อน
ดังนั้นวันนี้ไทยกำลังถูกให้เลือกระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทยและเป็นผู้ซื้อที่ใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นการตัดสินใจนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และมีนัยสำคัญในมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ geopolitics และภูมิเศรษฐศาสตร์ ที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคและรวมถึงประเทศไทย
นอกจากนี้ในประเด็นเรื่อง transshipment นั้นสหรัฐอาจใช้คำว่า "regional value content (RVC)" มากกว่า domestic value added มูลค่าเพิ่มที่เกิดในประเทศ มีการพูดถึงตัวเลข RVC
เช่น 60% คำถามคือ หากสินค้ามี privactive ของจีน หรือส่วนประกอบจากจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง จะนับอย่างไร ซึ่งไม่ใช่แค่การสวมสิทธิ์ ที่หมายถึงมูลค่าสินค้า 80-90% มาจากจีนแล้วส่งออกไป แต่สหรัฐอาจบีบให้มีคอนเทนต์จากเมืองจีนน้อยกว่า 50% ซึ่งในหลายอุตสาหกรรม อาจจะทําได้ยากมาก เหล่านี้คือความท้าทายและมีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมืองไทยค่อนข้างเยอะ
ดังนั้นหากต้องเลือกข้าง คงเลือกไม่ง่าย หรือจะเก็บไว้ทั้งสองประเทศ ทั้งสหรัฐและจีน สหรัฐคงไม่ต้องการเห็นภาพนั้น ซึ่งจีนเองก็ไม่ได้นิ่งเฉย ดังนั้นก็ยืนยันว่าคงไม่สามารถเลือกทั้งสองประเทศได้
พิพัฒน์ ย้ำว่า ยอมรับว่าสถานการณ์ในปัจจุบันที่แรงกดดันที่ค่อนข้างรุนแรง ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็น “วิกฤต” หรือที่เน้นย้ำว่า “Don't waste a good crisis” ซึ่งหมายความว่า ควรหาวิธีใช้ประโยชน์จากแรงกดดันเหล่านี้
ทั้งผ่านการปรับโครงสร้าง ต้องมีการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องหาวิธีชดเชยเยียวยา
อย่างไรก็ตาม มองว่า การชดเชยเยียวยา อาจฟังดูเหมือนเป็นการชดเชยอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือจะทำอย่างไรเพื่ออัพสกิล (up-skill) คนที่อยู่ในกลุ่มแรงงานนั้นให้มากขึ้น รวมถึงรัฐบาลต้องหาช่องทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น
เพราะการใช้เงินอาจจะไม่ใช่แค่การชดเชยเยียวยาอย่างเดียวแต่ควรเน้นที่การทำอย่างไรให้เราสามารถแข่งขันได้ในระยะยาวเพราะหากเงินหมดลง การเยียวยาอาจทำได้ไม่มากนัก แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการไทยและแรงงานไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
“หากกลับไปตอน “WTO” ที่เข้ามาบังคับให้มีการเปิดเสรี ซึ่งในเวลานั้นหลายอุตสาหกรรมของไทยก็สามารถแข่งขันได้ แต่รอบนี้ยากกว่า เพราะแทนที่ทุกคนจะเปิดเสรีพร้อมๆ กัน มันกลับกลายเป็น deal based transaction ซึ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ขณะที่เราอาจไม่มีเวลาเหลือเยอะนักในการคุ้มครองอุตสาหกรรม บนความไม่แน่นอนสูง และเรายังไม่รู้ว่าจะทำอะไร ไปเยียวยากลุ่มไหน เพราะสถานการณ์ยังไม่สิ้นสุด ดังนั้นเรื่องนี้ท้าทายมาก”
ทั้งนี้ ในมุมมองของการดำเนินนโยบายการเงิน โดยเฉพาะมุมของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในบริบทของเศรษฐกิจปัจจุบันและบทบาทของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลงนั้น มองว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ ช็อกที่ค่อนข้างรุนแรง และมองว่าช็อกที่เกิดขึ้นนั้นใหญ่มาก.และแม้ ธปท. จะสื่อสารว่าไม่ได้ขัดกับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่ก็ต้องการ “เก็บกระสุน” หรือ เก็บ policy space ไว้เผื่อสำหรับสถานการณ์ช็อกที่อาจจะใหญ่กว่า
ซึ่งเขามองว่า เราไม่ควรยึดติดกับความคิดที่ว่าเหลือกระสุนในการลดดอกเบี้ยได้อีกกี่ครั้ง เช่น เหลือลดได้อีก 5 ครั้ง สิ่งที่สำคัญกว่าคือการออกแบบ policy space เพิ่มเติม และมุ่งเน้นไปที่การทำให้การลดดอกเบี้ยแต่ละครั้งมีผลที่ดีต่อเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ปัจจุบันเรายังเผชิญกับปัญหาประสิทธิภาพและการส่งผ่านนโยบายการเงิน (Effectiveness and Transmission) แม้ ธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมแต่ธนาคารพาณิชย์กลับปรับลดตามเพียง 5-7 basis point เท่านั้น และ GDP ยังคงติดลบ สะท้อนว่าการส่งผ่าน [นโยบายการเงิน] มันอาจจะมีข้อจำกัด
ดังนั้นโจทย์สำคัญที่ต้องคิดคือทำอย่างไรให้ effectiveness หรือ ประสิทธิผล ของการใช้ นโยบายการเงิน นั้นมีผลดีที่สุด
ดังนั้น ประเทศไทย ควรต้อง explore หรือสำรวจแนวทางunconventional monetary policy
ยกตัวอย่างเช่น ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ก็เริ่มใช้นโยบายเหล่านี้เมื่อประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ การพิจารณานโยบายที่แปลกใหม่นี้จะช่วยให้ประเทศไม่ติดกรอบความคิดว่าเหลือช่องว่างในการลดดอกเบี้ยเพียงแค่นี้
ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือ หากอัตราดอกเบี้ยลดลงไปจนถึงจุดที่ต่ำมาก เช่น 0.5% ยังมีนโยบายอื่นใดอีกที่ ธปท. สามารถดำเนินการได้
ซึ่งการดำเนินนโยบายเหล่านี้มองว่า ไม่ใช่เพียงแค่ ธปท. เท่านั้น แต่อาจจะเป็นภาครัฐเข้ามาเสิรมได้ เพื่อแก้ไขปัญหา
แต่ประเด็นที่น่าห่วงวันนี้คือ ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ เพราะกังวลเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจ ดังนั้นควรปลดล็อกการส่งผ่านนโยบายการเงินลงไปให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด