โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นวัตกรรมใหม่ e-tattoo รอยสักแจ้งเตือนเมื่อสมองทำงานหนักเกินไป

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

นวัตกรรมใหม่คอยเตือนไม่ให้ทำงานหนัก! ตัวช่วยหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าจากการทำงานที่ไม่สมดุล ด้วย "รอยสักอัจฉริยะ" หรือ e-tattoo แบบติดหน้าผาก เครื่องตรวจจับภาวะสมองล้าได้แบบเรียลไทม์ ครั้งแรกของโลกที่ช่วยคนทำงานดูแลสุขภาพใจของวัยทำงานในยุค AI ครองเมือง

ในยุคที่การทำงานหนักเป็นเรื่องปกติ และเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง การรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกลายเป็นความท้าทายใหญ่ของคนยุคใหม่ แต่จะดีแค่ไหนถ้ามีอุปกรณ์ที่ช่วยบอกได้ว่าสมองของคุณกำลังทำงานหนักเกินไปแล้วนะ? วันนี้ความฝันนั้นเป็นจริงแล้ว!

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน (UT Austin) ได้เปิดตัว "e-tattoo" หรือ รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมสุดล้ำที่สามารถติดบนหน้าผาก เพื่อตรวจจับคลื่นสมอง และวัดปริมาณงานที่สมองต้องรับผิดชอบได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้คนทำงานยุคใหม่ โดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องใช้สมาธิสูง เช่น นักบิน ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือพนักงานขับรถบรรทุก สามารถรับรู้ถึงภาวะสมองล้าได้ทันท่วงที

งานวิจัยชิ้นนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Press ชื่อ Device ถือเป็นก้าวสำคัญในการทำความเข้าใจและจัดการกับภาวะ "ภาระงานสมองมากเกินไป" (mental overload) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมปัจจุบัน

อาจารย์หนานชู ลู (Nanshu Lu) ผู้เขียนอาวุโสของงานวิจัยชิ้นนี้ เน้นย้ำว่า "เทคโนโลยีกำลังพัฒนาเร็วกว่าวิวัฒนาการของมนุษย์ ความสามารถของสมองเราอาจตามไม่ทันและอาจเกิดภาวะสมองล้าได้ง่าย" ซึ่งนับเป็นข้อควรระวังสำหรับคนทำงานยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อมูล และภาระงานมหาศาล อุปกรณ์นี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถรักษาสมดุลชีวิตและการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

เหนือกว่า EEG แบบดั้งเดิม: ราคาประหยัดและแม่นยำกว่า

รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ นี้ทำงานโดยการวิเคราะห์กิจกรรมของสมองผ่าน คลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram, EEG) และการเคลื่อนไหวของดวงตาผ่าน คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อตา (electrooculogram, EOG) โดยใช้เซ็นเซอร์ที่บางเฉียบและยืดหยุ่น ซึ่งติดกับผิวได้อย่างสบายผิว ..ที่สำคัญคือมันแตกต่างจากหมวก EEG แบบดั้งเดิมที่เทอะทะและมีราคาสูงมาก

โดย e-tattoo นี้ มีขนาดเล็กกะทัดรัด ยืดหยุ่น และมีราคาที่เข้าถึงได้ เพียงประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชุดอุปกรณ์ครบชุด ซึ่งรวมแบตเตอรี่และชิปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนเซ็นเซอร์แบบใช้แล้วทิ้งแต่ละชิ้นมีราคาเพียงประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น

ที่มาภาพ: Device/Huh et al

"สิ่งที่น่าประหลาดใจคือหมวก EEG แบบเก่า แม้จะมีเซ็นเซอร์มากกว่าสำหรับส่วนต่างๆ ของสมอง แต่สัญญาณที่ได้มักไม่สมบูรณ์แบบ เพราะรูปทรงศีรษะแต่ละคนไม่เหมือนกัน" อาจารย์ลู อธิบายเพิ่มเติมถึงข้อได้เปรียบของนวัตกรรมนี้

"แต่ e-tattoo มีจุดเด่นกว่าคือ สามารถวัดลักษณะใบหน้าของผู้เข้าร่วม เพื่อผลิตรอยสักอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับแต่งเฉพาะบุคคล ทำให้มั่นใจได้ว่าเซ็นเซอร์จะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอและรับสัญญาณได้อย่างแม่นยำ" นี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การวัดผลมีความน่าเชื่อถือและเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ในการทดสอบเบื้องต้น อาสาสมัคร 6 คนได้สวมรอยสักนี้ขณะทำภารกิจด้านความจำที่มีความยากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอุปกรณ์ก็สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบคลื่นสมองได้อย่างแม่นยำ โดยพบว่า คลื่นธีต้า (theta) และ เดลต้า (delta) บ่งชี้ถึงปริมาณงานที่สมองต้องรับผิดชอบ มีระดับเพิ่มขึ้น ในขณะที่การทำงานของ คลื่นอัลฟ่า (alpha) และ เบต้า (beta) เป็นสัญญาณของความล้านั้นลดลง

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ฝึก โมเดลแมชชีนเลิร์นนิง (machine learning model) เพื่อทำนายภาวะสมองล้า ซึ่งจะปูทางไปสู่การประยุกต์ใช้ในอนาคตสำหรับการติดตามการทำงานของสมองแบบเรียลไทม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน

ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่คล้ายกันในการวัดปริมาณงานของสมองอยู่บ้าง เช่น NASA Task Load Index ซึ่งออกแบบมาเพื่อวัดปริมาณงานระหว่างทำงานหรือหลังการทำงาน แต่เครื่องมือเหล่านี้มักต้องให้ผู้ใช้กรอกแบบสอบถาม ทำให้ข้อมูลที่ได้เป็นเชิงอัตนัยและใช้เวลานาน ในทางตรงกันข้าม รอยสักอิเล็กทรอนิกส์นี้โดดเด่นด้วยการให้ข้อมูลรวดเร็วแบบเรียลไทม์ และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะช่วยให้การประเมินภาวะสมองล้าแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

แม้ตอนนี้ รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ ยังใช้งานได้เฉพาะกับผิวหนังที่ไม่มีขน แต่ทีมวิจัยกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายขีดความสามารถ เช่น การรวมเข้ากับหมึกที่สามารถทำงานบนเส้นผมได้ และเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้อุปกรณ์นี้สามารถใช้งานได้ง่ายที่บ้าน

"การที่อุปกรณ์มีราคาถูก จะทำให้เข้าถึงได้ง่าย ความปรารถนาอย่างหนึ่งของผมคือการทำให้รอยสักอิเล็กทรอนิกส์นี้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถสวมใส่ได้ที่บ้าน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพสมองของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา" อาจารย์หลุยส์ เซนติส (Luis Sentis) จาก UT Austin ผู้ร่วมวิจัยกล่าว

ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตการทำงานมากขึ้น ทีมงานเบื้องหลังรอยสักอิเล็กทรอนิกส์เชื่อว่าเครื่องมือเช่นนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสุขภาวะที่ดีของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมที่เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น

"เราติดตามสุขภาพกายของพนักงานมานานแล้ว ทั้งการบาดเจ็บและความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ แต่ตอนนี้เรามีความสามารถในการติดตามความล้าทางจิต ซึ่งยังไม่เคยมีการติดตามมาก่อน นี่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานว่าองค์กรต่างๆ จะดูแลสุขภาวะโดยรวมของพนักงานอย่างไร" อาจารย์เซนติส ย้ำถึงความสำคัญของงานวิจัย

รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นนวัตกรรมที่น่าจับตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและคุณภาพชีวิตของคนทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง การมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจและจัดการกับภาวะสมองล้าได้ดีขึ้น จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และชีวิตที่มีความสุขยิ่งขึ้นในท้ายที่สุด

อ้างอิง: A wireless forehead e-tattoo, Theguardian, Newsweek

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

สหรัฐรีดภาษีอากร 'ทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์' ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

54 นาทีที่แล้ว

ถอยเพื่อตั้งหลัก? กลุ่มทุนยักษ์ยื่นซื้อ 'สตาร์บัคส์จีน'

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สหรัฐ เปิดเกมรุก วางยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงทางอาหาร ต่อยอดเก็บภาษีคู่ค้า

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

9 บริษัทจดทะเบียน ดึงคนดังสุดฮอต รับบทพรีเซนเตอร์ เสริมแกร่งแบรนด์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เจรจาภาษีทรัมป์ไม่มี Win Win

ประชาชาติธุรกิจ

ตลาดลักชัวรีที่สิงคโปร์คาดการณ์จะเติบโตขึ้น 7% ในปี 2025 แซงหน้าญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้

THE STANDARD

ถอยเพื่อตั้งหลัก? กลุ่มทุนยักษ์ยื่นซื้อ 'สตาร์บัคส์จีน'

กรุงเทพธุรกิจ
วิดีโอ

ปรับก่อนป่วย : ปรับการปรุง เปลี่ยนสุขภาพ

Thai PBS
วิดีโอ

ออกกำลังเป็นยา : ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน

Thai PBS
วิดีโอ

รู้สู้โรค : ป้องกันและรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ด้วยการปรับพฤติกรรม

Thai PBS

รัชกาลที่ 4 ทรงประกาศ “เจ้าจอมมารดา” ลาออกจากราชการไปมีผัวได้ แต่…?

ศิลปวัฒนธรรม

ผลวอลเลย์บอลหญิงไทย แพ้ โดมินิกัน 0-3 เซต VNL 2025 สัปดาห์ 3

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...