โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MOODY: “เป็นหนูหนูไม่พูดนะคะ มารยาทนิดนึง” ควรรับมืออย่างไร ในวันที่ใครบางคนพูดจาหยาบคาย ด้วยอารมณ์รุนแรงใส่เรา

BrandThink

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

เป็นคุณจะทำอย่างไร หากเจอคนมาพูดจาหยาบคายใส่?

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในแต่ละวันเราจะพบใครบางคนที่พูดจาไม่ดี ใส่อารมณ์ หรือปฏิบัติต่อเราอย่างหยาบคายแบบไม่เกรงใจ บางครั้งเขาอาจเป็นคนแปลกหน้าบนรถไฟฟ้า บ่อยครั้งอาจเป็นเพื่อนร่วมงานในออฟฟิศ หรือบางทีกลับเป็นคนใกล้ตัวเสียเองที่ใช้คำพูดรุนแรงใส่ แน่นอนว่าเป็นใครก็อยากโต้กลับแบบแรงมาก็แรงกลับ

เพราะพฤติกรรมหยาบคายไม่ใช่เรื่องที่เราต้องยอมรับ แต่ MOODY อยากชวนให้ทุกคนหายใจเข้าออกหนึ่งครั้ง ให้ใจเย็นลงสักหน่อย แล้วมองว่าเราไม่จำเป็นต้องตอบโต้กลับด้วยความรุนแรง เนื่องจากบางครั้งคำพูดธรรมดาๆ ที่เปล่งออกมาด้วยความสงบ ก็สามารถเขย่าความหยาบกร้านในใจใครบางคนให้เบาลงได้มากกว่าการปะทะที่รุนแรง ลองเริ่มจากประโยคง่ายๆ อย่าง

“คุณดูหงุดหงิดนะ มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า?”

“ฉันทำอะไรให้คุณไม่พอใจหรือเปล่า?”

นี่ไม่ใช่แค่คำถาม แต่คือการยื่นมือออกไปให้เขาได้สังเกตตัวเอง โดยเปลี่ยนบทสนทนาจากการชวนปะทะ มาเป็นการชวนให้หันกลับมามองข้างในของตัวเขาเอง บางทีเขาอาจแค่ต้องการใครสักคนที่สังเกตว่าวันนี้เขาไม่ปกติดีเท่าไร

แต่ถ้าคำพูดที่เราได้ยินนั้น ชัดเจนว่าก้าวข้ามเส้นความเหมาะสมไปแล้ว ลองประโยคอย่าง

“ฉันแปลกใจนะที่คุณกล้าพูดแบบนั้นออกมา”

“คุณกำลังฟังตัวเองอยู่หรือเปล่า”

การใช้วลีเหล่านี้ คือการที่เรากำลังบอกคนพูดว่าสิ่งที่พวกเขากำลังพูดนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และบางทีพวกเขาอาจต้องประเมินคำพูดของตนเองใหม่ ยังมีงานวิจัยพบว่าการเตือนผู้อื่นว่าพวกเขากำลังหยาบคายสามารถทำให้พวกเขาตระหนักว่าต้องแก้ไขพฤติกรรมของตนเอง หรือบางครั้งเราอาจไม่จำเป็นต้องเตือนเขาโดยตรง แค่ถามว่า

“ช่วยพูดอีกทีได้ไหม”

ไม่ใช่การขอซ้ำเพราะไม่ได้ยิน แต่คือการบอกว่า สิ่งที่คุณพูดออกมานั้นแรงพอจะทำให้ฉันต้องหยุด และคิดว่ามันเหมาะสมไหมที่จะพูดใส่กันแบบนี้ หรือบางครั้ง ถ้อยคำที่ดึงพลังงานลบให้กลับมาอยู่บนเส้นทางของความร่วมมือ อาจมาในรูปแบบของคำถามอย่าง

“เราจะหาทางทำให้เรื่องนี้เวิร์กสำหรับเราทั้งคู่ได้ยังไงดี?”

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเรายอมแพ้ แต่หมายความว่าเรากำลังวางขอบเขตอย่างสงบ และยื่นเชิญชวนให้อีกฝ่ายลองเลือกความร่วมมือแทนความขัดแย้ง หรือเมื่อเรารู้ว่าอีกฝ่ายแค่ต้องการมีตัวตน คำพูดง่ายๆ อย่าง

“ฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดนะ”

“ฉันดีใจที่คุณแบ่งปันมุมมองของคุณกับฉัน”

ประโยคเหล่านี้อาจเป็นสิ่งเดียวที่เขารอฟังจากใครสักคนมานานแสนนาน การได้รับการยอมรับแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้หัวใจที่แข็งทื่อ เริ่มคลายลงได้ แต่ในบางครั้งหากถ้อยคำของเขารุนแรงเกินกว่าที่เราจะรับได้ ให้ลองถามคำถามอย่าง

“ฉันรู้ว่าคุณอารมณ์เสีย ลองใจเย็นๆ มีอะไรที่อยากเล่าให้ฟังไหม”

จะช่วยเปลี่ยนทิศทางของบทสนทนา โดยยังคงเปิดพื้นที่ให้เขาแสดงความรู้สึก แต่ขอให้เขาทำในแบบที่เคารพกัน และถ้าทุกอย่างยังไม่เปลี่ยนแปลงเลย การพูดว่า

“หยุดเถอะ”

ด้วยน้ำเสียงสงบและจริงใจ ก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่เพื่อควบคุมอีกฝ่าย แต่เพื่อปกป้องตัวเราเอง

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งถ้อยคำใดๆ ก็ไม่อาจเทียบเท่าพลังของ ‘ความเงียบ’ เพียงการมองเขานิ่งๆ โดยไม่พูดอะไรเลย อาจกลายเป็นกระจกบานใหญ่ที่ช่วยสะท้อนสิ่งที่เขาควรเห็นโดยที่เราไม่ต้องพูดอะไรแม้แต่คำเดียว เพราะมันเป็นการปฏิเสธความรุนแรงโดยสิ้นเชิง

และหากรู้สึกว่าความโกรธในตัวเองกำลังพุ่งขึ้น การเดินออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้น ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราเลือกที่จะเคารพตัวเองมากแค่ไหน

เราทุกคนต่างมีขอบเขต มีหัวใจ และมีพื้นที่ส่วนตัวที่ควรได้รับความเคารพ

และวิธีที่เราปกป้องสิ่งเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องแข็งกร้าว ก้าวร้าว แต่อาจใช้เพียงความสงบ มั่นคง และน้ำเสียงของมนุษย์ที่ยังอยากเชื่อในความอ่อนโยน

ในวันที่ทุกคนต้องเผชิญกับคนที่ใจร้อน หยาบคาย หรือเจ็บปวดเกินควบคุม MOODY คิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องยื่นดาบ ตั้งเกราะขึ้นมาเท่านั้น แต่สามารถพูดด้วยหัวใจที่มั่นคง สื่อสารด้วยถ้อยคำที่เคารพตัวเอง และเปิดพื้นที่ให้ความเข้าใจเข้าไปอยู่แทนที่ความรุนแรง ก็สามารถช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้เหมือนกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

SOCIETY: นานาชาติมีถ้อยแถลงต่อสถานการณ์ ระหว่างไทย-กัมพูชาอย่างไรบ้าง? หลังเหตุปะทะของวันที่ 24 กรกฎาคม 2568

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

MIND: ถ้าเด็กเล็กๆ อยู่ ‘หน้าจอ’ มากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น? แล้วพ่อแม่ควรแก้ไขอย่างไรดี

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

BIZ: อย่าลบแมว เดี๋ยวแฟนงอน Apple โชว์คุณสมบัติ Clean Up ใน iPhone 16 Pro ช่วยลบสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพได้ง่าย แต่อย่าพลาดลบสิ่งสำคัญ ไม่งั้นชีวิตอาจเปลี่ยน

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำไมถึงห้ามโจมตีโรงพยาบาลพลเรือน? รู้จัก ‘อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4’ กับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ที่กลายเป็นข้อพิพาทล่าสุดระหว่างไทย-กัมพูชา

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

โปรวันแม่มาแล้ว GO! HOTEL ร่วมกับ AIS และ Sukishi ปล่อยแพ็กเกจวันแม่โดนใจ

Manager Online

[บทความ] ทำไม Xiaomi ออกสินค้าอะไรใหม่ก็ขายดี

BT Beartai

คาร์บอนฟีเวอร์! อบก. ชี้ตลาดในไทยเติบโต แต่มีข้อจำกัด

กรุงเทพธุรกิจ

หมดยุคนอนน้อย! 9 ซีอีโอแชร์ไอเดียนอนดี กลยุทธ์ความสำเร็จระยะยาว

กรุงเทพธุรกิจ

ซอสพริกศรีราชาพานิช ชูโรงเรียนทำอาหาร 0 บาท เชื่อมโยงความยั่งยืนด้วยรสชาติ

กรุงเทพธุรกิจ

แหลมแท่นเดือด! คนไทยไม่ทน ลด “ธงชาติกัมพูชา” ต่ำเตี้ย ก่อนอันตรธานหายไปจากลานธงอาเซียน

Manager Online

พิษน้ำท่วมน่าน หวั่นภาพ “ปู่ม่าน-ย่าม่าน” แห่งวัดภูมินทร์ เสี่ยงเสียหาย

Manager Online

น้ำมาเร็วไปเร็ว! "นาตาทาคาเฟ่" คาเฟ่น่านอัพเดตภาพเทียบช่วงน้ำสูงกับช่วงน้ำลด

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...