โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ทูตอเมริกัน” สมัย ร.4 เผย เจรจากับ “สยาม” ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา
เทาเซนด์ แฮรีส (by James Bogle, 1855)

เทาเซนด์ แฮรีส ทูตสมัย ร.4 เผย เจรจากับสยาม ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่ไทย (หรือที่เรียกกันว่า “สยาม” ในสมัยนั้น) เปิดรับสัมพันธ์กับต่างชาติอย่างกว้างขวาง และเทาเซนด์ แฮรีส (Townswnd Harris) นักการทูตอเมริกันที่มีคนเอาเรื่องราวของเขาไปทำเป็นภาพยนตร์จนโด่งดัง ก็เดินทางมาในช่วงนี้ เพื่อขอเจรจาทางการค้ากับไทย

แฮรีส ไม่ใช่ผู้แทนจากสหรัฐฯ ที่เข้ามาเจรจากับไทยเป็นรายแรก เขาได้รับหน้าที่ให้มาเจรจาแก้ไข “สนธิสัญญาโรเบิร์ต” ที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2376 โดย เอ็ดมันด์ โรเบิร์ต ผู้แทนของสหรัฐฯ ในครั้งนั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้สหรัฐฯ ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับอังกฤษที่ได้รับจาก “สนธิสัญญาเบาริ่ง”

ผู้แทนสหรัฐฯ รายนี้เดินทางเข้ามาถึงสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยาในวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2399 เมื่อได้เห็นบรรยากาศบ้านเมืองไทยในสมัยนั้น เขาก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมที่เขาเคยประสบในประเทศจีน หรืออินเดีย ดังที่เขาบรรยายว่า

“2-3 ไมล์เหนือปากน้ำขึ้นมาจะเริ่มเห็นบ้านชนบทของไทย โดยทั่วไปแล้ว บ้านเหล่านี้ดูเรียบร้อยและสะอาดตามาก และดีกว่าบ้านของชาวชนบทในอินเดีย จีน และโดยเฉพาะบ้านของชาวมลายูมาก. บ้านมีเสาหลายต้น สูงเหนือพื้นดิน 6 ฟุต ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยทำให้อุณหภูมิของอากาศแห้งมากขึ้นเท่านั้น. ยังช่วยทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านปลอดภัยจากแกสกรดคาร์โบนิก หรือไข้มาเลเรีย”

แฮรีส ได้พบปะกับข้าราชการระดับสูงและเจ้านายไทยหลายพระองค์ เขาได้แสดงความชื่นชมในความสามารถของทั้งข้าราชการ และเจ้านายโดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แฮรีสมักเรียกว่า “พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง” ดังความในบันทึกของเขาที่กล่าวว่า

“ศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2399 (ภายหลังวันที่ได้เข้าเฝ้าถวายสาส์นของประธานาธิบดีอเมริกันแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ ณ ท้องพระโรงในพระบรมมหาราชวังแล้ว) เทาเซนด์ แฮรีสได้ ‘ไปพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง มีการยิงสลุด 21 นัด. บรรดาทหารของพระองค์อยู่ในระเบียบวินัยดียิ่งกว่าพวกทหารของพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่หนึ่งเสียอีก บางคนแต่งกายในแบบยุโรป มีทหารองครักษ์นำหน้าเรา และเป็นทหารที่ฝึกมาแล้วอย่างดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยเห็น ปืนใหญ่สนามที่ใช้ในการยิงสลุตก็ได้รับการดูแลรักษาอย่างงดงาม.’”

แต่เมื่อต้องพูดถึงการเจรจากับทางการไทย แฮรีส ก็เริ่มมีน้ำเสียงเปลี่ยนไป เพราะทางสยามต้องการให้สนธิสัญญากับสหรัฐฯ มีเนื้อหาบางประการแตกต่างไปจากสนธิสัญญาที่ทำกับอังกฤษ แต่ แฮรีส ยืนยันว่า ทางสหรัฐฯ จะต้องได้สิทธิโดยอาศัยสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นบรรทัดฐานเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังใช้เวลาหลายวันในการเจรจาในรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสนธิสัญญา (เช่น ถ้อยคำที่ควรใช้ในอารัมภบท) ทำให้ แฮรีส เหลืออดจนต้องระบายลงในบันทึกประจำวันว่า

“หวังว่าข้าพเจ้าจะไม่ถูกส่งมาที่นี่อีก หนทางอันถูกต้องเพื่อการเจรจากับไทย คือส่งเรือรบ 2 หรือ 3 ลำ ขนาดกินน้ำลึกไม่เกิน 16 ฟุตมา ให้เรือมาถึงในเดือนตุลาคมและแล่นขึ้นมายังกรุงเทพฯ ทันที แล้วก็ยิงสลุต. ด้วยวิธีนี้ สนธิสัญญาคงจะไม่ต้องการเวลาหลายวันมากกว่าที่ข้าพเจ้าต้องใช้เวลาหลายๆ สัปดาห์อยู่นี้”

แต่การเจรจากับไทยก็จบลงด้วยดี สิ้นเดือนพฤษภาคม แฮรีสก็เตรียมตัวเดินทางต่อไปยังญี่ปุ่น เพื่อรับตำแหน่งกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่นเป็นคนแรก ซึ่งเขาต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรองนานถึง 18 เดือน กว่าที่โชกุนจะยอมให้เขาเข้าพบ และใช้เวลาอีก 4 เดือนในการเจรจา จนบรรลุผลสำเร็จในปี 2401 ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับสหรัฐฯ ในอีก 3 ปี ถัดมา

ซึ่งในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในญี่ปุ่นนี่เอง ที่มีข่าวลือว่าเขามีสัมพันธ์กับเกอิชาวัย 17 ปี จนมีคนนำเรื่องนี้ไปทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง “The Barbarian and the Geisha” แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีมูลความจริง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

“เมืองไทยในความรู้สึกของ เทาเซนด์ แฮรีส” โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2559

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 ธันวาคม 2559

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ทูตอเมริกัน” สมัย ร.4 เผย เจรจากับ “สยาม” ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระราชานุกิจ รัชกาลที่ 5 แต่ละวันทรงทำอะไรบ้าง?

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ สามัคคีกลุ่มจีน 5 ภาษา ช่วยเหลือจีนยากไร้ในสยาม

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มหาอำนาจจีน “เรียนภาษาไทย” ไปทำไม ตั้งแต่เมื่อ 400 กว่าปีก่อน

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) โรคห่าอันแท้จริงของประเทศสยาม ระบาดทุกปีไม่มีเว้น

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เพียงเธอ Only You The Series ซีรีส์เรื่องล่าสุดของ หลิงหลิง-ออม เตรียมส่งเอพิโซดแรก 18 ก.ค. นี้

THE STANDARD

มัดรวมปัญหาทุกแง่มุมของ SHEIN แบรนด์ ‘อัลตร้าฟาสต์แฟชั่น’ ที่ทั้งทำร้ายโลก กดขี่แรงงาน เอาเปรียบผู้บริโภค แต่ยังขายดีเพราะบางคนก็ไม่แคร์

Mirror Thailand

สุดยิ่งใหญ่ “คุณกรภัค จีรถิรธนา” - “คุณศศินันท์ ซิลวา” จัดประกวด 2 เวทีใหญ่ระดับเอเชีย “WULOP Thailand and Grand PMU ASIA 2025 ” เฟ้นหาช่างสัก คิ้ว ตา ปาก สู่เวทีระดับโลก

new18

JENNIE ร่วมแคมเปญใหม่ของ Adidas ในชื่อ ‘Superstar, The Original’

THE STANDARD

Scarlett Johansson ขึ้นแท่นนักแสดงนำที่มีรายได้สูงสุด จากความสำเร็จของ Jurassic World Rebirth

THE STANDARD

‘ร่วมเฉลิมฉลองวันไหว้พระจันทร์ปีนี้ กับขนมไหว้พระจันทร์ Hong Kong Fisherman’

GM Live

รวม 10 ที่ ขอสินเชื่อถูกกฎหมาย สำหรับคนต้องการเงินด่วน

new18

ว่าด้วย เวส แอนเดอร์สัน และการทำหนังแบบ ‘เวสๆ’

Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูแนวคิดรื้อ "นครวัด" และปราสาทขอม สมัยรัชกาลที่ 4 สู่การจำลองนครวัด ตั้งที่วัดพระแก้ว

ศิลปวัฒนธรรม

“ทูตอเมริกัน” สมัย ร.4 เผย เจรจากับ “สยาม” ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา

ศิลปวัฒนธรรม

“โรงเรียนจีน” แห่งแรกในไทยอยู่ที่จังหวัดอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...