โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ลงทุนแบบไหนให้นอนหลับสบาย? ไม่ต้องร้อนใจ ในวันตลาดพลุ่งพล่าน

Finnomena

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Finnomena Funds

หลายคนมองว่าการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ คือปัจจัยเดียวในการจัดพอร์ตการลงทุน จึงจัดพอร์ตที่สามารถปรับตัวขึ้นได้เร็วจนหลงลืมไปว่าการลงทุนมีขึ้นก็ต้องมีลง ไม่มีสินทรัพย์ไหนที่สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ตลอดทางโดยไม่แวะปรับฐาน

พอร์ตการลงทุนที่ขึ้นเร็วบ่อยครั้งมักมาจากความเสี่ยงที่สูง เช่น อัดการลงทุนในสินทรัพย์ที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมหรือประเทศเดียวเพื่อหวังผลตอบแทนเต็ม Max แต่พอถึงจังหวะลง พอร์ตแบบนี้ก็จะปรับตัวลงอย่างรุนแรง เพราะไม่มีสินทรัพย์อื่น ๆ มาเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้น

การจัดพอร์ตแบบนี้อาจทำให้นักลงทุนนอนไม่หลับ กระวนกระวาย ไม่สบายใจในต้นทุนที่ใส่เข้าไปในพอร์ต ดังนั้นแล้ว การจัดพอร์ตที่มองแค่ผลตอบแทนก็อาจจะไม่พอ

นักลงทุนจำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยง หรือ Risk Management ให้กับพอร์ตการลงทุนของตัวเองด้วย

พอร์ต All Weather Strategy โดย Andrew Stotz นักวิเคราะห์การลงทุนชั้นนำ ร่วมกับ Finnomena Funds ใช้ FVMR Framework ในการวิเคราะห์การลงทุน มุ่งหวังเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ดูรายละเอียดและลองสร้างแผนได้ที่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws

2 แนวคิดเบื้องต้น ช่วยประเมินความเสี่ยงพอร์ต 1. Volatility (ความผันผวน)

ความผันผวนคือการวัดว่า ราคาของสินทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากน้อยแค่ไหนในช่วงเวลาหนึ่ง สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงอาจให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน

การเลือกสินทรัพย์ที่มีความผันผวนในระดับที่ยอมรับได้ สอดรับกับนิสัย ไลฟ์สไตล์ และความจำเป็นด้านการเงิน จะช่วยให้นักลงทุนสามารถนอนหลับได้สบายขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าพรุ่งนี้ตื่นมาพอร์ตจะร่วงไปเท่าไหร่

2. Maximum Drawdown (การขาดทุนสูงสุด)

Maximum Drawdown คือการวัดการขาดทุนสูงสุดจากจุดสูงสุดไปจุดต่ำสุดในช่วงเวลาหนึ่ง การพิจารณา Maximum Drawdown ของสินทรัพย์หรือกลยุทธ์การลงทุนจะช่วยให้เข้าใจว่า ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด เราอาจสูญเสียเงินลงทุนได้มากแค่ไหน ซึ่งถ้าสูงไปก็ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้มีความเสี่ยงที่ต่ำลง

ถ้าดูทั้ง Volatility และ Maximum Drawdown แล้วเห็นว่าพอร์ตของเรากำลังเสี่ยงไป รู้สึกว่าผลขาดทุนที่ (อาจ) เจอนั้นเกินกว่าที่เรารับไหว … ตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยให้ความเสี่ยงในการลงทุนของเราลดลงได้คือการกระจายการลงทุน หรือ Asset Allocation นั่นเอง

จัดการความเสี่ยงด้วย Asset Allocation

ในโลกการลงทุนมีภาษิตอมตะอยู่คำนึงคือ …

อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว

เวลาตะกร้าใบนึงร่วง เราก็ยังมีไข่ที่เหลือเอาไว้กินอยู่

นี่คือคำอธิบายของ Asset Allocation ได้เห็นภาพที่สุด ไม่อยากลงทุนแล้วเห็นพอร์ตติดลบหนัก ๆ ก็อย่าใส่ทุนไว้ในสินทรัพย์เดียว

  • ในระยะสั้น ถ้าสินทรัพย์นึงลง ก็อาจมีตัวอื่นปรับขึ้นมาเฉลี่ยความเสียหายเอาไว้
  • ในระยะยาว แม้สินทรัพย์จะสลับกันขึ้นบางช่วง แต่พอมองยาว ๆ ถ้าเลือกสินทรัพย์มาดีพอ ทุกตัวก็อาจปรับตัวขึ้นเหมือนกันหมด

สิ่งที่สำคัญของ Asset Allocation ต้องเลือกสินทรัพย์ที่ขึ้นลงไม่พร้อมกันมากนัก หรือมี Correlation ต่อกันต่ำ ซึ่งจะช่วยการันตีในระดับนึงว่าเมื่อกระจายการลงทุนแล้วสินทรัพย์แต่ละตัวจะสลับ ๆ กันขึ้นลง ไม่ใช่พากันลงไปพร้อม ๆ กัน

  • เช่น ตลาดเกิดใหม่อาจสัมพันธ์กับสหรัฐฯ สูง เพราะสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่
  • แต่จีนกับสหรัฐฯ อาจจะขึ้นลงไม่พร้อมกัน เพราะทั้ง 2 พยายามลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานของกันและกัน
  • หรือ ทองมักจะขึ้นยามสงคราม ต่างจากหุ้นที่มักจะดิ่ง

หลักการหลัก ๆ ของ Asset Allocation คือการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย พื่อรักษาเสถียรภาพของพอร์ตโดยรวม เช่น การลงทุนในหุ้น พันธบัตร ทองคำ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

สรุป

การลงทุนแบบนอนหลับสบายไม่ได้หมายถึงการลงทุนแบบปลอดความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง เพราะเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่เราสามารถลงทุนภายใต้ความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ โดยไม่ทำให้คุณต้องกังวลจนนอนไม่หลับ

การจะออกแบบพอร์ตให้สมดุลได้ นักลงทุนต้องใส่ใจกับ Volatility และ Max Drawdown รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ผ่านการทำ Asset Allocation ที่จะช่วยสร้างโอกาสผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว พร้อมๆ กับการรักษาความสงบในจิตใจ

AWS ทางเลือกการลงทุนแบบ Asset Allocation ชั้นยอด

หากใครอยากมีพอร์ตการลงทุนระดับท็อป กระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล มีผู้เชี่ยวชาญดูแลให้ เราขอแนะนำพอร์ต All Weather Strategy (AWS) โดยพอร์ตมีการวิเคราะห์หลากหลายปัจจัย และกระจายการลงทุนอย่างสมดุล

และที่สำคัญ ยังได้คุณ Andrew Stotz อดีตนักวิเคราะห์อันดับ 1 ของประเทศไทย เข้ามาดูแลพอร์ต สำหรับใครที่อยากลงทุนแบบนอนหลับสบาย นี่คือพอร์ตการลงทุนที่ตอบโจทย์อย่างยิ่ง!

จุดเด่นพอร์ต All Weather Strategy

  • ใช้ FVMR Framework เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน ซึ่งประกอบไปด้วย Fundamental (พื้นฐานของสินทรัพย์), Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์), Momentum (โมเมนตัมของสินทรัพย์) และ Risk (ความเสี่ยง)
  • กระจายการลงทุนไปทั่วโลก ไม่จำกัดเพียงแค่ในประเทศไทย
  • มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยลดความผันผวน พร้อมเฟ้นหาโอกาสลงทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป เพื่อเสริมศักยภาพของพอร์ตในระยะยาว
  • มุ่งสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น พร้อมบริหารความเสี่ยงเพื่อช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนในช่วงตลาดพักฐาน
  • ใช้หลักการวิเคราะห์ทั้งเชิงประมาณ (Quantitative) ที่ใช้สูตรและโมเดลทางคณิตศาสตร์ และเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่ใช้ประสบการณ์และความรู้ของทีมงาน เพื่อให้ได้พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท และไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ Finnomena

สามารถติดตามมุมมองการลงทุนรายละเอียดการปรับพอร์ตอย่างใกล้ชิดได้ที่
https://www.finnomena.com/tag/guruport-aws/

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย A. Stotz Investment Research ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://finno.me/plan-guruport-aws-ws หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลย

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Finnomena

ปรับพอร์ต Dynamic Contrarian Portfolio: โอกาสลงทุนในหุ้น EV และ Commodities

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Finnomena 2025 Mid-Year Outlook: Harnessing Volatility with Unconventional Assets ปรับกลยุทธ์รับมือกับความผันผวน ด้วยสินทรัพย์นอกกรอบ

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ต้อนรับอาจารย์และนิสิต ม.เกษตร วิทยาเขตศรีราชา เยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการประกันภัย

สยามรัฐ

กรุงศรีฯ ฟันกำไรไตรมาส2 ที่ 8.2 พันล้าน กำไรเพิ่มขึ้น 10 % จากรายได้ดอกเบี้ยขยับ

กรุงเทพธุรกิจ

KTC เผยครึ่งแรกปี'68 กำไรสุทธิ 3,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5%

ประชาชาติธุรกิจ

กรุงศรี ครึ่งแรกปี'68 กำไร 1.58 หมื่นล้าน โต 0.5% อานิสงส์ตั้งสำรองฯ ลด

ประชาชาติธุรกิจ

‘เคทีซี’ แกร่งต่อเนื่อง ครึ่งปีแรกกำไรเพิ่ม 3.5% ทะลุ 3 พันล้าน ส่วนแบ่งตลาดโตทุกผลิตภัณฑ์

The Bangkok Insight

’จิตตะ เวลธ์‘ ชี้AI ล็อกเป้า’หุ้นจีน’เด่น จัดพอร์ตฝ่าวิกฤติ 3.49%

กรุงเทพธุรกิจ

KTC โชว์กำไรสุทธิ Q2/68 แตะ1.89พันล. โต 3.8% สร้างฐานการเงินแกร่ง

กรุงเทพธุรกิจ

BAY กำไรครึ่งแรกปี 68 ที่ 15,829 ลบ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยโต ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง

Wealthy Thai

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปรับพอร์ต Dynamic Contrarian Portfolio: โอกาสลงทุนในหุ้น EV และ Commodities

Finnomena

Finnomena 2025 Mid-Year Outlook: Harnessing Volatility with Unconventional Assets ปรับกลยุทธ์รับมือกับความผันผวน ด้วยสินทรัพย์นอกกรอบ

Finnomena

หุ้นเวียดนามขึ้นไม่หยุด แต่กองทุนไปสะดุดตรงไหน !?

Finnomena
ดูเพิ่ม
Loading...