โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไทยเข้มปิดดีลภาษีชูเงื่อนไข ห้ามกระทบเกษตร-รายย่อย

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“พิชัย” นำคณะรัฐมนตรีกระทรวงหลักถกทีมไทยแลนด์ รับมือภาษีทรัมป์ เชิญ “ทักษิณ ชินวัตร” เข้าร่วม เผยไทยยังมีเวลาถึง 1 ส.ค. แนวทางเน้นเยียวยาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ จับตาสินค้าผ่านทางจีนที่สวมสิทธิส่งออกจากไทย ทีมไทยแลนด์ย้ำไม่ใช้โมเดลเวียดนามที่เปิดกว้างเกินไป เพราะต้องดูแลอุตสาหกรรมอื่น ๆ โฟกัสสินค้าเกษตร สภาอุตฯ ประเมินความเสี่ยง เผยรัฐรับปากเตรียมเงินหลายหมื่นล้านเยียวยาเบื้องต้น รวมทั้งเจรจาผู้ซื้อสหรัฐช่วยรับภาระภาษีบางส่วน

พิชัยถกทีมไทยแลนด์

ความคืบหน้าเจรจาภาษีสหรัฐอเมริกา นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ รมว.พาณิชย์ นายฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ รมช.พาณิชย์ และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ร่วมกันแถลงข่าว หลังการประชุมกับทีมไทยแลนด์และทีมที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อรับมือปัญหากรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แจ้งอัตราภาษีนำเข้า 36% ซึ่งใช้ระยะเวลานานเกือบ 3 ชั่วโมง โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางมาร่วมด้วย

นายพิชัยกล่าวว่า เชิญทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกและรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกรณีได้รับจดหมายจากสหรัฐอเมริกา ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นการเลื่อนเวลาให้เรา ยังไม่ได้เจรจาถึงที่สุด วันนี้จึงทบทวนเพราะยังมีเวลาถึงวันที่ 1 สิงหาคม เพื่อให้ได้ข้อยุติ ซึ่งมองว่าจะเป็นข้อยุติแบบกว้าง ๆ และยังต้องคุยกันอีกนาน

หามาตรการช่วยอุตฯไทย

ก่อนหน้านี้เรียกประชุมภาคอุตสาหกรรม สภาหอการค้า รวมถึงบริษัทใหญ่ ๆ ถึงผลกระทบและมาตรการรองรับ ซึ่งได้ข้อมูลมากพอสมควร และกลับไปทำการบ้านกัน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลสรุปในวันจันทร์ 14 ก.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเดินไปได้อย่างเรียบร้อย จึงเป็นที่มาในการประชุมวันนี้ ซึ่งในที่ประชุมเราให้ข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้รู้รายละเอียดว่าทำอะไรไปบ้าง รวมถึงท่าทีและความคิดเห็น เพื่อดูว่าหากเกิดผลกระทบอย่างไร และจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สิ่งแรกที่เราจะคุยกับทางสหรัฐอเมริกา คือมุมมองในการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกา ข้อที่ 1.ไม่ให้ผู้ผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมรายย่อย 2.เราอาจต้องรับซื้อสินค้าเข้ามา ซึ่งจะได้โอกาสในการปรับตัว ซึ่งได้คุยกันว่าจะมีวิธีการปรับตัวอย่างไร ที่จะทำให้สินค้าที่นำเข้ามาในประเทศไทยได้รับการกำกับดูแลให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

และ 3.สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรองรับมาตรการช่วยเหลือในหลายเรื่อง ซึ่งจะไปทำการบ้านในรายละเอียด มีการกำหนดมาตรการกว้าง ๆ เอาไว้แล้ว

เชิญ “ทักษิณ” เข้าร่วมด้วย

นายพิชัยกล่าวถึงกรณีที่นายทักษิณเข้าร่วมการประชุมในวันนี้ว่า เป็นผู้เชิญนายทักษิณเข้าร่วมด้วยตนเอง เนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างดี และสามารถให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานได้

ประชุมวันนี้หารือในหลายประเด็น ไม่ได้จำกัดเฉพาะมาตรการรับมือกับการขึ้นภาษีของสหรัฐเพียงอย่างเดียว พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลไทยกำลังเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ให้ดีที่สุด ทั้งในด้านการชี้แจงและการเจรจากับทางการสหรัฐ โดยมาตรการของไทยสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนในทุกมิติ และหวังว่าจะไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ

เข้มงวดสินค้าผ่านทาง

รองนายกฯกล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่ได้ สหรัฐแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่จะเก็บภาษีออกเป็น 2-3 ประเภทใหญ่ ๆ เช่น สินค้าทั่วไปเริ่มต้นที่อัตราภาษี 10% โดยบางประเทศ เช่น เวียดนามอาจถูกเก็บเพิ่มเป็น 20% ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา อีกประเภทหนึ่งคือสินค้าผ่านทาง ที่มาจากการนำเข้าก่อนนำมาประกอบ หรือเพิ่มมูลค่าด้วยการใส่โลคอลคอนเทนต์ เชื่อว่าประเทศไทยมีระบบการควบคุมและตรวจสอบอย่างเข้มงวด รัฐบาลมั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการได้ดี

“หากมองในภาพรวมแล้ว เชื่อว่าผลกระทบที่ไทยจะได้รับจากมาตรการภาษีของสหรัฐไม่น่าจะรุนแรงมาก” นายพิชัยกล่าว และว่าสำหรับข้อมูลที่จำเป็นส่งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยวันนี้กลับมาทบทวนรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าทิศทางที่ดำเนินการมานั้นถูกต้อง

เตรียมแผนเยียวยาภาคธุรกิจ

นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่ร่วมประชุมกับทีมไทยแลนด์ กล่าวถึงผลการประชุมว่า ทิศทางใหญ่เริ่มจับทางได้ชัดเจนว่าสหรัฐต้องการอะไร ดังนั้น การเจรจาครั้งต่อไปความพร้อมก็จะมีมากขึ้น ทั้งนี้ การเจรจาครั้งที่แล้วไม่ได้หมายความว่าไม่พร้อม แต่สหรัฐไม่ได้พูดชัดเจนว่าต้องการอะไรแน่ ดังนั้น เมื่อเรารู้ชัดเจนขึ้น การเจรจาครั้งต่อไปก็จะว่าไปตามรายการสินค้า

นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังคิดถึงผลกระทบ ไม่ว่าจะเจรจาสำเร็จไม่สำเร็จ โอกาสที่จะถูกสหรัฐขึ้นภาษีก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี ดังนั้น เราต้องเตรียมการ ไม่ว่าเจรจาได้ผลมากน้อยแค่ไหนก็ต้องเตรียมมาตรการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ขอให้นักธุรกิจไทยมั่นใจได้ว่ารัฐบาลคิดถึงการเยียวยาล่วงหน้าแล้ว

ไม่ใช้โมเดลเวียดนาม

นายจักรภพกล่าวอีกว่า ข้อสุดท้ายที่มีคนพูดว่าควรใช้โมเดลเวียดนามในการเจรจานั้น ที่ประชุมเห็นว่าไทยไม่ควรจำกัดตัวเองอยู่แค่นั้น เราอาจจะใช้เป็นบทเรียนในการเจรจา แต่ไม่ได้ตั้งธงว่าจะเอาแบบนั้นเป๊ะ ๆ หรือเสียแบบนั้นเป๊ะ ๆ เพราะเวียดนามเสียเยอะมาก เนื่องจากเวียดนามตั้งธงว่าได้ภาษีที่ 11% ไม่ใช่ 20% ดังนั้น การที่เวียดนามยอมอะไรเยอะแยะแล้วได้ลดภาษีเหลือแค่ 20% เชื่อว่าเวียดนามก็ตกใจ

ส.อ.ท.ประเมินความเสี่ยง

ส่วนความคิดเห็นภาคเอกชน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ให้ทั้ง 47 กลุ่มอุตสาหกรรมประเมินผลกระทบแบบเจาะลึกเป็นรายอุตสาหกรรม และมาตรการรองรับของแต่ละกลุ่มกลับมา โดยเฉพาะมาตรการการเงินและการคลัง เบื้องต้นทางภาครัฐแจ้งว่าได้เตรียมมาตรการรองรับในกรณีเลวร้ายสุด คือไม่สามารถต่อรองได้ ยืนยันเก็บภาษีที่ 36% ภาครัฐเตรียมวงเงินไว้หลายหมื่นล้านบาท เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว

หลังจากรวบรวมข้อมูลทั้ง 47 กลุ่มทั้งหมดแล้ว ทาง ส.อ.ท.จะยื่นให้กระทรวงการคลังภายในวันที่ 11 ก.ค. 2568 ต่อไป ซึ่งเวลานี้ผู้ส่งออกเองก็พยายามปรับตัวรองรับผลกระทบ เช่น บางกลุ่มได้เจรจากับผู้นำเข้า หรือผู้จัดจำหน่ายทางฝั่งสหรัฐให้ช่วยรับภาษีไปส่วนหนึ่งประมาณ 10% ส่วนที่เหลือ 26% ทางผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ขอให้อุ้มอุตฯใช้แรงงานเยอะ

“ภาครัฐเล่าว่าข้อเสนอใหม่ที่ส่งเข้าไปให้สหรัฐ เชื่อว่าจะถูกใจสหรัฐบ้าง แต่ไม่ได้เปิดให้ทั้งหมดแบบเวียดนาม เพราะไทยเน้นคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะภาคเกษตร และผู้ประกอบการ SMEs ตอนนี้กลุ่มหลัก ๆ ที่จะได้รับผลกระทบคือกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร สิ่งทอ ยางรถยนต์ พลาสติก เครื่องประดับ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีกำไรเลขตัวเดียว คือไม่เกิน 10% ถ้าถูกเก็บ 36% จะได้รับผลกระทบมาก กรณีเลวร้ายสุดต้องเลิกจ้างแรงงาน ต้องหามาตรการรองรับ”

นายเกรียงไกรกล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญที่สหรัฐเน้นเป็นพิเศษ คือการแก้ปัญหาการสวมสิทธิสินค้าจากจีนเข้าสหรัฐผ่านประเทศที่สาม ซึ่งไทยต้องเร่งแก้ไข โดยภาครัฐต้องเน้นการสนับสนุนให้ไทยผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เองมากขึ้น เช่น มาตรการส่งเสริมวงเงินดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดการนำเข้าชิ้นส่วนต่าง ๆ จากจีน ส่วนนี้อาจเป็นมาตรการระยะกลางและยาว ส่วนระยะสั้นอาจต้องนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาผลิตแทน เช่น อินเดีย เป็นต้น

หอค้าหวั่นไทยแข่งเวียดนามยาก

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอกชนได้ประเมินผลกระทบสำหรับอัตราภาษีที่คาดว่าไทยจะถูกสหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไว้ในหลายระดับ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบแต่ละอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐเก็บอัตราภาษีสินค้าไทยที่ 20%, 25% และ 36% เพื่อให้ภาครัฐเตรียมมาตรการเยียวยา คาดว่าจะเสนอให้กับทีมไทยแลนด์เพื่อพิจารณาต่อไป ส่วนการเจรจาภาษีกับสหรัฐก็เชื่อว่าไทยยังพอมีเวลาในการเจรจา

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผยว่า หากภาษีไทยสูงกว่าเวียดนาม 5% ก็มองว่ายังแข่งขันได้ แต่หากมากกว่า 10% การส่งออกของผู้ประกอบการไทยอาจจะลำบากขึ้น ประกอบกับต้นทุนการผลิตของเวียดนามถูกกว่าไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงงาน ไฟฟ้า การขนส่ง โดยผู้ประกอบการไทยอาจจะจำเป็นต้องเร่งปรับตัว มองหาเครื่องจักรมาทดแทนอย่างจริงจัง

กลุ่มอาหารขอรัฐช่วย 7 ข้อ

นายองอาจ กิตติคุณชัย นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (TFPA) เปิดเผยว่า จากกรณีที่สหรัฐอเมริกาประกาศใช้ภาษีนำเข้า 36% สำหรับสินค้าทุกชนิดจากประเทศไทย มีผล 1 ส.ค. 2568 นี้ มองว่าการแข่งขันสินค้าอาหารของไทยในตลาดสหรัฐคงจะลำบากขึ้น ถ้าเทียบกับคู่แข่งที่ได้รับอัตราภาษีที่ลดลง ล่าสุดหารือกับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย (TFA) เพื่อหาแนวทางการรับมือและมีข้อเสนอ 7 มาตรการต่อภาครัฐ

1.รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท 2.หนุนเทคโนโลยีลดต้นทุน 3.พิจารณาภาษีนำเข้าสหรัฐอย่างมีเงื่อนไข 4.ขยายตลาดใหม่ ลดพึ่งพาอเมริกา 5.เร่งเจรจา FTA ใหม่ 6.สร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยในระดับโลก 7.จัดทำข้อมูล Local Content เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 สมาคมยืนยันความพร้อมในการสนับสนุนข้อมูล ข้อเท็จจริง และความร่วมมือกับภาครัฐทุกระดับ ต้องยอมรับว่าสหรัฐถือว่าเป็นผู้ค้าสำคัญในการส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทย โดยในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไปในตลาดสหรัฐมีมูลค่า 166,224 ล้านบาท ขยายตัว 20.9%

คาดแผงโซลาร์ราคาพุ่ง

นายซัพมนต์ จันทรพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์ เอเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย กล่าวว่าอุตสาหกรรมโซลาร์ได้รับผลกระทบตั้งแต่ก่อนมีการเจรจา ผู้ประกอบการจากจีนที่เข้ามาประกอบในไทย หรือใช้เป็นทางผ่านในการสวมสิทธิเพื่อส่งออก วางแผนปรับตัวด้วยการลดกำลังการผลิตและหาตลาดใหม่ในภูมิภาคมาระยะหนึ่งแล้ว เช่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ตะวันออกกลาง แต่หากการเจรจารอบสุดท้ายแล้วไทยยังได้อัตราภาษี 36% หรือ 20% เท่ากับเวียดนาม ผู้ประกอบการโซลาร์ก็ยังคงได้รับผลกระทบและราคาจะพุ่งสูงขึ้น

ผู้ประกอบการจีนส่วนใหญ่จะมาประกอบสินค้าที่ไทย และส่งออกไปเพื่อเลี่ยงภาษี แต่ผู้ส่งออกอื่นในไทยและนักลงทุนต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิต จ้างแรงงาน ใช้ทรัพยากรในไทยจะเป็นกลุ่มที่น่ากังวลมาก เพราะจะได้รับผลกระทบในการต่อสู้เรื่องราคากับประเทศอื่น ๆ

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ไทยเข้มปิดดีลภาษีชูเงื่อนไข ห้ามกระทบเกษตร-รายย่อย

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

สมาร์ทโฟน ‘จอพับ’ ตอบโจทย์คนแบบไหน ?

40 นาทีที่แล้ว

กฎใหม่! คุม 'แอปเรียกรถ' คนขับ-ผู้ใช้-แพลตฟอร์ม ต้องทำอะไรบ้าง ?

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Porsche พรางตัวทดสอบ ‘คาเยนน์ อิเล็กทริค’ ก่อนเปิดตัว

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สกายวอล์กราชวิถี’ 1.3 กม. ดัน กทม. เมืองเดินได้ เดินดี น่าเดิน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

วิจัยกสิกรไทยมองสวน ศก.ไทยปี 68 แค่1.4% แบงก์ชาติมองถึง 2.3% | คุยกับบัญชา | 27 มิ.ย. 68

BTimes

APP - Paseo หนุน โครงการ Future Ready ฝึกงานตรงสายกับมืออาชีพ

Positioningmag

ตลาดร้านกาแฟโตสวนเศรษฐกิจ คนไทยเลือกกาแฟ Specialty มากขึ้น

Khaosod

TNR แจงหุ้นบิ๊กล็อต TNR-F ย้ำโครงสร้างบอร์ดบริหาร-ธุรกิจ ไม่เปลี่ยนแปลง

ฐานเศรษฐกิจ

ดีอี เปิด 10 ข่าวปลอม ประจำสัปดาห์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับภัยพิบัติ

การเงินธนาคาร

“ทรัมป์” ตีแสกหน้า เรียกเก็บภาษีนำเข้าจากไทย 36% ต่อแล้วไม่ลด ส่งสัญญาณไม่พอใจข้อเสนอ รัฐบาลทำการบ้านหนัก หวังเจรจารอบหน้าขอส่วนลดปิดซูเปอร์ดีลเลขสวย

BTimes

ร้านกาแฟ โตสวนเศรษฐกิจ ราคาต่ำกว่าร้อยขายดี แม้ปีนี้ร้านเปิดใหม่ลดลง

Khaosod

“SCB EIC” เตือน! ภาษีตอบโต้สหรัฐฯ เสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทย

อีจัน

ข่าวและบทความยอดนิยม

ไทยเข้มปิดดีลภาษีชูเงื่อนไข ห้ามกระทบเกษตร-รายย่อย

ประชาชาติธุรกิจ

มาสด้า ราชา ออโต้ เซลส์ กินรวบตลาดโคราช

ประชาชาติธุรกิจ

เงินบาทอ่อนค่า หลังยังไม่ได้ข้อสรุป เจรจาภาษีสหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...