โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“กรมอุทยาน” ดัน “ตัวเงินตัวทอง” สู่สัตว์เศรษฐกิจ เปิดให้เพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์

ข่าวหุ้นธุรกิจ

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงาน กรณีที่คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ประชุมครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 และได้ลงความเห็น ประกาศราคาพ่อแม่พันธุ์ตัวเหี้ย ไว้ที่ตัวละ 500 บาท ภายหลังจากมีการแก้ไขกฎหมายจากเดิมเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ให้ประชาชนสามารถเพาะเลี้ยงเหี้ยเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ ภายใต้ข้อกำหนดของกรมอุทยานฯ โดยมีพื้นที่ กรงเลี้ยง และการเลี้ยงดูที่เหมาะสมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการกำหนดอัตราเรียกเก็บค่าใช้จ่ายค่าบริการ หรือค่าตอบแทนและราคาสัตว์ป่า พ.ศ. 2567 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลทางกฎหมายต่อไปนั้น

ล่าสุดวันนี้ (23 ก.ค. 68) นายเฉลิม พุ่มไม้ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า เตรียมผลักดันการเพาะเลี้ยงตัวเงินตัวทอง (เหี้ย) เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ภายใต้กรอบกฎหมายใหม่ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองได้ โดยได้มีการกำหนดราคาพ่อแม่พันธุ์ไว้ที่ตัวละ 500 บาท แบ่งเป็นค่าตัวเหี้ย 400 บาท และค่าไมโครชิพ 100 บาท เพื่อควบคุมและป้องกันการลักลอบจับจากธรรมชาติ

โดยมีนักธุรกิจและผู้สนใจจำนวนมากติดต่อสอบถามเข้ามาหลังจากมีการเปิดเผยแนวนโยบายดังกล่าว โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับพ่อแม่พันธุ์ได้ที่กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า สังกัดสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นสถานที่เลี้ยงดูตัวเหี้ยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันมีตัวเหี้ยอยู่ราว 400 ตัว และยังดูแลงูเหลือมอีกประมาณ 1,000 ตัว

ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงจะต้องผ่านการตรวจสอบความพร้อมจากเจ้าหน้าที่ โดยต้องมีพื้นที่ กรงเลี้ยง และการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก่อนดำเนินการชำระเงินและรับสัตว์จากสถานีเพาะเลี้ยง ซึ่งตัวเหี้ยทุกตัวจะถูกฝังไมโครชิพเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นายเฉลิมระบุว่า ความสนใจของภาคธุรกิจในตัวเหี้ยส่วนหนึ่งมาจากลวดลายบนผิวหนังที่มีความสวยงามและเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศมองว่ามีความโดดเด่นกว่าหนังจระเข้ อย่างไรก็ตาม แม้ในภาษาไม่เป็นทางการจะนิยมเรียกว่า “ตัวเงินตัวทอง” แต่ในทางกฎหมายยังต้องใช้คำว่า “เหี้ย” ตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง

ในอดีต ตัวเหี้ยที่ถูกจับจากบ้านเรือนประชาชนจะถูกนำมาเลี้ยงไว้จนสิ้นอายุขัย โดยเฉลี่ยมีการแจ้งจับตัวเหี้ยประมาณ 10–20 ตัวต่อสัปดาห์ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจึงจัดทำบ่อเลี้ยงขนาด 1 ไร่ จำนวน 2 บ่อ พร้อมแหล่งน้ำและต้นไม้ และให้อาหาร เช่น เนื้อไก่และปลา รวม 40–50 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยมีภาคเอกชนร่วมสนับสนุน

ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าบริการและราคาสัตว์ป่า พ.ศ. 2567 และเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ข่าวหุ้นธุรกิจ

แรงเกินคาด!

55 นาทีที่แล้ว

MTC ผูกหนี้-แก้หนี้.!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Data Center กับโอกาสของไทย (1)

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ฝรั่งมาจริงหรือหลอก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

“กรมอุทยาน” ผนึกเครือข่าย เปิดแผน 5 ปี สกัดขบวนการ “ค้าสัตว์ป่า” ชายแดน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

กรมอุทยานฯ ส่งทีมสัตวแพทย์ตรวจช้างป่าเขาใหญ่ พบรอยแผลคล้ายถูกยิง

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“กรมอุทยานแห่งชาติ” เปิดโครงการ “อนุรักษ์ทะเลไทย” ตามแนวพระดำริ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

ข่าวหุ้นธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...