โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

KKP Research หั่น GDP ไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.6% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงรุมกดดันรอบด้าน

THE STANDARD

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
KKP Research หั่น GDP ไทยปีนี้ลงเหลือขยายตัว 1.6% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงรุมกดดันรอบด้าน

KKP Research ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว และปัจจัยลบในปี 2025 ที่สำคัญ คือ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือขยายตัว 1.6% จากขยายตัว 1.7% และปี 2026 เหลือขยายตัว 1.5%

กราฟคาดการณ์ GDP ไทยโดย KKP Research แสดงแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2025-2026

ภาพ: KKP Research ประมาณการ GDP ของไทยใน 2025-2026

KKP ประเมินเศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงกดดันด้านลบ

KKP ประเมินว่า 3 ปัจจัยที่สำคัญที่จะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังจากนี้ คือ

  • ทิศทางการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจีนหดตัวลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียงประมาณ 30-40% ของระดับก่อนโควิด-19 เป็นผลจากความกังวลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนหลังเกิดกรณีลักพาตัว และการเข้ามาของคู่แข่งใหม่ ๆ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินหยวนส่งผลให้การมาเที่ยวไทยแพงกว่าที่อื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ KKP ประเมินนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ 33.6 ล้านคนหดตัวลงจากปีก่อนเป็นครั้งแรกตั้งแต่หลังโควิด-19

ภาพ: KKP Research ประเมินจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยว

  • การเร่งตัวของการส่งออกที่มากผิดปกติก่อนการขึ้นภาษีในช่วงต้นปี ส่งผลต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการส่งออกที่ผ่านมา ไม่ส่งผลบวกมากนักต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทย และมีโอกาสสูงที่ครึ่งหลังของปีจะเห็นการชะลอตัวลง โดยเกิดจาก

2.1 การส่งออกบางส่วนใช้สินค้าคงคลังที่เหลืออยู่เพื่อการส่งออกแต่ไม่ได้มีการผลิตใหม่เพิ่มเติม

2.2 การส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศอื่นเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ แต่ไม่มีผลมากต่อการผลิตในประเทศ KKP Research ประเมินว่าภาคอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น แต่อาจจะกลับมาชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี

ภาพ: KKP Research ให้ข้อมูลการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม

  • การบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อ สินเชื่อในระบบการ

เงินยังคงหดตัวต่อเนื่อง ทั้งในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ SME และครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเช่าซื้อและอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงและระดับหนี้เสียที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจน การบริโภคในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว

เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังยังท้าทาย มีโอกาสเข้าสู่ Technical Recession

จากหลายปัจจัยลบที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ในครึ่งปีหลังของปี 2025 ไทยกำลังจะต้องเผชิญแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคได้ โดยปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะทยอยหมดไป คือ

3.1 แรงส่งจากฐานต่ำของการลงทุนภาครัฐในปีก่อน

3.2 การเร่งการส่งออกที่สูงผิดปกติในช่วงต้นปีก่อนการขึ้นภาษี

3.3 การท่องเที่ยวที่จะทยอยชะลอตัวลงโดยจำนวนนักท่องเที่ยวอาจเริ่มติดลบในช่วงครึ่งหลัง ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศเดิมของไทยที่อ่อนแออยู่ก่อนแล้ว

ภาพ: KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังเสี่ยงเกิด Technical Recession

3 ความไม่แน่นอนอาจทำให้ไทยชะลอกว่าคาด

สถานการณ์ปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูงมาก ทำให้การประเมินเศรษฐกิจทำได้ยากมากขึ้น KKP Research ประเมินว่าทิศทางของเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอลงในช่วงครึ่งหลัง และยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 เรื่องที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้

  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองและข้อจำกัดของภาครัฐ ความเปราะบางทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้นหลังพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ มีความเสี่ยงที่การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 อาจจะล่าช้าหรือไม่สามารถผ่านได้ โดยในอดีตการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าตัวเป็นฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากถึง 1.0 – 1.5ppt ต่อไตรมาส หรือประมาณ 0.3ppt – 0.5ppt ต่อการเติบโตของ GDP ทั้งปี
  • สงครามการค้าและการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ การเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงโดยอัตราภาษีแรกที่ไทยถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ คือ 36% ก่อนจะมีการลดลงชั่วคราวมาที่ระดับ 10% KKP Research ประเมินว่าในกรณีของการเก็บภาษีกลับไปที่ 36% จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งปีประมาณ 0.8ppt เทียบกับกรณีที่ไม่มีการเก็บภาษีเลย
  • สงครามระหว่างอิหร่าน อิสราเอล และผลต่อราคาน้ำมัน ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงต่อเนื่องอาจผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะที่คล้าย “stagflation” หรือภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวควบคู่กับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไทยมีดุลการค้าพลังงานขาดดุลในระดับประมาณ 8% ของ GDP สูงที่สุดในภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 10% ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอาจลดลงราว 0.5% ของ GDP และ GDP ของไทยลดลงราว 0.3%

ภาพ: KKP Research ประเมินความเสี่ยงของผลกระทบของภาษีนำเข้าที่สูงกว่าคาด

KKP มองนโยบายการเงินต้องมีบทบาทมากขึ้น

ในสภาวะที่นโยบายการคลังมีข้อจำกัดจากระดับหนี้สาธารณะเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 70% ต่อ GDP ขาดดุลการคลังที่อยู่ในระดับสูง และภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น KKP Research เชื่อว่านโยบายการเงินจะต้องมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง หรืออีก 0.75% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้ายลดลงเหลือ 1.0% จาก 1.25% ภายในไตรมาสแรกของปี 2026 และอาจต้องพิจารณาทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขข้อจำกัดของการส่งผ่านของนโยบายการเงิน โดยเฉพาะช่องทางสินเชื่อของธนาคาร

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้านและยังมีความไม่แน่นอนสูงที่อาจทำให้เศรษฐกิจโตได้ต่ำกว่าคาด การรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้จะต้องใช้การประสานนโยบายอย่างรอบด้าน ระหว่างนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย นโยบายการคลังที่แม่นยำ และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

PUMA เปิดตัวรองเท้า HYROX ในรายการชิงแชมป์โลก 2025

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ย้อนมองประเทศไทยในวัน ‘ตลาดหุ้น’ ย่ำแย่สุดในโลก วาทะเด็ด ‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ – ‘บรรยง พงษ์พานิช’

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สำรวจ 10 เทรนด์ ผู้ประกอบการต้องรู้ ก่อนนับถอยหลังเข้าปี 2026

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

FENDI ICONSIAM บูติกที่ผสมการตกแต่งระหว่างไทยกับอิตาลี

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สภาพอากาศวันนี้ -7 ก.ค.ไทยฝนฉ่ำ กทม.ปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 60-70 %

ฐานเศรษฐกิจ

เยอรมนีเรียกพบทูตอิหร่าน กรณีจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นสายลับ

JS100

เพจดังตั้งคำถาม? เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันสถาปนาลูกเสือฯ ล้มป่วยจำนวนมาก ใครจะรับผิดชอบ (ชมคลิป)

Manager Online

จับแล้ว! ผู้ต้องหาย่ำยีเด็ก โดดน้ำหนี ส่วน ร.ต.ท. จมน้ำหาย ยังหาตัวไม่พบ

Khaosod

ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

ตีตกยื่นยุบภท. อ้วน-ทวีลุ้นต่อ จุ้นสอบฮั้วสว.

ไทยโพสต์

รวมพลังแผ่นดินจัดใหญ่ส.ค.

ไทยโพสต์

ประเดิมขึ้นค่าแรง400 เคาะคุณสู้เราช่วยเฟส2

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

เปิดคำสั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลรธน.จะมีคำวินิจฉัย

THE STANDARD

สื่อนอกรายงานข่าวศาล รธน. สั่งแพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่ ชี้การเมืองไทยวุ่นวายขึ้น เสถียรภาพรัฐบาลมีแนวโน้มเปราะบาง

THE STANDARD

สว. สวัสดิ์ มองศาลรัฐธรรมนูญสั่งแพทองธารหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ชี้เหตุผลชัดเจนอยู่แล้ว แพทองธารอาจถูกถอดถอนซ้ำรอยเศรษฐา

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...