7 ธนาคาร ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้รับผลกระทบชายแดน “ไทย-กัมพูชา” พักชำระหนี้ ปล่อยสินเชื่อให้กู้
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทย–กัมพูชานั้น ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ที่อาศัยในพื้นที่ใกล้ชายแดนที่เกิดการปะทะกันเท่านั้น แต่ยังทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และการดำเนินธุรกิจของประชาชนในพื้นที่ต้องหยุดชะงัก ซึ่งกระทบต่อทั้งความเป็นอยู่และรายได้ของผู้คนเป็นอย่างมาก
ซึ่งหลายสถาบันการเงินได้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น การพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย และปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เปิด 7 สถาบันการเงิน เร่งช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเขตชายแดน
รัฐบาลไทยได้มีการประกาศรายชื่อ 7 สถาบันการเงิน พร้อมมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนที่เกิดการปะทะ เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนและผู้ประกอบการที่สูญเสียรายได้ หรือจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ดังนี้
1. ธนาคารออมสิน (GSB)
เน้นการพักหนี้และให้สินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำ
- พักชำระหนี้ : พักชำระเงินต้นจนถึงเดือนธันวาคม 2568
- สินเชื่อเพื่อรายย่อย (2 โครงการ)
- สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือ : ผ่อนชำระ 12 เดือน ปลอดชำระเงินงวด 3 เดือนแรก ดอกเบี้ยคงที่ 0.60% ต่อเดือน
- สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ : ผ่อนชำระ 60 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ 0.75% ต่อเดือน
- สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SMEs : วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินงวดไม่เกิน 1 ปี
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ
- สินเชื่อฉุกเฉิน : วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท/ราย สำหรับใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
- สินเชื่อฟื้นฟู : วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท/ราย ใช้ในการซ่อมแซมบ้านและเครื่องมือการเกษตร เวลากู้ไม่เกิน 15 ปี
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ให้ความช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารจากเหตุการณ์ชายแดน ด้วยวงเงินโครงการ 200 ล้านบาท ดังนี้
- กรณีผู้กู้เจ็บสาหัส/บ้านเสียหาย : จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
- กรณีผู้กู้ได้รับบาดเจ็บจนพิการ/เสียชีวิต/บ้านเสียหายทั้งหลัง : จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
- กรณีกู้เพื่อสร้างบ้านใหม่แทนบ้านเดิม : จะได้รับอัตราดอกเบี้ย 0% ใน 6 เดือนแรก
4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.)
ใช้มาตรการ "พัก ลด ขยาย เติม" ให้ผู้ประกอบการ SME
- พักชำระเงินต้น
- ลดค่างวดผ่อนชำระ
- ขยายระยะเวลาชำระหนี้
- เติมสินเชื่อใหม่ดอกเบี้ยต่ำ คงที่ 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก เวลากู้สูงสุด 10 ปี
- รวมไปถึง สินเชื่อ SME Refinance ลดต้นทุนธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% ต่อปี
5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ (ธสน.)
ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
- มาตรการเร่งด่วน : ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 1 ปี, ลดดอกเบี้ยสูงสุด 20%
- มาตรการเสริมสภาพคล่อง : เงินทุนหมุนเวียน เพื่อออกงานแสดงสินค้า ดอกเบี้ย 6.15% ต่อปี , เงินทุนหมุนเวียนก่อนและหลังการส่งออก อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี เป็นต้น
6. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ( ธอท. )
มีมาตรการไอแบงก์เราไม่ทิ้งกัน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
- พักชำระหนี้ : พักทั้งเงินต้นและกำไรสูงสุด 6 เดือน
- ให้วงเงินเพิ่ม สำหรับ
1. ที่อยู่อาศัย: วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1.99% ในปีแรก ผ่อนนานสูงสุด 20 ปี
2. ธุรกิจ: วงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3.25% ในปีแรก ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 5 ปี
7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และลูกค้าเดิมของ บสย. ด้วย 2 มาตรการ คือ
- มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และลูกค้าเดิมของ บสย. ที่อยู่ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ โดยผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน และค่าจัดการค้ำประกันโดยพักชำระออกไปอีก 6 เดือน
- มาตรการเสริมสภาพคล่อง ภายใต้ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” 2 โครงการหลัก 1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Power Trade & Biz วงเงินค้ำประกัน 3,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 500,000 – 10 ล้านบาท และ 2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Micro Biz วงเงินค้ำประกัน 2,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย 10,000 – 500,000 บาท
8. ธนาคารกรุงไทย
ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า โดย มุ่งลดภาระทางการเงิน ครอบคลุม การลดดอกเบี้ย และลดค่างวดชำระหนี้ พร้อมเสริมสภาพคล่อง
สำหรับหนี้เดิม :
ลดค่างวด 75% (นาน 1 ปี)
ดอกเบี้ย 0% (นาน 3 เดือน) สำหรับสินเชื่อบ้าน/ธุรกิจเล็ก
SME ใหญ่: ช่วยเหลือตามเคส (ลดดอก/พักหนี้)
สำหรับกู้ใหม่ (เพื่อฟื้นฟู) :
ดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้น 0% นาน 3 เดือน (สำหรับกู้ซ่อมบ้าน)
สินเชื่อบุคคลและ SME ได้ดอกเบี้ยคงที่เรทพิเศษ นานสูงสุด 3 ปี
อีกทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังให้ความช่วยเหลือและติดตามการดูแลพนักงานของธนาคารพาณิชย์ และนำพนักงานคนไทยในกัมพูชากลับประเทศเพื่อความปลอดภัย รวมถึงมีการปิดสาขาชั่วคราวในพื้นที่ชายแดน แต่ประชาชนยังใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตามปกติ และยังไม่มีรายงานความเสียหายต่อสาขาของธนาคาร
เช็ก 35 สาขาธนาคารที่ปิดในจังหวัดใกล้ชายแดน
จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกได้ประกาศปิดสาขาชั่วคราวรวม 35 สาขา ใน 7 จังหวัด เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน ดังนี้
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ คือ สุรินทร์, บุรีรัมย์, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สระแก้ว, จันทบุรี และตราด
จำนวนสาขาที่ปิดทำการ (แยกตามธนาคาร) :
- ธนาคารกรุงไทย: 14 สาขา
- ธนาคารไทยเครดิต: 6 สาขา
- ธนาคารกสิกรไทย: 5 สาขา
- ธนาคารกรุงเทพ: 4 สาขา
- ธนาคารไทยพาณิชย์: 4 สาขา
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา: 2 สาขา
ทั้งนี้ ลูกค้ายังคงสามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Mobile Banking และ Internet Banking และสามารถตรวจสอบข้อมูลสาขาที่เปิดให้บริการได้ทางเว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย หรือ Call Center ของแต่ละธนาคารได้ตามปกติ
ที่มา :รัฐบาลไทย
อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : 7 ธนาคาร ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้รับผลกระทบชายแดน “ไทย-กัมพูชา” พักชำระหนี้ ปล่อยสินเชื่อให้กู้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- “วิโรจน์” ชมกองทัพทำดีแล้ว มองจุดอ่อนไทยอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศไร้มาตรการเชิงรุก
- มีคลิปหลักฐาน เงิน 12 ล้าน ถูกเคลื่อนจากห้อง "ทวีวัฒน์" ยันไม่เกี่ยวนิคมจะนะ
- รวบ 3 สาวเทศบาล ปลอมเอกสารผู้พิการ-ผู้ป่วย ถอนเงินกว่า 2 ล้าน เล่นหวยออนไลน์
- “โรม-เท้ง” บุกสระแก้วดูปัญหาชายแดนไทย - กัมพูชา พบช่องลอดคาดลักลอบเข้าออก
- โจทย์ใหญ่ Virtual Bank ไทย เมื่อ คลัง กับ แบงก์ชาติ คิดไม่เหมือนกัน ต้องเดินอย่างไรถึงเหมาะสม ?
ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath