โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘Geneva Convention: อนุสัญญาเจนีวา ว่าด้วยกฏและข้อปฏิบัติแห่งความขัดแย้ง’

GM Live

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • เว็บไซต์ว่าด้วยเรื่องราวของผู้ชาย เทรนด์ บทสัมภาษณ์ บทวิเคราะห์ธุรกิจ รถยนต์ Gadget สุขภาพ อัพเดทก่อนใคร

ล่าสุดเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ทวีความร้อนแรงไปสุดปรอท กัมพูชาเปิดฉากยิงทหารไทย และยิงอาวุธระเบิดข้ามฝั่ง มีประชาชนไทยได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง นั่นทำให้ ‘อนุสัญญาเจนีวา’ ถูกยกขึ้นมากล่าวถึง ว่าทางกัมพูชา ผิดอนุสัญญาในความขัดแย้งนี้หรือไม่

อนุสัญญาเจนีวา หรือ Geneva Convention คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่มนุษยชาติใช้เพื่อรักษาศักดิ์ศรีและความปลอดภัยของผู้บริสุทธิ์ในยามสงคราม เป็นอนุสัญญาที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อคุ้มครองชีวิตพลเรือน ทหารบาดเจ็บ และผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรบ

อนุสัญญาฉบับปัจจุบันประกอบด้วย 4 ฉบับหลัก และ พิธีสารเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมดังนี้:

  • ฉบับที่ 1: คุ้มครองทหารบาดเจ็บและเจ้าหน้าที่การแพทย์ในสนามรบทางบก

  • ฉบับที่ 2: คุ้มครองทหารบาดเจ็บในสงครามทางทะเล

  • ฉบับที่ 3: คุ้มครองเชลยศึก ไม่ให้ถูกทรมานหรือปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม

  • ฉบับที่ 4: คุ้มครองพลเรือนในพื้นที่ที่เกิดสงครามหรือถูกยึดครอง

โดยเฉพาะ ฉบับที่ 4 ถือเป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสู้รบ เช่น ผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาปี 2492 ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมด้วยพิธีสารอีกสามฉบับ

  • พิธีสาร 3 (ปี 2548) ว่าด้วยการรับสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม

  • พิธีสาร 1 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ

  • พิธีสาร 2 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันไม่ใช่ด้วยอาวุธระหว่างประเทศ

ในกรณีที่ทางกัมพูชา เปิดฉากโจมตีข้ามมายังฝั่งไทย กระสุนปืนครกตกใกล้โรงพยาบาลพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่ต้องปลอดภัยจากศึกสงคราม อาจจะเข้าข่ายการละเมิดอนุสัญญาเจนีวาอย่างร้ายแรง โดยกองทัพภาคที่ 2 ของไทย ได้ระบุว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 อย่างชัดเจนยิ่ง

ตาม อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 และ พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 การโจมตีโรงพยาบาล หน่วยแพทย์ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เพื่อช่วยเหลือพลเรือน ถือเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด การเจตนาโจมตีสถานที่เหล่านี้ถือเป็น อาชญากรรมสงคราม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ทางไทยก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องยื่นเรื่องนี้ ไปยังสหประชาชาติ เพื่อให้พิจารณาบทลงโทษของกัมพูชาที่มีต่ออธิปไตยของไทย และการละเมิดอนุสัญญาเจนีวา ที่ต้องมีการพิจารณาและวินิจฉัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์ อันเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การลงโทษต่อผู้ละเมิดอย่างเป็นกระบวนการ และเป็นขั้นตอน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก GM Live

‘Spring in Central Park: นิทรรศการใหม่ของศิลปินผู้หลงใหลธรรมชาติ’

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘เอ็มซีเพียวร่า ’ นิยามแห่งสมรรถนะเหนือระดับ

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

ศิลปวัฒนธรรม

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

ศิลปวัฒนธรรม

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

ศิลปวัฒนธรรม

โรงเลี้ยงเด็กแห่งแรกในสยาม ของพระอรรคชายาเธอใน ร.5 ที่มา “ตรอกโรงเลี้ยงเด็ก”

ศิลปวัฒนธรรม

3 ขุนศึกจากเมืองตาก นายทหารคู่พระทัย “พระเจ้าตาก” คราวกอบกู้เอกราชสยาม

ศิลปวัฒนธรรม

วีรกรรมทหารไทยใน "สมรภูมิบ้านพร้าว" กองทัพฝรั่งเศสอันเกรียงไกรพ่ายยับ

ศิลปวัฒนธรรม

“พาหุงมหากา” บทสวดที่กำเนิดขึ้นเพื่อ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

ศิลปวัฒนธรรม

ธรรมเนียม “อายุยืน” ของราชสำนักรัตนโกสินทร์ มีเกณฑ์ใดบ้าง?

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...