โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ยูนนาน” ไม่ได้เป็นจีนมาตั้งแต่แรก แล้วชาวจีน (ฮั่น) เข้ามาในยูนนานเมื่อไหร่ ยังไง?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
กลองมะโหระทึกในยูนนาน จำลองวัฒนธรรมชาวเยว่บนฝากลอง

พื้นที่มณฑลยูนนานของจีน ไม่ได้เป็นจีนหรือใช้วัฒนธรรมจีนมาตั้งแต่แรก แล้วชาวจีน (ฮั่น) เข้ามาในยูนนานตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร ? นี่คือประวัติศาสตร์ฉบับย่อของการเข้ามาเปลี่ยน “ยูนนาน” ที่เคยถูกมองว่าเป็นไพรเถื่อนแดนใต้ ให้กลายเป็น “จีน”

หลักฐานทางโบราณคดีและจดหมายเหตุต่าง ๆ เผยว่า ยูนนานก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อน ค.ศ.) ยังไม่มีคนจีนหรือรับวัฒนธรรมจีนเข้ามา แม้ก่อนยุคจิ๋นซีฮ่องเต้จะมีหลักฐานว่าชาวตงง้วน (จงหยวน-ศูนย์กลางอารยธรรมจีน) ติดต่อกับชนพื้นถิ่นในยูนนาน แต่ไม่ได้แปลว่าพวกเขาเริ่มโยกย้ายมาอาศัย

หลักฐานดังกล่าวคือที่มาของแร่โลหะในเครื่องสำริดจากสุสานยุคราชวงศ์ซาง ที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นแร่โลหะจากยูนนาน

หลังจิ๋นซีฮ่องเต้ส่งกองทัพแผ่อำนาจลงสู่ดินแดนทางใต้ เรื่อยมาถึงยุคราชวงศ์ฮั่น(206 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 220) จีนเข้ามาจัดตั้งเขตการปกครอง และส่งขุนนางมาดูแลพื้นที่บางส่วนของยูนนาน ทำให้ทหาร แรงงาน และพ่อค้า เริ่มเข้ามาอยู่ในยูนนานมากขึ้น แต่ชาวจีนยังเป็นคนส่วนน้อย และอาศัยอยู่ตามเส้นทางคมนาคม เช่น จ้าวทง ฉวี่จิ้ง รวมถึงแถบทะเลสาบเตียนฉือ กล่าวคือ ชาวจีนยังไม่ได้กระจายไปยังพื้นที่รอบ ๆ

ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ตงฮั่น(ฮั่นตะวันออก / ค.ศ. 25-220)ราชวงศ์จิ้น(ค.ศ. 226-420) และ ราชวงศ์หนานเป่ย(ราชวงศ์เหนือใต้ / ค.ศ. 420-589) เป็นเวลากว่า 6 ศตวรรษที่แผ่นดินตงง้วนภาคกลางของจีนเกิดสงครามและการจลาจลไม่หยุดหย่อน ราษฎรตกทุกข์ได้ยาก บางส่วนจึงอพยพหลบภัยลงใต้ ซึ่งหนึ่งในปลายทางของผู้อพยพเหล่านั้นคือดินแดนยูนนาน

ในยุคดังกล่าว ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของยูนนาน ทะเลสาบเตียนสือ และต้าหลี่ เป่าซาน ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานจนขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ชนชั้นนำของคนกลุ่มนี้สร้างเสริมอิทธิพล และจัดตั้งกองทัพของตนเองเรียกว่า “ปู้ชวี่” จดหมายเหตุประวัติศาสตร์เรียกพวกเขาว่า “หนานจงต้าซิ่ง”หรือตระกูลใหญ่แถบหนานจง

ตระกูล (แซ่) สำคัญ ๆ ที่เป็นหนานจงต้าซิ่ง ได้แก่ หั้ว ยง เหมิ่ง (เบ้ง) ลิ (ลื่อ) คนในแซ่เหล่านี้ปรากฏนามในจดหมายเหตุสามก๊ก หรือ “ซานกว๋อจื้อ” และสามก๊กฉบับหลอกว้านจง ซึ่งประพันธ์ช่วงปลายราชวงศ์หยวนต่อราชวงศ์หมิง (คริสต์ศตวรรษที่ 14) เช่น ยงคี เจ้าเมืองเกียมเหลง ลิคี เจ้าเมืองเองเฉียง รวมถึงเบ้งเฮ็ก ราชาแห่งหมาน

คนเหล่านี้คือผู้นำ “คนเถื่อน” แดนใต้ ที่ขงเบ้งนำทัพไปปราบปราม ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือชาวจีนที่อพยพลงมาก่อนหน้านั้น แต่เพราะต้องปกครองประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นคนพื้นถิ่น พวกเขาจึงใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นหลัก

ต่อมาในยุคราชวงศ์ถัง(ค.ศ. 618-907) ราชวงศ์ซ่ง(ค.ศ. 1960-1279) คนพื้นถิ่นในยูนนานตั้งตนเป็นอิสระในชื่อหนานเจ้า (น่านเจ้า) และต้าหลี่ตามลำดับ ช่วงนี้การโยกย้ายลงใต้ของชาวจีนลดลง แต่เพราะหนานเจ้ามักยกทัพตีเสฉวน แล้วกวาดต้อนผู้คนลงมายูนนาน ราชวงศ์ถังจึงส่งกองทัพไปตีหนานเจ้าหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เชลยศึกชาวจีนและทหารหนีทัพจำนวนหนึ่งจึงมาอยู่อาศัยและเป็นกลายเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองในยูนนานไปด้วย

เชื่อได้ว่าชาวจีนที่ถูกกวาดต้อน กับบุคลากรในกองทัพที่แตกพ่าย ย่อมมีบัณฑิตปัญญาชนปะปนอยู่ด้วย คนเหล่านี้เองมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนในยูนนาน

เมื่อถึงราชวงศ์หยวน(ค.ศ. 1271-1368) ของชาวมองโกล ยูนนานก็ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จักรวรรดิมองโกล มีการตั้งเขตการปกครองและส่งขุนนางจากส่วนกลางมาบริหารอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

แต่ยุคที่ยูนนานกลายเป็นจีนมากที่สุดคือในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ. 1368-1644) ปฐมจักรพรรดิจูหยวนจางส่งกองทัพ 300,000 นาย ลงมาปราบ “เหลียงหวาง” ผู้นำมองโกลในยูนนานเมื่อ ค.ศ. 1381 แม้ว่ากองทัพหมิงจะได้รับชัยชนะ แต่สงครามปราบปรามยิบย่อยกลับยืดเยื้อยาวนาน จนเสบียงอาหารไม่เพียงพอ จักรพรรดิจึงสั่งให้กระชับแนวรบ แบ่งกำลังส่วนหนึ่งไปทำนา อีกส่วนไปกะเกณฑ์ชาวนา และพานักโทษจากดินแดนอื่นส่งมาช่วยทำนาในยูนนาน จึงแก้ปัญหาเสบียงสนองกองทัพลงได้

7 ปีต่อมา ราชวงศ์หมิงก็ควบคุมดินแดนยูนนานได้อย่างสมบูรณ์

ก่อนราชวงศ์หมิง ไม่มีการทำสำมะโนประชากรในยูนนานอย่างจริงจัง จนเมื่อกองทัพหมิงพิชิตยูนนานได้ จึงมีหลักฐานว่า เมื่อ ค.ศ. 1393 ดินแดนนี้มี 59,536 ครัวเรือน เกณฑ์ไพร่ชายได้ 259,270 คน กระทั่ง ค.ศ. 1578 จำนวนครัวเรือนเพิ่มเป็น 135,560 ครัวเรือน กับไพร่ชายจำนวน 1,476,692 คน คือเพิ่มเป็น 5 เท่าในระยะเวลาไม่ถึง 2 ศตวรรษ

การเพิ่มขึ้นดังกล่าวย่อมมาจากทั้งการเพิ่มตามธรรมชาติ ชนพื้นถิ่นเข้ามาสังกัดมากขึ้น และชาวจีนอพยพลงมาอยู่มากขึ้น ซึ่งนักวิชาการยูนนานเชื่อว่า ปริมาณพลเมืองชาวจีนมากขึ้นจนเป็นสัดส่วนมากกว่าชนพื้นถิ่นครั้งแรกเกิดขึ้นกลางสมัยราชวงศ์หมิงนี่เอง

ในช่วงปลายราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิง(ค.ศ. 1644-1912) จำนวนคนจีนในยูนนานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะทหารจีนของขุนพลอู่ซานกุ้ยที่ถูกส่งมาปกครองยูนนานก็มีจำนวนหลายแสนคนแล้ว เมื่อรวมกับครอบครัวของทหารเหล่านี้ ย่อมมีคนจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูนนานพร้อมคณะของแม่ทัพผู้นี้นับล้านคนเลยทีเดียว

ชาวจีนฮั่นจึงมีสัดส่วนจำนวนประชากรมากที่สุดในมณฑลยูนนาน ท่ามกลาง “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งก็คือคนดั้งเดิมอีกกว่า 25 ชนชาติ แต่สภาพสังคมโดยรวมของยูนนานกลายเป็นจีนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

ทองแถม นาถจำนง. เผ่าไท – อ้ายลาว : ชนชาติจีนในยูนนาน.นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540.

เอมิล โรเชร์, ชูศรี สาธร แปล. (2505). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 77 ประวัติศาสตร์ยูนนาน และทางไมตรีกับจีน.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโทวินิต นิลศิริ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร 8 พฤษภาคม 2505.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 25 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ยูนนาน” ไม่ได้เป็นจีนมาตั้งแต่แรก แล้วชาวจีน (ฮั่น) เข้ามาในยูนนานเมื่อไหร่ ยังไง?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ 12 องค์ ในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว แทนกษัตริย์และเจ้านายองค์ใดบ้าง?

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

SOCIETY: ไม่ใช่วัยทอง! ให้เรียกว่าวัยแรกรุ่นของสาวใหญ่ ‘Cougar Puberty’ ศัพท์ใหม่ไวรัลใน TikTok ไว้เรียกปลอบใจสาวๆ วัยก่อนหมดประจำเดือน

BrandThink

แครอทกินดิบหรือกินสุกดี? เผยวิธีกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

sanook.com

เฉลิมพระเกียรติในหลวง สยามพารากอนจัดงาน “ทั่วหล้า เทิดไท้ ถวายใจสดุดี”

ประชาชาติธุรกิจ

ดินเนอร์ทอล์ก 3 ผู้นำไทย-จีน ฉายสัมพันธ์ ‘ฝ่าวิกฤต-สร้างโอกาส’

ประชาชาติธุรกิจ

Madame Tussauds เปิดตัวหุ่นขี้ผึ้ง 13 ตัวของ Taylor Swift ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก The Eras Tour

THE STANDARD

ทำความรู้จัก 10 สัตว์โลกสุดมีม ที่ชาวโซเชียลหลงรัก

กรุงเทพธุรกิจ

“The Louis” เซี่ยงไฮ้ จองไม่ทัน? แจกวิธีเข้าได้แม้ออนไลน์ขึ้นเต็ม!

SpringNews

โรคติดต่อที่ต้องระวังในหน้าฝน

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ยูนนาน” ไม่ได้เป็นจีนมาตั้งแต่แรก แล้วชาวจีน (ฮั่น) เข้ามาในยูนนานเมื่อไหร่ ยังไง?

ศิลปวัฒนธรรม

“เขมร” ปลายทาง “ท่านหญิงฉวีวาด” ใช้ลี้ภัยการเมืองสมัยรัชกาลที่ 5

ศิลปวัฒนธรรม

"เขมร" ไม่เรียกตัวเองว่า "ขอม" ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า "ขอม" มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...