โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นโยบายให้ ‘ครูเกินเกณฑ์’ ไปทำธุรการ จะช่วยแก้ปัญหา ‘ภาระงาน’ ที่ครูไทยกำลังแบกไว้ได้แค่ไหน?

The MATTER

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Education

จากปัญหาภาระงานครูไทยล้นเกิน ซึ่งคุณครูหลายคนต้องแบ่งเวลาไปทำงานด้านธุรการ การเงิน และพัสดุ แทนที่จะมีหน้าที่สอนนักเรียนอย่างเต็มที่ สังคมก็ตั้งคำถามกับระบบราชการครูว่า จะทำอย่างไรให้ภาระงานครูไทย ‘ตรงจุด’ เพื่อให้คุณครูสามารถทุ่มเทกับการสอนได้อย่างเต็มที่?

ล่าสุด ธนู ขวัญเดช เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่ากำลังพิจารณาแนวทางปรับลดภาระครู หลังการหารือร่วมกับ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

แนวทางดังกล่าวคือ ‘การเกลี่ยอัตราครูเกินเกณฑ์’ คือการเปลี่ยนตำแหน่งของครูที่เกินเกณฑ์ ให้ไปทำตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ตามมาตรา 38 ค.(2) ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 โดยเฉพาะงานธุรการ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนและประเภทของข้าราชการ ซึ่งจะเป็นภาระกับงบประมาณของประเทศในอนาคต

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็กล่าวว่า “แนวทางนี้ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มหรือบรรจุข้าราชการใหม่ ถือเป็นการบริหารจัดการอัตรากำลังที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราการเกิดที่ลดลง ส่งผลให้มีโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น และครูเกินเกณฑ์ในบางพื้นที่”

แล้วครูเกินเกณฑ์ที่พูดมาคืออะไร และแนวทางนี้จะแก้ปัญหาภาระครูล้นเกินได้จริงๆ หรือไม่? วันนี้ The MATTER ได้พูดคุยกับ ครูทิว–ธนวรรธน์ สุวรรณปาล จากกลุ่มครูขอสอน

ครูทิว–ธนวรรธน์ สุวรรณปาล (Photo by Fah Sirichanthanun)

นโยบายครูเกินเกณฑ์คืออะไร?

ครูทิวเล่าว่า ใน ‘เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา’ ตามหนังสือ ว23/2563 ของ ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลคุณครู รวมถึงข้าราชการในระบบการศึกษาทั้งหมด หรือทำหน้าที่คล้ายๆ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ของกระทรวงศึกษาธิการ จะมีการกำหนดว่า โรงเรียนแต่ละขนาดจะมีอัตรากำลังครู หรือบุคลากรอื่นๆ จำนวนกี่คน

ทั้งนี้วิธีคำนวณอัตรากำลังตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันนั้น จะอิงตาม ‘จำนวนนักเรียน’ ว่าโรงเรียนแต่ละแห่งเป็นสถานศึกษาขนาดไหน เพื่อกำหนดว่า สถานศึกษาแต่ละแห่งมี อัตราเกินเกณฑ์ พอดีเกณฑ์ หรือขาดเกณฑ์ โดยครูทิวระบุว่า หนึ่งในปัญหาของการคำนวณอัตรากำลังคือ “เขาไม่ได้สนใจวิชาเอก” ไม่ว่าจะในโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็กก็ตาม แต่จะสนใจเพียงจำนวนหัวของข้าราชการครู ว่าต้องมีกี่คนต่อจำนวนนักเรียน

ครูทิวยกตัวอย่าง กรณีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 40 คน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ราว 5,000 แห่ง ว่าหากคำนวณตามเกณฑ์ข้างต้นแล้ว จะมีอัตราครูอยู่ 4 อัตรา แต่ถ้าโรงเรียนนั้นมีครูอยู่ 5 คน ก็จะเรียกว่า อัตราเกินเกณฑ์ ซึ่งคุณครูที่เกินเกณฑ์ 1 คนนั้นอาจถูกเกลี่ยไปทำงานธุรการ ตามการตีความแนวทางปรับลดภาระครูของ ก.ค.ศ.ข้างต้น

แก้ไขหรือซ้ำเติมปัญหา?

ครูทิวชี้ว่า ในความเป็นจริงแล้วโรงเรียนขนาดเล็กอาจไม่ได้มีครูเกินเกณฑ์ตามที่คาดไว้ พร้อมกล่าวว่า “ผมเชื่อว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ เผลอๆ จำนวนข้าราชการครู ขาดด้วยซ้ำ” และแม้จะมีครูเกินเกณฑ์จริงๆ ระบบการจัดสรรก็อาจจะล่าช้า จนครูทิวระบุว่า “ถึงมันมี (ครูเกินเกณฑ์) แล้วเราต้องรอถึงเมื่อไหร่ กว่าจะได้จัดสรรกลับมาเป็นเจ้าหน้าที่ที่มาอยู่ประจำโรงเรียน”

“ถ้าจะเอาวิธีคิดแบบนี้ มันไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วนได้แน่ๆ” ครูทิวระบุ

**นอกจากจะแก้ไขปัญหาโดยเร็วได้ยากแล้ว ครูทิวยังตั้งคำถามว่า เกณฑ์อัตรากำลังที่ ก.ค.ศ.ตั้งไว้แต่เดิม ก็เป็นปัญหากับภาระงานโรงเรียนอยู่แล้วหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง ที่แม้จะมีนักเรียนต่ำกว่า 40 คนก็จริง แต่ส่วนใหญ่อาจเป็น ‘โรงเรียนประถม’ ที่มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถามศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งคุณครู 4 คนตามที่ว่ากำหนดไว้อาจถูกจัดลำดับตามเอก ได้แก่ ประถมศึกษา ปฐมวัย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคม และวิทยาศาสตร์

“นั่นหมายความว่า หลักสูตรประถมศึกษาที่อยู่แบบกลุ่มสาระ ครูก็ไม่ครบกลุ่มสาระ”



ครูทิวระบุว่า นี่อาจเป็นการคำนวณครูตามจำนวนนักเรียน ที่ “ไม่ได้คิดตามภารกิจของโรงเรียน” ดังนั้นแทนที่แนวทางเกลี่ยจำนวนครูเกินเกณฑ์ออกไป จะสามารถแก้ปัญหาภาระด้านธุรการของคุณครู แต่ครูทิวมองว่า อาจสร้างปัญหาขาดแคลนคุณครู จนผู้สอนไม่สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างครอบคลุม

“ในสภาวะที่ครูต้องเผชิญอยู่หน้างาน ทั้งอยู่กับเด็ก ทั้งอยู่กับภาระที่ข้างบนสั่งลงมาให้โรงเรียนทำ คนมันไม่พอหรอก” ครูทิวระบุว่า นอกจากวิธีนี้จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ยากแล้ว อาจยังไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและตรงจุดอีกด้วย

**อย่างไรก็ตาม นอกจากอัตรากำลังข้าราชการครูแล้ว หนังสือ ว23/2563 ยังกำหนดเกณฑ์อัตรากำลัง ‘บุคลากรอื่นๆ’ ที่มาสนับสนุนการศึกษา โดยกำหนดว่า แต่ละโรงเรียนต้องมีบุคลากรอื่นๆ กี่คนต่อจำนวนนักเรียนกี่คน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ “หลักเกณฑ์มันมี แต่เขาไม่ได้จัดสรรอัตรากำลัง” ด้วยเหตุผลว่ากรอบงบประมาณมีจำกัด

“โรงเรียนส่วนใหญ่ ที่มีเจ้าหน้าที่ (สนับสนุนการศึกษา) ที่ทำงานอยู่ที่โรงเรียน เป็นเงินได้ของโรงเรียนเอง ไม่ใช่เงินที่จัดสรรจากเขต หรือเงินงบประมาณ” ครูทิวชี้ว่า ส่วนใหญ่โรงเรียนใหญ่ๆ หลายแห่งจะใช้ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษาที่หามาเอง หรือแม้กระทั่งเงินทอดผ้าป่า ในการจ้างบุคลากรสนับสนุนการศึกษา ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนในชนบท ยังคงขาดแคลนตั้งแต่เจ้าหน้าที่สนับสนุนการศึกษา จนถึงคุณครูผู้สอน

กลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่คุณครูหลายคนต้องสอนควบชั้นเรียนและสอนหลายวิชา ซึ่งครูทิวกล่าวว่า “นึกภาพว่า เราจะต้องสอนหลายๆ วิชา และเด็กหลายๆ ชั้น ในการวางแผนเตรียมการเรียนการสอน ทั้งความละเอียดลออที่จะดีไซน์ให้เด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มันก็หนักสาหัส ไหนจะพฤติกรรมผู้เรียนอีก ไหนจะผู้ปกครองอีก แล้วคุณก็ต้องมาแบกงานธุรการอีก”

แล้วทางออกปัญหาอันรุมเร้าเช่นนี้คืออะไร? มีทางไหนบ้างที่ครูไทยจะได้สอนหนังสือได้ โดยไม่ต้องทำงานธุรการควบคู่ไปด้วย?**


ข้อเสนอระยะสั้น-ยาว

ครูทิวเสนอวิธีแก้ปัญหา 2 ประการ ได้แก่ แนวทางในระยะสั้นและระยะยาว

แนวทางเร่งด่วนในระยะสั้นคือ ลดภารกิจของโรงเรียน โดยย้อนมองว่า ในระบบการศึกษายังมีระเบียบ ข้อบังคับ หรือขั้นตอนอะไรบ้างที่ไม่จำเป็น และเราสามารถตัดออกได้ เหมือน “ไขมันส่วนเกินที่เรารีดมันออกได้”

รวมถึงการตัดโครงการที่สร้างภาระส่วนเกินให้กับครู และไม่ได้ส่งผลต่อเด็กโดยตรง เพื่อให้ครูสามารถสอนตามหลักสูตรได้ครอบคลุมก่อนจะไปทำงานอื่นๆ เพราะ “มันไม่ใช่แค่เป็นกิจกรรมอย่างเดียว แต่มันก็ต้องมาทำรายงาน ต้องการตัวเลข 100% เพื่อรายงานให้กับเขต”

“เอาอะไรที่อยู่บนบ่าครู ที่มันไม่จำเป็น ที่มันไม่ได้ส่งผลต่อผู้เรียน เอาออกไปก่อน” ครูทิวย้ำ

**ส่วนแนวทางระยะยาวคือ ทบทวนการจัดสรรอัตรากำลังครู ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ว่าจะต้องแก้ไขหลักคิดหรือการคำนวณอะไรบ้าง เพื่อให้จำนวนคุณครูเพียงพอต่อภาระงาน โดยพิจารณาจากภารกิจหน้างานจริงๆ ว่าโรงเรียนมีภาระงานอะไรบ้าง เพื่อวางระบบอัตรากำลังข้าราชการครูอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ครูทิวมองว่าต่อจากนี้ไปอีก 10 ปี จำนวนนักเรียนอาจลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดต่ำลง แต่งบประมาณการศึกษาไม่ควรลดลงไปด้วย เพราะหากจะพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณภาพ จำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างการศึกษาทั้งหมด และการลดงบประมาณออกไป อาจทำให้การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเป็นไปได้ยากขึ้น

และหากจะพูดถึงแนวทางที่กว้างขึ้นไปอีก ครูทิวเสนอการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง ด้วย ‘การกระจายอำนาจ’ โดยให้หน่วยงานท้องถิ่นผู้คุ้นเคยและใกล้ชิดกับปัญหา เข้ามาดูแลโรงเรียนได้เอง เพราะทุกวันนี้ “ครูก็รับใช้เจ้านายกี่คนไม่รู้ ที่เราไม่ได้มีสิทธิเลือกมาด้วยซ้ำ” นับเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่หลายประเทศนำมาใช้แก้ไขปัญหาในระบบการศึกษา

ครูทิวกล่าวปิดท้ายว่า แม้แนวทางนี้จะไม่สามารถเป็นไปได้ในเร็วๆ นี้ “แต่มันก็ต้องอาศัยการปฏิรูปทางการเมืองไปด้วย” เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของครูไทยได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิงจาก

matichon.co.th

theactive.thaipbs.or.th

Editor: Thanyawat Ippoodom

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

เห็นด้วยไหม? รัฐบาลอินเดียออกนโยบายจำกัดการลดอุณหภูมิแอร์ไม่ให้ต่ำกว่า 20 องศาฯ เพื่อประหยัดพลังงาน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Data Center ที่ออสเตรเลีย ต้องใช้น้ำในระดับเดียวกับที่ประชาชน 330,000 คนบริโภคต่อปี

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ถูกหวยได้รางวัลใหญ่ ต้องรู้! วิธีเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ฐานเศรษฐกิจ

รัฐบาลทรัมป์ล้มแผนรายงานโลกร้อนบนเว็บ NASA โดนจี้ปิดบังข้อมูล

ฐานเศรษฐกิจ

ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

รฟท.เปิด3ทาง ทวงเขากระโดง ภท.เมินฮั้วสว.

ไทยโพสต์

ยกเลิกตั้งสมณศักดิ์81รูป แจ้ง3ข้อหาหนักสีกากอล์ฟ

ไทยโพสต์

รบ.โต้สหรัฐใช้ฐานทัพ เลื่อนเคาะ‘ผู้ว่าธปท.’

ไทยโพสต์

เขมรป่วนเช็กกำลังไทย

ไทยโพสต์

คดีชั้น14ใกล้น็อก! ซัก6บิ๊กราชทัณฑ์มัดทักษิณ/หนูปัดปั่นวาทกรรมขายชาติ

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

ฟังความทุกข์ที่ ‘ครูการเงิน’ ต้องเผชิญ จากปัญหาบั่นทอนจิตใจสารพัด จนงานนี้ “เป็นตำแหน่งที่ไม่มีใครอยากทำ”

The MATTER

รวมไอเดียการสอนสุดปังขนาดคนดังยังชอบ

The MATTER

‘สนามเด็กเล่น’ ในพรมแดนการเติบโตของเด็กและเยาวชนลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ชุมชนมุสลิม แม่สอด

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...