โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

‘บัตรทอง 30 บาท’ ถึงเวลา ‘ร่วมจ่าย’ ควรปรับแก้พ.ร.บ.ที่ใช้มา 20 ปี

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับในปีงบประมาณ 2569 อยู่ที่ราว 2.65 แสนล้านบาท หักเงินส่วนของเงินเดือนราว 71,000 ล้านบาท เหลืองบประมาณที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)นำมาบริหารจัดการราว 1.93 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ สปสช.ได้จัดทำ(ร่าง) ประกาศการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2569 (งบขาลง 2569) โดยหนึ่งในประเด็นที่มีการปรับปรุงใน(ร่าง)ประกาศนี้ คือ การสุ่มตรวจสอบเวชระเบียนเพื่อนำมาพิจารณาปรับค่าใช้จ่ายสำหรับบริการผู้ป่วยในทั่วไป เป็นต้น และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการนั้น ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.)ในวันที่ 4 ส.ค.2568

งบผู้ป่วยในเพิ่มแค่ 3.5 %

นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการรพ.ราชบุรี และอดีตประธานชมรมรพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณปี 2569 พบงบเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นเพียง 9.09% ขณะที่ค่าบริการนอกงบเหมาจ่ายรายหัว หรือกลุ่มนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มขึ้นถึง 22. 70%

หากแยกประเภทย่อยจะเห็นว่างบผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นแค่ 3.5% แต่งบหน่วยนวัตกรรมเพิ่มขึ้นถึง 72.9% ซึ่งเชื่อว่าอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์บริหารกองทุนฯ คงไม่มีเวลาดูรายละเอียดหรือไม่ เพราะข้อมูลทั้งหมดสปสช.เป็นคนเสนอไป

ส่วนกรณีการสุ่มตรวจเวชระเบียนไม่มีใครเถียงว่าเวชระเบียนควรมีคุณภาพ ควรต้องมีการสุ่มตรวจสอบ ไม่มีใครไม่ให้สุ่มตรวจ แต่วิธีการสุ่มตรวจเวชระเบียน ควรจะมีวัตถุประสงค์ คือ 1. การให้บริการจริงหรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่มีการให้บริการจริง เรื่องนี้ สปสช. ต้องตรวจสอบให้ได้ 2. การบันทึกเวชระเบียนให้มีคุณภาพ ต้องอ่านออกและต้องเขียนรายละเอียดให้ชัด มีลายเซ็นให้ครบ เรื่องนี้เป็นเรื่องคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ไม่ได้บอกว่าไม่ได้ให้บริการ แต่สปสช. พยายามจะเอาการบันทึกคุณภาพมาเป็นหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ซึ่งไม่ควรเอาเรื่องประเมินคุณภาพมาเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินทั้ง 100% เพราะไม่แฟร์กับรพ.

ควรปรับแก้พ.ร.บ.บัตรทองใช้มากว่า 20 ปี

สำหรับข้อเสนอ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะสั้น ต้องยอมรับว่าการบริหารต้องปรับรูปแบบใหม่ ,ของบเพิ่ม กรณีรักษาผู้ป่วยจริงผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงหยุดเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ที่ไม่จำเป็นจนกว่าบริการที่จำเป็นได้รับงบเพียงพอ และคลินิกอบอุ่นต้องหาแนวทาง risk pooling & sharing
  • ระยะกลาง นำต้นทุนมาใช้ตามมาตรา 46(1) หรือศึกษาต้นทุนโดยเร็ว ซึ่งตามที่รมว.สาธารณสุขกำหนดให้มีกรรมการศึกษาต้นทุนนั้นยังไม่เห็นความคืบหน้า
  • ระยะยาว ต้องปรับแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่ใช้มากกว่า 20 ปี

ถึงเวลาส่งเสียงให้ “ร่วมจ่าย”

ด้าน นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. กล่าวว่า พ.ร.บ.ได้มีการเขียนว่าสามารถให้ร่วมจ่าย (Co-payment)ได้ ซึ่งมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องร่วมจ่าย เป็นกระบวนการให้เกิดความยั่งยืนให้ทุกอย่างทำได้ต่อ เพราะหากปล่อยให้บริการฟรีไปตลอด ไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อไหร่จะมีบริการที่ดี ซึ่งการร่วมจ่ายเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องสะท้อนออกไป ต้องส่งเสียงไปที่ฝ่ายการเมือง

“ต้องช่วยกันส่งเสียงว่าวันนี้ถึงเวลาของการร่วมจ้ายแล้ว ซึ่งทุกวันนี้หลายรพ.ก็ทำกันอยู่ โดยเก็บเงินจากคนไข้ แต่เมื่อเรื่องมาถึงสปสช.ก็สั่งให้คืนเงิน ซึ่งผมได้คุยในบอร์ดควบคุมฯว่าเรื่องนี้จะดำเนินการอย่างไร เพราะถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจะมีคนไข้รู้ว่าแม้จ่ายเงินให้รพ.แต่เมื่อเรียกร้องก็จะได้เงินคืน”นพ.ธงชัยกล่าว

ยกตัวอย่าง กรณีรพ.จุฬาลงกรณ์มีคนไข้สะสมใบเสร็จเก็บไว้ 5 ปีแล้วมาขอเรียกเงินคืนแล้วรพ.ไม่ได้ให้คืน ก็ร้องเรียนมาที่สปสช. ซึ่งตามกฎหมาย ตามระเบียบก็สั่งให้รพ.จ่ายคืน จึงมองว่าถึงเวลาต้องแก้หรือดำเนินการอะไรบางอย่าง โดยต้องการการหารือกันอย่างมากและอย่างจริงใจ

เสนอใช้ระบบดีวาด (Divad)

นพ.วราการ คำน้อย ผอ.รพ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี กล่าวว่า การให้บริการด้านปฐมภูมิหากเราสามารถใช้วิธีการเป็นระบบดีวาด (Divad) ได้หมายถึงว่า ในกรณีที่เป็นงบผู้ป่วยรายหัวที่ให้บริการพื้นฐานอยู่แล้วสามารถเพิ่มเข้าไปได้ในกลุ่มที่ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดี อาจจะตั้งเป้าว่าในแต่ละพื้นที่สามารถให้บริการให้ประชาชนสุขภาพดีได้มากเท่าไหร่ โดยหลักเกณฑ์ต่างๆ สปสช. มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วในการกำหนด ถ้าเกิดพื้นที่ไหนสามารถทำได้สำเร็จอาจเป็นระบบดีวาด (Divad)

เห็นด้วยควรให้ “ร่วมจ่าย"

ขณะที่ นพ.เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา รองผอ.สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ภายใต้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดควรใช้เท่าที่จำเป็น ซึ่งทุกคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน โดยคนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาก็ดูแลเต็มที่แบบไม่ต้องร่วมจ่าย ส่วนคนที่สามารถจ่ายได้ก็ควรให้การสนับสนุนจ่าย ก็อยากให้ช่วยจ่าย

“ยิ่ง รพ.มีการพัฒนามากขึ้น คนไข้แต่ละรพ.ก็มีมากขึ้น เพราะเมื่อบริการดีก็จะมีผู้ใช้บริการเพิ่ม ซึ่งถ้าหากคนไข้มีการสนับสนุนให้รพ.ได้บางส่วน คิดว่าเป็นประโยชน์และทำให้รพ.มีแรงต่อไป" นพ.เกรียงไกร กล่าว

จ่ายชดเชยค่าผู้ป่วยนอก-ในไม่พอ

พญ.นันทวัน ชอุ่มทอง นายกสมาคมคลินิกชุมชนอบอุ่น กล่าวว่า ข้อเสนอที่สำคัญส่วนหนึ่ง อาทิ

1.กำหนดให้ชัดเจน กรณีงบประมาณผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในไม่เพียงพอระหว่างปี เสนอให้สปสช.ใช้เงินกองทุนจากรายการและประเภทบริการอื่นจ่ายไปก่อน หากไม่พอของบประมาณเพิ่มทดแทนในปีถัดไป หรือหากเหลือ ก็จ่ายเงินคืนเข้ามาในรายการประเภทอื่นๆที่ยืมมาจ่ายในระหว่างปีไปก่อน จะทำให้งบประมาณเพียงพอ

2.ขอให้แยกงบประมาณค่าใช้จ่ายการจัดบริการปฐมภูมิไว้ต่างหาก ให้คลินิกดูแลในส่วนที่มีศักยภาพเท่าที่ทำได้ เสนอให้ต้องแยกงบค่าส่งต่อ

3.งบค่าเสื่อม เสนอให้เป็นค่าเช่าอาคารสถานที่ในแต่ละปีงบประมาณหรือครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อให้การจัดบริการสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4.การปรับลดค่าแรงภาครัฐ มีผลกระทบกับกองทุนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบริการภาคเอกชน ควรมีการสรุปเป็นรายเดือนให้ชัดเจน

“ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีการตรวจสอบพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายผิดกองทุน ทางสปสช.ควรวางระบบ ให้ชัดเจน เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดในการจัดสรรงบประมาณ ไปยังหน่วยที่ ต้องมาพิสูจน์ ในภายหลังว่าไม่ได้ให้บริการจริงหรือรหัสจับคู่ยาผิดพลาดหรือนํารายการกิจกรรมผู้ป่วยในมาเบิกงบผู้ป่วยนอก”พญ.นันทวันกล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'สุรเดช' ยกคำ 'บิ๊กป้อม'ตอบโต้ กัมพูชา สมน้ำสมเนื้อ ทหารไทย เหยียบกับระเบิด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'ยุโรป' ตามรอยสหรัฐ ขึ้นค่าธรรมเนียมเข้าเมือง 3 เท่า! ในระบบ ETIAS

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“พาณิชย์”แจงข่าวราคามังคุด ยันมาตรการเชิงรุก ดันราคาดีดตัวสูงทะลุโลละ 100 บาทจริง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กต.แจงทูตทั่วโลก ทุ่นระเบิดกัมพูชา ไทยประท้วงให้รับผิดชอบ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

เช็คเลย! อาการแบบนี้ร่างกายกำลังขาดวิตามิน

สยามรัฐวาไรตี้

รักษาหลุมสิวใช้เวลานานไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

new18
วิดีโอ

เตือนสายไดเอต! เด็กสาววัย 16 เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังใช้วิธีลดน้ำหนักสุดโหด

WeR NEWS

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันร้ายไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีโรคเพียบ

Amarin TV

ครีมกันแดด Chemical VS Mineral: ดูดซับ VS สะท้อน รังสียูวี จริงหรือ !?

Amarin TV

ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

BT Beartai

สุ่มตรวจเวชระเบียน ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดการรักษาเกินจำเป็น

ฐานเศรษฐกิจ

CIB ผนึก อย. บุกลาดกระบังทลายโกดังสินค้าจีน พบของใช้ในครัวเรือน - เครื่องสำอางเถื่อนเพียบ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...