โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ผู้นำยุค AI ไม่ใช่แค่มีหัวคิด แต่ทักษะ Empathy สำคัญกว่าที่เคย?

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผู้นำยุค AI ต้องมี “หัวใจ” ไม่ใช่แค่มี “หัวคิด” เมื่อทุกวันนี้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานแทนเราได้เกือบทุกอย่าง ทักษะที่องค์กรต้องการมากที่สุดกลับเป็นสิ่งที่เครื่องจักรไม่มี นั่นคือ ความตระหนักรู้ในตัวเอง ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และความสามารถในการนำทีมด้วยความเข้าใจมนุษย์ หัวหน้าที่ดีในยุคนี้จึงต้องกล้าพัก กล้าฟัง ทำความเข้าใจคนอื่นในทีม ในยุคที่เทคโนโลยีฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ความเป็นมนุษย์ต่างหากที่เป็นแต้มต่อขององค์กร

ตามรายงาน Future of Jobs 2025 โดย World Economic Forum (WEF) ส่งสัญญาณชัดเจนว่า “อนาคตของงาน” จะไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับทักษะที่เป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ต่างหาก

ทั้งนี้ ทักษะมนุษย์ที่เป็นที่ต้องการสูงในปี 2030 มีอยู่ 6 ทักษะ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์, ความคิดสร้างสรรค์, ความยืดหยุ่น, ความตระหนักรู้ในตนเอง, แรงจูงใจจากภายใน และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งในจำนวนนั้น มีถึง 4 ข้อที่เป็นทักษะด้านอารมณ์และจิตใจที่ลึกซึ้ง สะท้อนว่าความเป็นมนุษย์ไม่ได้ถูกแทนที่โดย AI แต่กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ทำไม “การรู้จักตัวเอง” จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของผู้นำยุคใหม่

ในบรรดาทักษะมนุษย์ทั้งหมด “ความตระหนักรู้ในตนเอง” หรือ self-awareness คือรากฐานของความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy) และการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วม เนื่องจากโลกการทำงานวันนี้ทุกอย่างหมุนเร็วเปลี่ยนแปลงไว ผู้นำที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นแรงขับเคลื่อนตัวเอง หรือไม่เห็นจุดบอดของตัวเอง มีโอกาสสูงที่จะล้มเหลวหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ตลอดสิบปีที่ผ่านมา แพทริเซีย อาร์โบเลดา (Patricia Arboleda) ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Arboleda Coaching โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ ตามหลักประสาทวิทยาเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เธอพบว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจริงๆ ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดในห้อง แต่คือคนที่นำทีมด้วยความชัดเจน ความอ่อนน้อม และมี EQ สูง พวกเขารู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด เมื่อไหร่ควรตอบโต้ด้วยสติ ไม่ใช่อารมณ์

แนวคิด "Chameleon Leadership" หรือการเป็นผู้นำที่ยืดหยุ่นแบบกิ้งก่า ซึ่งสามารถสลับบทบาทระหว่างความเด็ดขาดกับความเห็นอกเห็นใจ หรือความมั่นใจกับความเปราะบาง ได้รับความสนใจมากขึ้นในการทำงานยุคปัจจุบัน เพราะสมัยนี้องค์กรไหนๆ ก็ต้องการผู้นำที่ “ครบเครื่อง” ไม่ใช่แค่ตามสูตรสำเร็จ

เมื่อย้อนดูทักษะที่ WEF ยกให้เป็นทักษะแห่งอนาคต เช่น ความยืดหยุ่น ความเห็นอกเห็นใจ หรือการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หลายงานวิจัยพบว่า ทักษะเหล่านี้มักพบได้ในผู้นำหญิงมากกว่า แต่กลับถูกมองข้ามในอดีต วันนี้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ

โค้ชผู้เชี่ยวชาญอย่าง แพทริเซีย ก็เคยผ่านช่วงเวลาที่ใจพัง ร่างกายพัง จากการทำงาน จนต้องหยุดพักเพราะปัญหาสุขภาพ และนั่นทำให้เธอได้กลับมามองเห็นคุณค่าของ “ความอ่อนโยน” เช่น การพักผ่อน ความเมตตาต่อตัวเอง และการทบทวนชีวิต ฯลฯ ในอดีตเธอเคยมองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นจุดอ่อน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นพลังสำคัญในวันที่ต้องฟื้นตัวให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้หญิงยังขาดพื้นที่ในการขึ้นเป็น 'ผู้นำ' แม้จะมีทักษะที่โลกต้องการ

แม้เราจะรู้แล้วว่าทักษะอย่าง EQ และการปรับตัว คือสิ่งที่องค์กรต้องการ แต่ผู้หญิงยังคงมีบทบาทน้อยในตำแหน่งผู้นำ โดยเฉพาะในตำแหน่งงานระดับสูง (กลุ่ม C-Suite) ยืนยันจากรายงานของ Gallup ปี 2025 ที่พบว่า ความผูกพันของผู้จัดการทั่วโลกกำลังลดลง จาก 30% เหลือ 27% และในจำนวนนี้ ผู้หญิงกลับมีอัตราความผูกพันการลดลงมากกว่าผู้ชายถึง 7 จุด

ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง เหตุเพราะระบบยังคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ แต่กลับไม่รองรับภาระทางอารมณ์ที่ตามมา ถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องออกแบบระบบใหม่ สร้างโอกาสให้ผู้หญิงนำทีมได้อย่างเต็มศักยภาพ

ในขณะที่รายงาน Global Culture Report ล่าสุดระบุว่า องค์กรที่เน้นความฉลาดทางอารมณ์และสุขภาวะจิตใจ จะสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรง มีความไว้ใจ ลดอัตราหมดไฟ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

Gallup ยังเผยว่า มีพนักงานเพียง 23% ที่รู้สึก “มีส่วนร่วม” กับงาน ขณะที่อีก 77% กำลังเบื่อ หมดใจ หรือไม่รู้สึกมีคุณค่า ซึ่งกำลังทำให้องค์กรทั่วโลกสูญเสียรายได้รวมกว่า 8.8 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

การพัฒนาผู้นำให้เก่งแต่เรื่องงานไม่พอ แต่ต้องเพิ่มเติมทักษะมนุษย์

แม้องค์กรจะลงทุนกับหลักสูตรพัฒนาผู้นำมากมาย แต่ Gartner รายงานว่า มีเพียง 36% ของฝ่าย HR ที่เชื่อว่าหลักสูตรเหล่านี้จะช่วยเตรียมผู้นำให้พร้อมกับความท้าทายในอนาคต โดยตามรายงานยังชี้ถึงผลสำรวจที่น่าสนใจไว้ว่า

แม้ 23% ของฝ่าย HR บอกว่ามีผู้นำรุ่นใหม่พร้อมขึ้นมา แต่ 70% ของพวกเขาเชื่อว่าสายผู้นำระดับกลางยัง “อ่อนแอ” เพราะหลักสูตรส่วนใหญ่ยังเน้นแค่ “ผู้นำต้องทำอะไร” ไม่ใช่ “ตัวตนผู้นำเป็นอย่างไร” ซึ่งนั่นยังไม่ลึกพอที่จะเปลี่ยนวิธีคิดหรือเพิ่มความยืดหยุ่นทางอารมณ์

โค้ชผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำ ยืนยันว่า การโค้ชผู้นำด้วยศาสตร์สมอง (neuroscience) คือกุญแจสำคัญ เพราะเมื่อผู้นำเข้าใจการตอบสนองของสมองและระบบประสาท พวกเขาจะหยุดทำงานแบบอัตโนมัติ (ตอบสนองตามอารมณ์และความเคยชิน) และเริ่มเลือกวิธีตอบสนองอย่างมีสติมากขึ้น

ท้ายที่สุด เมื่อผู้นำฝึกการบริหารงานแบบมีสติ มีความยืดหยุ่น และมี Empathy เป็นประจำจนเป็นนิสัย ต่อไปในการทำงานพวกเขาจะไม่พยายามฝืนหรืออดทนเพียงอย่างเดียว แต่จะจัดการพลังงานตัวเอง เชื่อมโยงกับทีมได้จริงใจ และมีความยืดหยุ่นที่แท้จริงจากภายใน ซึ่งทำให้องค์กรเดินหน้าต่อได้ยั่งยืน

อ้างอิง: Forbes, Researchgate, Gallup, Global culture report, Gartner

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

TACP โอนหุ้นหลักทรัพย์ให้ TTB รับ 2 พันล้าน จำนวน 2,698 ล้านหุ้น สิ้นสุดบริษัทย่อย

45 นาทีที่แล้ว

'คณะรวมพลังแผ่นดิน' มอบ คปท. ไล่ 'แพทองธาร' รอเคลื่อนใหญ่ ส.ค.นี้

47 นาทีที่แล้ว

'เวียดนาม' เปลี่ยนกฎหมายขอสัญชาติ 'พลเมือง-ต่างชาติ' ถือ 2 สัญชาติได้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ก.ต.เคาะชื่อ ‘อดิศักดิ์ ตันติวงศ์’ ประธานศาลฎีกา คนใหม่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

7 สิ่งที่แมวทำ เขากำลังจะบอกอะไรกับคุณ ทาสแมวจำเป็นต้องรู้

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

FENDI ICONSIAM บูติกที่ผสมการตกแต่งระหว่างไทยกับอิตาลี

THE STANDARD

BALENCIAGA เปิดร้านสาขาที่ 6 ในไทย ณ ICONSIAM กับขนาด 375 ตารางเมตร

THE STANDARD

ฮยอนจู ‘ออนนี่’: หญิงแกร่งแห่ง Squid Game ที่นักแสดงชาย ‘พัคซองฮุน’ อยากให้คนดูทุกเพศเข้าใจ รับฟัง เอาใจช่วย ‘หญิงข้ามเพศ’ ซึ่งผ่านเรื่องยากๆ ไม่ใช่แค่ในซีรีส์ แต่รวมถึงชีวิตจริง

Mirror Thailand

สามเณรี คือใคร เส้นทางนักบวชหญิง ทำไมยากกว่าผู้ชาย ต้องถือศีลกี่ข้อ

Thaiger

รักต่างชนชั้นของลูกเศรษฐีกับช่างยนต์ ความโรแมนติกที่เป็นจุดกำเนิดของ ‘Mercedes-Benz’

Reporter Journey

จับเข่าคุยกับ Gother แพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย ที่หวังเป็นทางเลือกของนักเดินทาง

The Momentum

นิวยอร์กมี น้ำพุเท้าสีชมพู ประติมากรรมสูง 3.5 เมตร ให้คนมีส่วนร่วมด้วยการปั่นแท่น น้ำจะพุ่งออกมาตามแรงปั่น

CatDumb

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...