โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

BOI จัด 5 มาตรการ เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย

หุ้นวิชั่น

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • HoonVision | หุ้นวิชั่น - หุ้น ข่าวหุ้น หุ้นไทยวันนี้ หุ้นวันนี้ หุ้นเด่น วิเคราะห์หุ้น ธุรกิจ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน ดัชนีราคาหุ้น

หุ้นวิชั่น - บีโอไอ ระดมออกแพ็กเกจส่งเสริมลงทุน หนุนผู้ประกอบการไทยปรับตัว รับมือมาตรการภาษีของสหรัฐฯ และสงครามการค้า ในโลกยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง มุ่งเสริมศักยภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยเข้าสู่ Supply Chain โลก พร้อมทั้งเร่งกิจกรรมจับคู่สร้างเครือข่ายธุรกิจ ขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ คว้าโอกาสท่ามกลางวิกฤต

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตั้งแต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เริ่มประกาศนโยบายเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวล ประกอบกับสถานการณ์การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา บีโอไอได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าใจปัญหาและหาแนวทางบรรเทาผลกระทบ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ออกมาตรการชุดใหญ่ ภายใต้ชื่อว่า มาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับโลกยุคใหม่” เพื่อตอบโจทย์ 2 เรื่องสำคัญ คือ (1) สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้าง Supply Chain ในประเทศให้แข็งแกร่ง พร้อมรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และ (2) ลดความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของสหรัฐอเมริกา และจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม โดยมี 5 มาตรการย่อย ดังนี้

มาตรการที่ 1 มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับ SMEs ไทย ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้สามารถลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัย การใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยยกระดับกิจการ การประหยัดพลังงาน การยกระดับสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ SMEs ไทยเป็นพิเศษ จากเดิมยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ในวงเงินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพ

มาตรการที่ 2 มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย (Local Content) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีช่องทางการขายที่กว้างขวางขึ้น และสามารถเชื่อมต่อกับบริษัทต่างชาติเพื่อเข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก ผ่านการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทจะต้องได้รับการรับรอง Made in Thailand (MiT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนในประเทศตามสัดส่วนที่กำหนด คือ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด รถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV ร้อยละ 45 ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 15 และเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 40 โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 2 ปี จากเกณฑ์ปกติ มาตรการนี้จะทำควบคู่กับกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย เช่น งาน SUBCON Thailand และ Business Matching ที่มียอดจับคู่ธุรกิจกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี และกิจกรรม Sourcing Day ที่บีโอไอจัดร่วมกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

มาตรการที่ 3 การเพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ สำหรับบางกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการสวมสิทธิ และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า เป็นต้น โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขชัดเจนว่า ต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ โดยมีการแปรสภาพวัตถุดิบหลักเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ เช่น มีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรอย่างน้อยในระดับ 4 หลัก เพื่อให้การผลิตเพื่อส่งออกของไทยเป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชัดเจนมากยิ่งขึ้น

มาตรการที่ 4 การจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม ดังนี้

(1) กิจการที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูง และมีความเสี่ยงต่อมาตรการการค้าของสหรัฐฯ โดยยกเลิกการส่งเสริมผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ รวมทั้งกำหนดหุ้นไทยข้างมากในกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า และสิ่งพิมพ์ (2) กิจการที่มีปริมาณผลิตเกินความต้องการ (Oversupply) และกระทบกับผู้ผลิตในประเทศโดยยกเลิกการส่งเสริมผลิตเหล็กขั้นปลาย เช่น เหล็กทรงยาวทุกชนิด เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา ท่อเหล็ก และกิจการตัดโลหะ (3) กิจการที่มีความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ พลาสติก การรีด ดึง หล่อหรือทุบโลหะ โดยงดให้สิทธิถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เพื่อให้กิจการเหล่านี้ต้องไปตั้งในนิคมอุตสาหกรรมและได้รับการกำกับดูแลที่รัดกุมมากขึ้น

มาตรการที่ 5 การปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานบุคลากรต่างชาติ เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทยมากขึ้น โดยกำหนดว่า หากเป็นกิจการผลิตที่มีการจ้างงานทั้งบริษัทตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จะต้องมีการจ้างบุคลากรไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 นอกจากนี้ ยังได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำของบุคลากรต่างชาติที่จะขอใช้สิทธิด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงานกับบีโอไอ เช่น ถ้าเป็นระดับผู้บริหาร ต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 150,000 บาทต่อเดือน และระดับผู้เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้สามารถคัดกรองบุคลากรต่างชาติที่มีทักษะสูงให้เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจไทยได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ บีโอไอ กำลังเตรียมเสนอมาตรการเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ อีกทั้งทำให้ประเทศไทยยังคงสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในการดึงดูดการลงทุน โดยจะเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น กลุ่มอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

“สงครามการค้าโลกที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากภาษีที่สูงขึ้น กฎกติกาการค้าใหม่ ๆ การแข่งขันกับสินค้านำเข้า การเข้ามาของการลงทุนต่างชาติและและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมดั้งเดิม ประเทศไทยจำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนให้เหมาะสม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเดิม ควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่จะเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว บีโอไอจึงได้ออกมาตรการใหม่หลายด้าน เพื่อมุ่งจัดระเบียบการลงทุน พร้อมกับหนุนให้ผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว เพื่อคว้าโอกาสการเติบโตในโลกการค้ายุคใหม่” นายนฤตม์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก หุ้นวิชั่น

[Vision Exclusive] SAT เร่งหาออเดอร์ใหม่รับผลิตรถชะลอ

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โบรกคัดหุ้นเบญจภาคี ชูกำไร Q2/68 โตแกร่ง

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

[Vision Exclusive] SCL ปั้นเป้า 2 พันล้าน รับเทรนด์ซ่อมรถเก่า

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ธอส. คว้ารางวัล 8 ปีซ้อน “ธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบ้าน”

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ผ่าอาณาจักร “สุกี้ตี๋น้อย” จากร้านสุกี้ห้องแถวสู่ “บุฟเฟต์หมื่นล้าน”

ฐานเศรษฐกิจ

"กสทช." จี้ค่ายมือถือจัด "แพ็กเกจธงฟ้า" ไม่เกิน 240 บ./เดือน เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค

สยามรัฐ

HOKA บุกเจริญกรุง! เนรมิตตึกเก่าร้อยปีเป็น Culture Hub

ฐานเศรษฐกิจ

‘คราฟต์ช็อกโกแลตไทย’ พลิกโฉมอุตสาหกรรมที่คนทั่วโลกต้องเหลียวมอง

SMART SME

วัฒนธรรมในภูมิภาคไม่ใช่ของใครคนเดียว นักวิชาการ มธ. แนะ ‘ไทย’ ยื่นหลักฐาน แสดงบทบาทร่วมขึ้นทะเบียนกับ ‘ยูเนสโก’

SMART SME

“สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์”ส่งไม้ต่อ “สรวิช สนธิจิรวงศ์”นักธุรกิจรุ่นใหม่ ปั้น SAMAS อาหาร Chef's Table สุดหรู

Manager Online

Broker ranking 16 Jul 2025

Manager Online

ปูนซีเมนต์นครหลวง คว้ารางวัล “บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี” จาก Money & Banking Awards 2025

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

TOP คาดฟื้น โครงการ CFP คืบหน้า ชูเป้า 33 บ.

หุ้นวิชั่น

SPRC ตั้ง เฮอร์เบิร์ต แมทธิว เพนน์ ที่ 2 เป็น CEO-กรรมการ คนใหม่

หุ้นวิชั่น

TMI บอร์ดไฟเขียว! อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน

หุ้นวิชั่น
ดูเพิ่ม
Loading...