โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เปิดข้อเสนอเยียวยาวิกฤติส่งออก ส.อ.ท.ชี้ภาษีทรัมป์ 36% ไทยเสียเปรียบหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงทางการค้ากับเวียดนามและสหราชอาณาจักร (UK) แล้ว โดยได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนามลงจาก 46% เหลือ 20% สำหรับสินค้าของเวียดนามเอง และ 40% กรณีมีการสวมสิทธิ์จากต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขควบคุมสินค้าถ่ายโอนจากจีน

และลดภาษีนำเข้ารถยนต์จาก UK เหลือ 10% สำหรับโควตา 100,000 คันต่อปี พร้อมเปิดตลาดสินค้าเกษตร เช่น เนื้อวัวและเอทานอล สร้างความกังวลว่าไทยอาจเสียเปรียบในการแข่งขัน หากไม่สามารถเจรจาลดอัตราภาษีได้เท่าคู่แข่ง

นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป (EU) และอินเดีย ยังคงอยู่ระหว่างการเจรจา โดยเฉพาะจีนที่อยู่ระหว่าง “การพักชำระภาษีชั่วคราว” (tariff truce) ซึ่งจะหมดอายุ 12 สิงหาคมนี้ โดยล่าสุดสหรัฐฯ และจีน ได้มีการเจรจาข้อตกลงการค้าร่วมกันระหว่างผู้แทนการค้าระดับสูงของสหรัฐฯ และจีนที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ข้อสรุปเรื่องการกำหนดอัตราภาษีสินค้านำเข้าว่า สหรัฐฯ ยังคงเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 55% จากเดิมที่ระดับ 145% ส่วนจีน เรียกเก็บภาษีจากสหรัฐฯ 10% จากเดิมที่ระดับ 125%

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีทรัมป์ และ ประธานาธิบดี สี จิ้ง ผิง ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการ และยังไม่มีการออกมายืนยันจากทางรัฐบาลจีน

ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 1 ปี 2568 เผยว่าการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนกว่า 58% ของGDP โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนกว่า 47% ของ GDP หากไทยไม่สามารถเจรจาลดภาษีศุลกากรตอบโต้ให้ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง อาจทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้าไปสหรัฐฯ สูงขึ้น สูญเสียความสามารถในการแข่งขันและกระทบส่วนแบ่งตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประกาศเก็บ Reciprocal Tariff กับไทยในอัตรา 36% ซึ่งสูงกว่าภาษีที่ใช้กับเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยหากไม่มีมาตรการรองรับ คาดว่ามูลค่าความเสียหายต่อภาคการส่งออกอาจสูงถึง 800,000–900,000 ล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2568 อยู่ที่ 31,044.58 ล้านดอลลาร์ เติบโตต่อเนื่อง 18.35% YoY และสูงสุดในรอบ 38 เดือน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่าในครึ่งปีหลัง หากไทยยังเผชิญภาษีในอัตราสูง การส่งออกอาจหดตัวกว่า -10% YoY ทำให้ภาพรวมทั้งปี 2568 ขยายตัวใกล้ศูนย์

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประชุมหารือกับ 47 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 11 คลัสเตอร์ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล ซึ่งเวลานี้ผู้ส่งออกเองก็พยายามปรับตัวรองรับผลกระทบ เช่น บางกลุ่มอุตสาหกรรมได้มีการเจรจาระหว่างผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายทางฝั่งสหรัฐฯ ให้ช่วยรับภาษีไปคนละส่วน เพื่อจะได้ช่วยกันแบ่งเบาภาระ แต่มีบางกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ทางผู้นำเข้าไม่รับเงื่อนไขนี้ พร้อมเสนอแนวทางให้ภาครัฐเร่งเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้เหลือ 0% ในหลายพันรายการ เพื่อเดินหน้ามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ กลุ่มเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูงกว่า 28–35% ของมูลค่าส่งออก รวมถึงยาง เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่น ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก ผลิตภัณฑ์หนังและเซรามิก ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบระดับสูงถึงสูงมาก

“ส.อ.ท. กำลังรอผลการศึกษาจากกลุ่มอุตสาหกรรม โดยจะต้องนำมาวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็กำลังรอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งด้วย ซึ่งขณะนี้ได้มา 22 ประเทศ จากร้อยกว่าประเทศ เนื่องจากตัวเลขจากหลายๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ก็ยังไม่ถูกประกาศอย่างชัดเจน จึงทำให้บางกลุ่มอุตสาหกรรมยังคงต้องรอข้อมูลในส่วนนี้ก่อน แต่กำลังทยอยทำและจะนำมาเปรียบเทียบดูว่าประเทศไทยจะเสียเปรียบมากน้อยแค่ไหน ก่อนยื่นให้กระทรวงการคลัง” นายเกรียงไกร กล่าว

เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภาษีและรักษาความสามารถในการแข่งขัน เบื้องต้น ส.อ.ท. เสนอแนะให้ภาครัฐเร่งดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

1. ออกมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการจากที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ

  • ออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) หรือมาตรการพักชะลอหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • ลดภาษีนิติบุคคลสำหรับเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ
  • อุดหนุนหรือลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกและการประกอบธุรกิจ เช่น ค่าบริการหน้าท่า พิธีการศุลกากร ค่าออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ และค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
  • ออกสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้นำค่าใช้จ่ายการจ้างสำนักงานกฎหมาย (Law Firm) ในสหรัฐฯ เพื่อศึกษาและเจรจากับภาครัฐสหรัฐฯ มาลดหย่อนได้ 3 เท่า

2. ส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

  • เร่งการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ฉบับใหม่ๆ เพื่อเปิดตลาดการค้า
  • ออกมาตรการส่งเสริมเพื่อหาตลาดใหม่ เช่น โครงการ SME Pro-active และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกและขยายตลาดต่างประเทศ (Trade Mission)

ส่งเสริมตลาดในประเทศ และการเพิ่มสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในสินค้าไทย (Made in Thailand - MiT) โดยมีแนวทาง ดังนี้

- ทุกหน่วยงานต้องสนับสนุนการใช้สินค้าและบริการที่ได้รับการรับรอง MiT อย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มเม็ดเงินลงทุนและสร้างการจ้างงานในไทยให้มากขึ้น

- หากภาคเอกชนเข้าร่วมและได้รับการรับรอง MiT จะสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า

- MiT ช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกทางอ้อม เพราะเป็นการเพิ่มสัดส่วนวัตถุดิบและแรงงานภายในประเทศ (Local Content) ช่วยสร้างแบรนด์สินค้าไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และยังสามารถนำแต้มสะสมหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจาก MiT ไปใช้ชดเชยหรือแลกรับเงินคืนในช่วงสิ้นปีได้

3. ออกมาตรการส่งเสริมการใช้ Local content ภายในประเทศ นอกจากมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เช่น การลดภาษีนิติบุคคลสำหรับเอกชนที่ใช้ Local content มากกว่า 90% และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity)

4. กำกับดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนและแข็งค่ากว่าประเทศในภูมิภาค

“ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส.อ.ท. จึงขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน หากเรามีความร่วมมือที่เข้มแข็ง วิกฤติครั้งนี้อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะนำไปสู่โอกาสในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้น” นายเกรียงไกร กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ซีอีโอ Nvidia 'เจนเซน หวง' ขายหุ้นพันล้าน รวยแซงหน้า วอร์เรน บัฟเฟตต์

37 นาทีที่แล้ว

สมัครด่วน!'Vietjet Thailand Sky Career 2025' กว่า 120 ตำแหน่งงานรออยู่

42 นาทีที่แล้ว

'ไผ่' มั่นใจเลือกตั้งหน้า กธ.กวาด 70 ที่นั่ง - เปิดศึก 2 สส.ปชน.ต่อ

52 นาทีที่แล้ว

ผู้ป่วยไตเฮ! เช็กสิทธิบัตรทอง '4 วิธีบำบัดไต' ฟรี เริ่ม 1 เม.ย.68

56 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

กทพ. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนสะพานข้ามแยกบางขุนเทียน-ชายทะเล ก่อสร้างทางยกระดับ วันที่ 15 ก.ค. ถึง 15 ส.ค.68

สยามรัฐ

กระทรวงอุตฯ เปิดตัว "มอก. วอทช์" AI เช็กสินค้าออนไลน์ไม่ได้มาตรฐาน

PPTV HD 36

สามสัปดาห์… สั้นหรือยาว? โจทย์ใหญ่ไทยต้องเร่งเกมเจรจา “ภาษีสหรัฐ” ก่อนสะเทือนส่งออก

ข่าวหุ้นธุรกิจ

สมาร์ทโฟน ‘จอพับ’ ตอบโจทย์คนแบบไหน ?

ประชาชาติธุรกิจ

YouTube บังคับใช้กฎใหม่ 15 ก.ค. 68 คลิปซ้ำหยุดสร้างรายได้ ตรวจสอบช่องด่วน

ฐานเศรษฐกิจ

ทีมวิจัยญี่ปุ่นทำลายสถิติ ความเร็วอินเทอร์เน็ต “1.02 เพตะบิต/วินาที”

PPTV HD 36

Google เปิดตัว Flow ในไทย วิธีใช้ AI สร้างหนัง-ตัดต่อวิดีโอง่ายๆ

SpringNews

‘ส.อ.ท.’ ถกฉุกเฉิน 47 กลุ่มอุตฯ รับมือภาษีทรัมป์ 36% สั่งเร่งยื่นคลังเจรจาสหรัฐฯ-เสนอแพ็กเกจช่วยผู้ประกอบการ

THE STATES TIMES

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...