โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

SOCIETY: ‘นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ พรรครัฐบาล-พรรคฝ่ายค้าน เถียงอะไรกันนะ?

BrandThink

เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากเหตุการณ์คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้รัฐบาลดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2568 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านออกมาตั้งคำถามว่านโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายเอื้อนายทุนหรือไม่ ขณะที่ประชาชนบางส่วนก็มีการตั้งคำถามว่าผู้เสียภาษีในต่างจังหวัดได้อะไรจากนโยบายนี้ อย่างไรก็ดีหากมองกลับไปการโต้แย้งนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท เอื้อประโยชน์แก่ใคร ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เพิ่งจะมีการโต้แย้งครั้งแรกแต่เป็นประเด็นโต้เถียงระหว่างพรรคการเมืองมาตั้งแต่ปี 2566

เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบาย Quick Win ของพรรคเพื่อไทยที่หาเสียงไว้ว่าจะทำให้รถไฟฟ้ามีราคา 20 บาททุกเส้นทาง เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นนโยบายที่มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย

ทั้งนี้ก่อนการเลือกตั้งในปี 2566 แพทองธาร ชินวัตร ในขณะนั้นทำหน้าที่ ‘หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย’ ได้ประกาศถึงนโยบายดังกล่าวในงานประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคเพื่อไทย ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ว่าจะมีการจัดระเบียบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อทำนโยบาย ‘ตั๋วร่วม 20 บาท ตลอดสาย’ พร้อมยืนยันว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จก่อนปี 2570

ภายหลังการเลือกตั้ง 2566 เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

และการโต้แย้งในปี 2566 นั้นเกิดขึ้นในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลเศรษฐา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกลได้ออกมาแย้งว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายไม่สามารถทำได้จริง และต่อให้ทำได้ก็ต้องใช้งบประมาณมาอุดหนุนค่อนข้างมาก อีกทั้งเลข 20 บาท ยังดูเป็นการคิดขึ้นมาโดยไม่มีอะไรยืนยันด้วย

ขณะที่ทางด้านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ออกมาประกาศว่านโยบายดังกล่าวจะมีการดำเนินการทำจริง และจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดงราคา 20 บาท ภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ปี 2567

ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติให้รถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร (MRT) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และรถไฟฟ้าชานเมืองสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต (สายธานีรัถยา) และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (สายนครวิถี) เป็นโครงการนำร่องปรับราคาเป็น 20 บาท ในนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

นอกจากนี้ในวันที่ 13 กันยายน 2567 ในการแถลงนโยบายของรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ต่อรัฐสภา สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาชนได้ออกมาแย้งเรื่องนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายอีกครั้ง โดยแย้งให้รัฐบาลเพื่อไทยคิดทบทวนเรื่องราคาอีกครั้ง เนื่องจาก 20 บาท เป็นราคาที่ตั้งมานานแล้ว พร้อมย้ำรายจ่ายว่ารัฐจ่ายไหวหรือไม่เพราะเป็นภาษีประชาชนส่วนหนึ่ง รวมถึงการตั้งคำถามถึงการลงทุนในรถไฟฟ้าแทนรถเมล์เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแล้วหรือไม่

ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ ว่าจะเดินหน้าต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีแดงและม่วง พร้อมทั้งเดินหน้าดำเนินมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายภายในกันยายน 2568 และดำเนินการทำร่างกฎหมายการบริหารจัดการ ‘ตั๋วร่วม’ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าราคารถไฟฟ้า 20 บาทใช้ได้กับรถไฟฟ้าทุกสี

อย่างไรก็ดีเหตุการณ์การโต้แย้งเรื่องนโยบาย 20บาทตลอดสายได้กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในปี 2568 เมื่อพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาชนได้ออกมาโต้แย้งนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของพรรคเพื่อไทยที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีและมีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ซึ่งการกลับมาโต้แย้งมาจากเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ดำเนินการเพิ่มรถไฟฟ้าราคา 20 บาทอีก 8 เส้นทาง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2569 ตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำให้พรรคฝ่ายค้านรวมถึงประชาชนออกมาตั้งคำถามในประเด็นผลประโยชน์และงบประมาณเงินอุดหนุนว่าเป็นการเอื้อนายทุน และใช้ภาษีคนทั้งประเทศเอื้อแต่คนเมืองหรือไม่

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา พรรคประชาชนได้ออกมาโพสต์จุดยืนไม่สนับสนุนนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งพรรคประชาชนมองว่าแม้เห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทยว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีราคาแพงควรปรับลดเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายประชาชน แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินของรัฐที่มีภาษีประชาชนทั้งประเทศมาใช้เป็นเงินอุดหนุนนายทุนรถไฟฟ้าอย่างไร้ฐานคิด ขณะเดียวกันบนโซเชียลมีเดียก็มีประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมากถึงผลประโยชน์ของประชาชนต่างจังหวัดในนโยบายนี้

โดยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อเพื่อชี้แจงว่านโยบายดังกล่าว ทำเพื่อประชาชน ส่วนแหล่งเงินทุนได้มีการพูดคุยกับกระทรวงการคลัง และมองว่ามีแหล่งเงินที่จะมาสนับสนุนในส่วนนี้ได้ โดยเงินที่นำมาเป็นเงินของทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเมื่อประกอบการแล้วทำกำไรก็จะนำเงินส่วนนั้นมาช่วยส่วนที่ขาด ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณเพียงปีละ 8,000 ล้านบาท และไม่มีการปรับเพิ่ม

ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยก็มีการออกมาโพสต์โต้กลับพรรคประชาชนว่า นโยบายรถไฟฟ้า20บาท ตลอดสาย ไม่ได้เป็นการเอื้อนายทุน แต่เป็นการคืนรอยยิ้มให้และประโยชน์ให้กับคนกรุงเทพฯ และโพสต์ตอบข้อสงสัย 4 ข้อที่พรรคฝ่ายค้านรวมถึงประชาชนตั้งคำถามลงในเพจเฟซบุ๊ก ‘พรรคเพื่อไทย’ ว่า

1. การบอกว่านโยบายรถไฟฟ้าไร้วิสัยทัศน์ ไร้ฐานคิด

เพื่อไทยแจงว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายตั้งอยู่บนฐานคิด ระบบขนส่งสาธารณะต้องเป็นระบบที่เอื้อให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย และราคา 20 บาทไม่ใช่ตัวเลขที่คิดขึ้นมาลอย ๆ แต่มาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยโดยสารต่อเที่ยวต่อคนที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 บาท จึงปรับลดราคาเป็น 20 บาทจากการต้องการลดค่าใช้จ่ายประชาชนลงร้อยละ 40

2. นโยบายนี้ใช้ภาษีประชาชนทั้งประเทศ แต่มีแค่คนกรุงเทพฯ ที่ได้ประโยชน์

พรรคเพื่อไทยแจงว่าใช้ภาษีประชาชน คนเมืองได้ใช้ คนไกลได้ประโยชน์ทางอ้อม โดยเริ่มจากการแบ่งว่าใครคือคนกรุงเทพฯ ซึ่งแบ่งได้ 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มผู้มีทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพฯ และกลุ่มประชากรจากต่างจังหวัดที่เข้ามาอาศัยและทำงานในกรุงเทพฯ นโยบายนี้จึงไม่ใช่แค่คนกรุงเทพแท้ ๆ ได้ประโยชน์ นอกจากนี้เรื่องการใช้เงินภาษีมาลงกับพื้นที่กรุงเทพฯ เฉพาะจะคิดเช่นนี้มิได้ เนื่องจากในบรรดาการทำนโยบายหรือโครงการใหญ่ ๆ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเลือกและจัดสรรงบประมาณที่มาจากคนทั้งประเทศเข้ากับคนเฉพาะกลุ่มและรอให้นโยบายทำงาน

3. ประเด็นเอื้อนายทุน

พรรคเพื่อไทยแจงว่าไม่ได้เอื้อแต่ต้องอุดหนุนสุดต่างสร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย เนื่องจากเราทำนโยบายนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายประชาชนและเพิ่มโอกาสให้ประชาชน การที่รัฐจ่ายเงินอุดหนุนส่วนต่างให้เอกชนก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการที่ให้สัมปทานอย่างถูกต้องตามสัญญา

4. สุดท้ายประเด็นนโยบายนี้เป็นนโยบายประชานิยม ไม่แตะโครงสร้าง

พรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ประชานิยมจริง แต่แตะโครงสร้างแน่นอน เนื่องจากนโยบายนี้มีโอกาสที่จะแก้ปัญหารถติดเรื้อรัง และยังทำให้มลพิษเบาลง พร้อมทั้งทิ้งท้ายว่าทั้งหมดอาจไม่ใช่การเริ่มตั้งต้นคำถามว่า ‘ทำเพื่อใคร’ แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดของทั้งหมดอาจเป็นเพราะ ‘เพื่อไทยเป็นคนทำ’

โดยอย่างไรก็ดีประเด็นต่าง ๆ ขณะนี้ยังคงไม่อาจหาคำตอบร่วมกันได้อย่างชัดเจน เมื่อทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน และประชาชนต่างมีมุมมองแตกต่างกัน และขณะภายในโลกโซเชียลก็ยังคงเต็มไปด้วยคำถามว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนี้ ‘ทำเพื่อใคร?’

ซึ่งแม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะยืนยันว่านี่คือการคืนรอยยิ้มให้ประชาชน ลดค่าครองชีพ และกล่าวถึงเรื่องเงินอุดหนุนที่นำมาจากงบรฟม. แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ยังคงก้องอยู่ในโซเชียลมีเดียทำให้ต้องจับตาดูต่อไปว่านโยบายนี้จะสามารถตอบโจทย์ความเป็นธรรม และสร้างประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด หรือสุดท้ายจะกลายเป็นเพียงหนึ่งในนโยบายที่กลายเป็นเกมทางการเมืองกันแน่?

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

MOODY: ผิดใจกันนิดเดียว ทำไมต้องโมโหขนาดนี้? เมื่อเกิด ‘ภาวะอารมณ์ท่วมท้น’ จนคุมตัวเองไม่ได้ จะจัดการตัวเองอย่างไรดี

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

SOCIETY: แผงที่มีทุกบ้าน! อังกฤษบังคับ บ้านสร้างใหม่ต้องติดแผงโซลาร์เซลล์ หวังลดค่าไฟ ใช้พลังงานสะอาดแบบยั่งยืน

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม