โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

MOODY: ผิดใจกันนิดเดียว ทำไมต้องโมโหขนาดนี้? เมื่อเกิด ‘ภาวะอารมณ์ท่วมท้น’ จนคุมตัวเองไม่ได้ จะจัดการตัวเองอย่างไรดี

BrandThink

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

เคยสังเกตตัวเองไหมทำไมกับบางเรื่องเราถึงรู้สึกกับมันมากผิดปกติ โกรธจนปรี๊ดแตก วิตกจนเหมือนจะเป็นบ้า กลัวราวกับจะเสียสติ

หลายคนอาจตอบว่า “เพราะฉันเป็นคนอ่อนไหว” แต่นั่นอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะใครๆ ก็เผชิญกับภาวะอารมณ์ที่เรียกว่า ‘Emotional Flooding’ หรือ‘ภาวะอารมณ์ท่วมท้น’ ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องไม่เข้าใจหรือโต้เถียงกันกับคนที่เราสนิทด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนรัก ครอบครัว หรือเพื่อนสนิทก็ตาม

โดยภาวะอารมณ์ท่วมท้น เป็นสภาวะที่อารมณ์ถาโถมเข้าสู่จิตใจและร่างกาย จนคนคนนั้นควบคุมตนเองไม่ได้ และส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความไว้วางใจ และความใกล้ชิดทางอารมณ์ในความสัมพันธ์ได้อย่างคาดไม่ถึง

คำว่า Emotional Flooding ถูกอธิบายโดยนักจิตวิทยาชื่อดัง จอห์น กอตแมน (John Gottman) ซึ่งศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระยะยาวอย่างลึกซึ้ง เขาพบว่าเวลาที่คนเราเกิดความขัดแย้งรุนแรงจนรู้สึกท่วมท้นด้วยอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโกรธ หรือความวิตกกังวล ร่างกายจะเข้าสู่โหมด ‘สู้หรือหนี’ (fight-or-flight response) โดยอัตโนมัติ นำไปสู่การหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นแรง หายใจเร็ว กล้ามเนื้อเกร็ง และสมองไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผลได้ตามปกติ

ผลลัพธ์คือ คนคนนั้นอาจเริ่มตะโกน ตอบโต้ด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือแม้กระทั่งเลือกปิดตัวและไม่พูดอะไรเลย ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมการสื่อสารเชิงป้องกัน (Defensive Communication) ที่ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในระยะยาว

หากถามถึงสาเหตุของการเกิดภาวะอารมณ์ท่วมท้น ในความสัมพันธ์นั้นมีหลากหลาย ทั้งการเริ่มต้นบทสนทนาด้วยถ้อยคำที่รุนแรงหรือประชดประชัน ความคับข้องใจจากปัญหาในอดีตที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข รูปแบบความผูกพันที่ไม่ปลอดภัยอย่างเหล่าคน Anxious หรือ Avoidant Attachment รวมถึงปัจจัยจากภายนอกอย่างความเครียดจากงาน ปัญหาทางการเงิน หรือความเหนื่อยล้าทางจิตใจ และที่สำคัญคือ บาดแผลทางอารมณ์ในอดีตที่ยังฝังใจ อาจถูกกระตุ้นขึ้นมาเมื่อพฤติกรรมของคนใกล้ตัวไปสะกิดความทรงจำที่เจ็บปวดโดยไม่รู้ตัว

ในภาวะเช่นนี้ สมองส่วนเหตุผล (Prefrontal Cortex) จะทำงานได้น้อยลง ขณะที่สมองส่วนอารมณ์ (Amygdala) จะมีบทบาทมากขึ้น ทำให้เราตอบสนองแบบหุนหันพลันแล่น ความคิดเบลอ และสื่อสารได้ไม่ดี พูดในสิ่งที่ไม่ตั้งใจ และมักรู้สึกเสียใจภายหลัง การทะเลาะเบาะแว้งที่เริ่มจากเรื่องเล็กๆ จึงสามารถลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเราไม่อยู่ในสภาวะที่สามารถพูดคุยด้วยสติหรือฟังกันอย่างเข้าใจได้

แต่ข่าวดีคือแม้ภาวะอารมณ์ท่วมท้นจะเป็นกลไกอัตโนมัติของร่างกาย แต่ก็สามารถจัดการได้หากเรารู้เท่าทันตัวเอง!

1 – สังเกตสัญญาณทั้งทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ตัวร้อน และทางจิตใจ เช่น รู้สึกท่วมท้น สับสน หรือหมดหนทาง

2 – เมื่อรู้ตัวแล้ว ให้หยุดพักบทสนทนาโดยไม่ใช้คำพูดประชดหรือปิดประตูการสื่อสาร เช่น อาจพูดว่า “เรารู้สึกไม่ไหวแล้ว ขอพักก่อนนะ เดี๋ยวกลับมาคุยใหม่อีก 20 นาทีได้ไหม”

โดยช่วงเวลาพักควรนานพอที่ร่างกายจะได้หลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยสงบระบบประสาท เช่น Norepinephrine และใช้ช่วงเวลานั้นในการดูแลตัวเองอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงการคิดวนซ้ำถึงบทสนทนาเมื่อครู่ หรือวางแผนว่าจะสวนกลับด้วยคำพูดอะไร เพราะนั่นจะยิ่งกระตุ้นฮอร์โมนความเครียด

3 – วิธีที่ช่วยได้จริงคือการฝึกหายใจลึกๆ คลายกล้ามเนื้อ ฟังเพลงเบาๆ เดินเล่น หรือสังเกตความรู้สึกในร่างกายและเสียงรอบตัวอย่างมีสติ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สมองกลับมาทำงานอย่างสมดุล และเปิดทางให้เรากลับไปสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ได้อีกครั้ง

4 – หากใครพบว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะอารมณ์ท่วมท้นเป็นประจำ หรือมีความขัดแย้งที่เรื้อรังในความสัมพันธ์ การขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือนักบำบัดความสัมพันธ์ก็เป็นทางเลือกที่ควรพิจารณา เพราะผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้คุณและคู่ของคุณเรียนรู้วิธีสื่อสารและจัดการความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

MOODY ขอย้ำว่า ‘ภาวะอารมณ์ท่วมท้น’ ไม่ใช่ความอ่อนแอทางใจ แต่เป็นสัญญาณว่าร่างกายและจิตใจกำลังร้องขอความปลอดภัย ความเข้าใจ และการเยียวยา

เมื่อเรารับรู้สิ่งนี้อย่างจริงใจ ยอมรับว่าตัวเองก็มีวันที่ท่วมท้น และเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองด้วยความเมตตา เราก็จะสามารถฟื้นความสัมพันธ์ที่สำคัญให้กลับมาเติบโตในบรรยากาศที่มีความใส่ใจและสมดุลทางอารมณ์มากขึ้นอีกครั้ง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BrandThink

POP: รู้จักเทรนด์ ‘Aura Farming’ ท่าเต้นหัวเรือของหนุ่มน้อยอินโดฯ สู่ไวรัลที่คนดังเต้นตามกันทั่วโลก!

18 ชั่วโมงที่ผ่านมา

SOCIETY: อย่าเพิ่งปรี๊ดแตก! นักวิจัยเผย ‘การควบคุมอารมณ์ได้ดี’ ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ พร้อมเผย 5 เคล็ดลับการควบคุมอารมณ์

22 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

HKTDC สร้างโอกาสทางธุรกิจไร้ขีดจำกัด ด้วยงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ 4 งานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 2568 ที่ฮ่องกง เพื่อเสริมสร้างการค้าทวิภาคีระหว่างฮ่องกงและประเทศไทย

Ticy City

เดินเร็วสลับช้าแบบ Japanese Walking วันละ 30 นาที ฟิตง่าย ได้ผลจริง

กรุงเทพธุรกิจ

เงินบาทกับความไม่แน่นอน ในช่วงครึ่งปีหลัง

ประชาชาติธุรกิจ

Barbie กำลังจะถูกสร้างเป็นหนังแอนิเมชันสำหรับโรงภาพยนตร์โดยสตูดิโอเบื้องหลัง Minions

THE STANDARD

ชวนเที่ยว ‘พิพิธภัณฑ์ครุฑ’ เดือนสิงหา 68 รับของที่ระลึกจำนวนจำกัด

กรุงเทพธุรกิจ

ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่งสมัยพระนารายณ์-รัชกาลที่ 3

ศิลปวัฒนธรรม

นาฬิกา Rolex กลายเป็นสินทรัพย์ทางเลือก! ของนักลงทุน บางรุ่นในตลาดมือสองทำกำไรสูงสุดมาตลอด 15 ปี

THE STANDARD
วิดีโอ

ออกกำลังเป็นยา : หลับสบายด้วยการยืดเหยียดก่อนนอน

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...