โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

ผู้ค้าจีนใช้ ‘ไทย-เม็กซิโก’ ลอบส่ง ‘แร่หายาก’ สู่มือสหรัฐ ท้าทายรัฐบาลจีน

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว

นับตั้งแต่จีนออกคำสั่ง “ห้ามส่งออกแร่หายากหลายชนิด” ไปยังสหรัฐ เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐงดส่งออกชิปปัญญาประดิษฐ์ให้จีน โดยแร่ที่จีนหยุดส่งออกได้แก่ “พลวง” ซึ่งจำเป็นต่อแบตเตอรี่ ชิป และสารหน่วงไฟ ขณะที่แร่ “แกลเลียม” และ “เจอร์เมเนียม” เป็นส่วนประกอบสำคัญในโทรคมนาคม เซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยีทางทหาร

แม้มีการห้ามส่งออกดังกล่าว แต่ข้อมูลจากกรมศุลกากรจีน และสหรัฐกลับชี้ให้เห็นว่า ผู้ซื้อในสหรัฐ ยังคงสามารถ “เข้าถึงแร่หายาก” เหล่านี้ได้ ผ่านประเทศที่สามอย่าง “ไทย” และ “เม็กซิโก”

ลักลอบเข้าสหรัฐ ผ่านไทย-เม็กซิโก

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า แม้จีนประกาศงดส่งออกแร่หายากไปสหรัฐ แต่ปรากฏว่ามีปริมาณแร่พลวงที่มากผิดปกติจากประเทศอย่าง “ไทย” และ “เม็กซิโก” หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐแทน โดยข้อมูลกรมศุลกากรสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน สหรัฐนำเข้าพลวงออกไซด์จากไทย และเม็กซิโกรวมกันถึง 3,834 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ “มากกว่าเกือบ 3 ปีที่ผ่านมารวมกัน” เสียอีก

- สหรัฐนำเข้าแร่พลวงจีนจากไทย และเม็กซิโก (ภาพ: กษิดิศ สิงห์กวาง) -

ขณะเดียวกัน ข้อมูลศุลกากรจีนถึงเดือนพฤษภาคม ระบุว่า ไทย และเม็กซิโกกลับพุ่งขึ้นมาติดตลาดส่งออกพลวง 3 อันดับแรกของจีนในปีนี้ ทั้งๆ ที่ทั้งสองประเทศไม่เคยติด 10 อันดับแรกมาก่อนในปี 2023

- การส่งออกแร่พลวงของจีนไปยังไทย และเม็กซิโก (ภาพ: กษิดิศ สิงห์กวาง) -

ประเด็นที่น่าสนใจคือ จากข้อมูลบริษัทที่ปรึกษา RFC Ambrian ทั้งไทย และเม็กซิโก ต่างมีโรงถลุงพลวงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และโรงถลุงแห่งเดียวของเม็กซิโกก็เพิ่งกลับมาเปิดดำเนินการในเดือนเมษายน ที่สำคัญคือ ทั้งสองประเทศไม่ได้มีการขุดแร่พลวงในปริมาณที่มีนัยสำคัญเลย

การเปลี่ยนแปลงของกระแสการค้าที่พุ่งสูงผิดปกตินี้ สะท้อนให้เห็นการจัดส่งสินค้าของสหรัฐที่ถูกเปลี่ยนเส้นทาง “ผ่านประเทศที่สาม” แทน ซึ่งเป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่จีนเองก็ยอมรับ อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมสามราย รวมถึงผู้บริหารของบริษัทสหรัฐสองราย ต่างยืนยันกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า พวกเขาได้รับแร่หายากที่ถูกจำกัดจากจีนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ที่สำคัญคือ การนำเข้าแร่พลวง แกลเลียม และเจอร์เมเนียม ของสหรัฐในปีนี้ มีแนวโน้มที่จะเท่ากับหรือเกินกว่าระดับก่อนการสั่งห้ามเสียอีก แม้ว่าราคาจะสูงขึ้นก็ตาม

สื่อชี้ ‘ไทย ยูนิเพ็ท’ เอี่ยวค้าแร่จากไทยสู่สหรัฐ

แรม เบน ซิออน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Publican ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มตรวจสอบการขนส่งสินค้าแบบดิจิทัล กล่าวว่า “แม้มีหลักฐานชัดเจนของการถ่ายลำสินค้า แต่ข้อมูลทางการค้าไม่สามารถระบุบริษัทที่เกี่ยวข้องได้”

“นี่คือ รูปแบบที่เรากำลังเห็น และรูปแบบนั้นมีความสอดคล้องกัน” พร้อมเสริมว่า “บริษัทจีนมีความคิดสร้างสรรค์สูงในการหลบเลี่ยงกฎระเบียบ”

ด้านเลวี พาร์กเกอร์ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งบริษัทแร่ Gallant Metals สัญชาติสหรัฐได้เปิดเผยถึง “วิธีการที่เขาได้รับแร่แกลเลียมราว 200 กิโลกรัมต่อเดือนจากจีน”

เริ่มแรกตัวแทนจัดซื้อในจีนจะจัดหาแร่จากผู้ผลิตโดยตรง จากนั้นบริษัทขนส่งจะทำการเปลี่ยนฉลากพัสดุ โดยระบุว่าเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น เหล็ก สังกะสี หรือแม้แต่อุปกรณ์ศิลปะแทน ก่อนที่จะส่งผ่านประเทศในแถบเอเชียอีกแห่งหนึ่ง

พาร์กเกอร์ ยอมรับว่า วิธีหลบเลี่ยงเหล่านี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ และมีราคาแพง จริงๆ เขาต้องการนำเข้าแร่หายาก 500 กิโลกรัมเป็นประจำ แต่ยิ่งจัดส่งล็อตใหญ่ขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงถูกตรวจพบ และบริษัทโลจิสติกส์ของจีนก็ “ระมัดระวังอย่างมาก” เนื่องจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

ที่น่าสนใจคือ บันทึกการขนส่งที่สำนักข่าวรอยเตอร์ส ตรวจสอบ พบว่ามีบริษัทที่จีนเป็นเจ้าของ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าที่คึกคักนี้ อย่าง “ไทย ยูนิเพ็ท อินดัสทรี้” (Thai Unipet Industries) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Youngsun Chemicals ผู้ผลิตพลวงสัญชาติจีน ได้ทำการค้ากับสหรัฐอย่างคึกคักในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

Thai Unipet ได้จัดส่งผลิตภัณฑ์พลวงอย่างน้อย 3,366 ตันจากไทยไปยังสหรัฐ ระหว่างเดือนธันวาคม ถึงพฤษภาคม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 27 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลใบส่งสินค้า 36 ฉบับที่บันทึกไว้โดยแพลตฟอร์มการค้า ImportYeti และ Export Genius

ในอีกฝั่งของการค้า ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของ Thai Unipet ในสหรัฐ คือ “Youngsun & Essen” ซึ่งเป็นบริษัทในรัฐเท็กซัส ที่ก่อนหน้านี้เคยนำเข้าพลวงไตรออกไซด์ส่วนใหญ่จาก Youngsun Chemicals โดยตรง ก่อนที่จีนจะสั่งห้าม

ทั้งนี้ ในกฎหมายของสหรัฐ “ไม่ได้สั่งห้ามผู้ซื้อชาวอเมริกัน” จากการซื้อแร่พลวง แกลเลียม หรือเจอร์เมเนียมที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน และบริษัทจีนก็สามารถส่งแร่หายากไปยังประเทศอื่นที่ไม่ใช่สหรัฐได้ หากมีใบอนุญาต

ติดคุกกว่า 5 ปี VS กำไรมหาศาลที่รออยู่

จากการเลี่ยงกฎระเบียบจีนที่ห้ามส่งออกไปสหรัฐ กระทรวงพาณิชย์ของจีนเผยว่า มีหน่วยงานในต่างประเทศที่ “สมคบคิดกับผู้กระทำผิดกฎหมายในประเทศ” เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการส่งออก และย้ำว่า การหยุดกิจกรรมดังกล่าว สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ

เจมส์ เสี้ยว หุ้นส่วนของบริษัทกฎหมาย White & Case ในฮ่องกง ระบุว่า ผู้กระทำผิดอาจต้องเผชิญกับค่าปรับ และถูกห้ามส่งออกในอนาคต กรณีที่ร้ายแรง อาจถือเป็นการลักลอบนำเข้า ซึ่งอาจ “มีโทษจำคุกมากกว่า 5 ปี”

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้เต็มใจจะรับความเสี่ยง ตัว “กำไรมหาศาล” กำลังรอคอยอยู่ในต่างประเทศ เนื่องจากภาวะขาดแคลนได้ทำให้ราคาของแร่แกลเลียม เจอร์เมเนียม และพลวงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยแร่หายากทั้งสามชนิดนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมใบอนุญาตส่งออกอยู่แล้ว เมื่อจีนสั่งห้ามการส่งออก

อ้างอิง: reuters

พิสูจน์อักษร….สุรีย์ ศิลาวงษ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตะขาบ 5 ตัวจากจุดต่างสู่จุดแข็ง ครองใจคนทุกเจเนอเรชัน

5 นาทีที่แล้ว

‘ค่ายแดง’ ตรึงสภาฯ ยื้ออำนาจ ยิงสกัด ‘น้ำเงิน’ ล้มรัฐบาล

20 นาทีที่แล้ว

Lista Taco ‘อาหารเม็กซิกันต้นตำรับ' เครื่องแน่นเต็มปากเต็มคำ

38 นาทีที่แล้ว

สหรัฐรีดภาษีอากร 'ทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์' ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

คอลัมน์ไฮไลต์โลก: ขบวนการป่วนเปียงยางระส่ำ เมื่อผู้นำเกาหลีใต้เดินเกมสันติภาพ

MATICHON ONLINE

เปิดสาเหตุ เครื่องบิน แอร์อินเดีย ตก เสียชีวิตหลายร้อยราย พบสวิตช์ควบคุมน้ำมันถูกสับ

MATICHON ONLINE

ผลสอบเบื้องต้นชี้ “แอร์อินเดีย” เข้าโหมด “ตัดน้ำมัน” ทำเครื่องยนต์ดับก่อนตก

เดลินิวส์

วงการเศร้า! อดีตนางเอกดัง เสียชีวิตแล้วในวัย 77 ปี (ข่าวต่างประเทศ)

News In Thailand

ศัลยแพทย์ช็อก หลังรักษา แต่กลับพบสิ่งผิดปกติ ในไตคนไข้ (ต่างประเทศ)

สยามนิวส์

ไวรัลทั่วโลก!โปรยเงินจากฟ้า “ชายใจบุญ” มอบพรครั้งสุดท้ายให้ชุมชน

สยามรัฐ

จีนฟ้องร้อง 21 หัวโจก แก๊งฉ้อโกงโทรคมนาคมในเมียนมา

เดลินิวส์

ผ่าแตงโมออกมา เจอลายคล้าย "ผลปีศาจ" ชาวเน็ตแห่เตือน อย่ากิน รีบทิ้งด่วน!

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...