โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ไทยต้องปรับตัว หลังสหรัฐฯ เตรียมจัดเก็บภาษีในอัตรา 36%

PostToday

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมเริ่มจัดเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) จากสินค้าไทยในอัตรา 36% ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2568 หลังเลื่อนเส้นตายเดิมจากวันที่ 9 กรกฎาคม โดยไทยอยู่ในกลุ่ม 14 ประเทศแรกที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนจากสหรัฐฯ

SCB EIC ชี้ว่าการจัดเก็บภาษีในอัตราดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยอาเซียนและเอเชีย และมากกว่าคู่แข่งสำคัญของไทย เช่น จีนและเวียดนาม ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ

ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย

1. กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน เนื่องจากภาษีนำเข้าที่ไทยต้องจ่ายสูงกว่า

2. สินค้ายางล้อ

เสี่ยงสูญเสียสถานะคู่ค้าอันดับ 1 เพราะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลง USMCA เหมือนเม็กซิโกและแคนาดา

3. อาหารทะเลแปรรูป เช่น ทูน่ากระป๋อง

อัตราภาษีที่สูงกว่าเวียดนาม อาจทำให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบในตลาดสหรัฐฯ

4. สินค้าสวมสิทธิ (Transshipping)

สหรัฐฯ อาจตั้งเป้าเพิ่มภาษีสำหรับสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าสูง หรือมีข้อสงสัยเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยางล้อ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกษตรและปศุสัตว์

หากไทยจำเป็นต้องเปิดตลาดเสรีให้สหรัฐฯ แบบไม่มีเงื่อนไขเพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่:

• สุกรและไก่เนื้อ: ต้นทุนการผลิตสูงกว่าสหรัฐฯ ถึงราว 27% ส่งผลให้แข่งขันไม่ได้

• ข้าวโพด: ไทยผลิตใช้เองเป็นหลัก หากมีการนำเข้าเพิ่ม ราคาจะลดลงและกระทบผู้ผลิตรายย่อย

แม้ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ถูกลง แต่ความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย

• การส่งออก: คาดจะเริ่มหดตัวตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 และมากขึ้นในไตรมาส 4

• การลงทุนภาคเอกชน: มีแนวโน้มชะลอ จากความไม่แน่นอนในการเจรจาการค้า

• การบริโภคภาคเอกชน: จะชะลอตัวมากขึ้นในช่วงสิ้นปี ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน

• นโยบายการเงิน: มีโอกาสเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

• การเจรจาการค้า: ควรเน้นความสมดุลระหว่างผลประโยชน์กับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าอ่อนไหวสูง

• การช่วยเหลือภาคธุรกิจ: ให้สภาพคล่อง, หาตลาดใหม่ และยกระดับศักยภาพการแข่งขัน

• งบประมาณรับมือ: อาจใช้เงินสำรองหรือปรับงบประมาณปี 2569 รวมถึงการออก พ.ร.ก. ในกรณีจำเป็น

• กลยุทธ์ระยะยาว: ยกระดับมาตรฐานการผลิต พัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

มติป.ป.ช.เอกฉันท์ตั้งองค์คณะไต่สวน แพทองธาร ปมคลิปเสียงฮุน เซน

36 นาทีที่แล้ว

"พิชัย" เซ็นแล้ว เสนอชื่อผู้ว่าฯธปท.คนใหม่ ชงครม.เคาะพรุ่งนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนส่งออกแร่หายากทะยานสูงสุดในรอบ 16 ปี สัญญาณทั่วโลกเร่งกักตุน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เอไอเอส ผนึกอมตะซิตี้ ชลบุรี ยกระดับนิคมฯ สู่สมาร์ทซิตี้ ปูทางอุตสาหกรรม 4.0

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าว ธุรกิจ-เศรษฐกิจ อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...