โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘กัณวีร์’ ชี้ไทยต้องเปลี่ยนเกมความมั่นคงจากทหารสู่การทูตรุกคืนแทนตั้งรับ

เดลินิวส์

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“กัณวีร์ สืบแสง” สส.พรรคเป็นธรรม โพสต์แนะไทยเปลี่ยนเกมความมั่นคงจากทหารสู่การทูต รุกรับมือกัมพูชาฟ้องข้อพิพาทชายแดนในเวทีโลก

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า“นายกัณวีร์ สืบแสง” สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ได้ออกมาโพสต์แนะไทยต้อง“เดินเกมการทูตเชิงรุก” ลงในแฟนเพจ "กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang" เพื่อควบคู่กับความมั่นคง ไม่ปล่อยให้กัมพูชานำประเด็นไปขยายผลในเวทีโลกแบบฝ่ายเดียว พร้อมแนะให้เปลี่ยนมุมมองจากความมั่นคงทางทหาร ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

โดยเจ้าของโพสต์ ระบุข้อความว่า"ไทยต้องเดินเกมทางการทูตและงานความมั่นคงอย่างรู้เท่าทัน และต้องเหนือชั้นกว่า ไม่ปล่อยให้กัมพูชานำเหตุที่ไปฟ้องสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) สุดท้ายก็จริงอย่างที่ผมได้คาดการณ์ไว้ว่า กัมพูชาต้องการนำข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา เข้าสู่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ UNGA โดยส่งจดหมายไปยัง UNGA ผ่านเลขาธิการสหประชาชาติ UNSC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมข้อกล่าวอ้างที่เป็นเหตุผลให้นำข้อพิพาท 4 พื้นที่ขึ้นสู่ศาลโลก"

นอกจากนี้ "แต่ดีนะครับ ที่ไทยก็มีหนังสือชี้แจงไปอย่างทันท่วงที อันนี้ถือว่ายังทันอยู่ อย่างที่ทุกท่านติดตามปัญหาสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่เหตุปะทะที่พื้นที่ช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.68 จนบานปลายไปสู่มาตรการการเปิด-ปิด ด่านพรมแดน และกัมพูชานำพื้นที่พิพาททั้งที่ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่ช่องบก ฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ผมเคยเตือนรัฐบาลไทยไปแล้วว่า เกมทั้งหมดกัมพูชาต้องการนำข้อพิพาทนี้ไปสู่ UNGA และ UNSC ดังนั้น รัฐบาลไทยต้องมีมาตรการทางการทูตเชิงรุกที่ทั้งรับมือ และจัดการปัญหานี้ทางการทูตนำการทหาร และต้องเปลี่ยนงานทหารล้วนๆ เป็นงานความมั่นคงให้ได้"

อีกทั้ง "อย่างที่ผมเคยบอกไว้นะครับว่า ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ต้องมีมิติทางการทูตเข้ามาเกี่ยวข้อง จากที่ผ่านมาการที่กัมพูชาไม่นำข้อพิพาททั้ง 4 พื้นที่เข้าหารือใน JBC แต่นำยื่นฟ้องต่อศาลโลก ทำให้ไทยเสียเปรียบไปแล้ว และการที่กัมพูชานำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม UNGA และมีการบรรจุเป็นวาระในหัวข้อ การป้องกันการขัดกันด้วยอาวุธ (Prevention of armed conflict) ลงวันที่ 16 มิ.ย.68 พร้อมแนบหนังสือที่ยื่นไปศาลโลก สรุปใจความสำคัญกัมพูชาให้ฟังสักเล็กน้อยครับ เขากล่าวอ้างหนังสือที่ส่งไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.68 เพื่อนำ 4 พื้นที่พิพาท ระหว่างไทย-กัมพูชา เข้าสู่การพิจารณาของศาลโลก"

"โดยอ้างว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.68 ได้เกิดการเผชิญหน้าด้วยอาวุธร้ายแรงในพื้นที่มุมไบ หรือช่องบก โดยไทยเป็นฝ่ายเริ่มเปิดฉากยิงใส่ทหารกัมพูชาที่ประจำการอยู่ในดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา ส่งผลให้ทหารกัมพูชาเสียชีวิต หลังจากนั้นกองกำลังติดอาวุธหนักหลายพันนายไปประจำการทั้งสองฝั่งชายแดน จนทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะทำให้เกิดการสู้รบเหมือนในปี 2551-2554 ซึ่งไม่เพียงจะเป็นภัยร้ายแรงต่อทั้งสองประเทศ แต่ยังรวมถึงสันติภาพความมั่นคงและเสถียรภาพโดยรวมในภูมิภาคด้วย กัมพูชาอ้างว่าได้สนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธีผ่านการเจรจาที่สอดคล้องกับกฏหมายระหว่างประเทศมาโดยตลอด และพยายามเจรจาทวิภาคีมาหลายครั้งแต่ล้มเหลว เนื่องจากขาดเจตจำนงทางการเมืองจากทางการไทย ที่พึ่งพาแผนที่ที่ร่างขึ้นฝ่ายเดียวอย่างต่อเนื่อง มีการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยของกัมพูชา"

นอกจากนี้"กัมพูชายกเหตุผลเหล่านี้เสนอต่อ UNGA และเน้นย้ำว่า รัฐบาลกัมพูชาไม่มีทางเลือกที่ต้องนำ 4 พื้นที่พิพาทสู่ศาลโลก และนำเรื่องนี้เข้าที่ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ UNGA ในขณะที่รัฐบาลไทยก็ส่งคำชี้แจงไปอย่างรวดเร็ว ตามจดหมายลงวันที่ 19 มิ.ย.68 ที่ระบุว่า ไทยยึดมั่นต่อกฎบัตรสหประชาชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติ งดเว้นการใช้กำลังและเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศสมาชิกทั้งหมด โดยยืนยันว่า ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์มายาวนาน แต่ได้แก้ไขความขัดแย้งผ่านการเจรจาอย่างสันติ"

"พร้อมยืนยันตามแถลงการณ์ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พ.ค.68 ว่าการปะทะกันระยะสั้นระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ในพื้นที่ช่องบก เกิดขึ้นในขณะที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามปกติภายในเขตอธิปไตยไทย เพื่อตอบโต้การยิงของทหารกัมพูชาที่เข้าไปในดินแดนไทย และกองกำลังไทยต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันตนเองอย่างสมส่วน และเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยการกระทำของทหารกัมพูชาถือเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยอย่างชัดเจน"

อีกทั้ง "รัฐบาลไทยย้ำว่า การที่กัมพูชาส่งทหารไปประจำการในพื้นที่เป็นการละเมิด MOU 2543 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการฝ่าฝืนข้อ 5 ว่าด้วยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเขตแดน อีกทั้ง ยังขัดต่อเจตนารมณ์ใน MOU 2543 ที่ต้องยุติปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการเจรจา ฝ่ายไทยย้ำว่าต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาอย่างสันติ ผ่านกลไกทวิภาคี ทั้งระดับ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) คณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาค (RBC) และคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยการกำหนดเขตแดนทางบก (JBC) รวมถึงไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จดหมายของฝ่ายไทยชี้แจงได้ครบถ้วนนะครับ"

"จริงๆ หากรัฐบาลพูดชัดแบบนี้ตั้งแต่ต้น และดำเนินนโยบายทางการทูตด้วยความระมัดระวัง ไม่ตกเป็นเป้านิ่งให้กัมพูชา เปิดเกมรุกให้เรื่องไปถึงศาลโลก และ UNGA สถานการณ์นับจากนี้จึงต้องระมัดระวังไม่ให้กัมพูชา ใช้เหตุการณ์ชายแดนไปเป็นข้ออ้างฟ้อง UNGA ว่าไทยเป็นฝ่ายละเมิดเปิดฉากปะทะ สิ่งที่จะยืนยันได้ก็ต้องเป็นหลักฐานข้อเท็จจริงตามที่ไทยได้ชี้แจงไป และเดินเกมรุกทางการทูต ในขณะที่ทางการทหารเราก็ต้องเข้มแข็งและเดินเกมอย่างระมัดระวังในการรักษาอธิปไตยทั้งในชายแดนและในเวทีโลก"

"อีกเรื่องที่ขอเสนอ คือ ต้องมองข้ามงานการทหารให้ไปสู่งานความมั่นคงให้ได้ ความมั่นคงมันมีบริบทมากกว่าการทหาร มันต้องมองด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและงานการต่างประเทศ เอาบริบทข้อเท็จจริงมาพิจารณาให้ดี หากมองเรื่องข้อพิพาทกับกัมพูชาเรื่องเขตแดนที่เป็นข้ออ้างของกัมพูชาในการสร้างสถานการณ์แล้ว เราต้องเล่นให้เป็น เดินเกมการทำงานอย่างมืออาชีพ ผมเคยบอกไปนานแล้วตั้งแต่ต้นๆ ว่าไม่ต้องนำเรื่องมาตรการการเปิด-ปิดชายแดนมาเป็นสารัตถะสำคัญ"

อีกทั้ง "หากจะปิดเอาแค่ปิดในพื้นที่ที่มีการเผชิญหน้าทางทหารเพียงเท่านั้น ที่อื่นต้องนิ่งเฉย อย่าไปเล่นเกมเค้า เอามาตรการอื่นมาทำ อาทิ การปราบปรามสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ มาเป็นตัวตั้งและต้องทำรอบประเทศ ไม่ใช่แค่กัมพูชา เราต้องเล่นเหนือครับ ปราบธุรกิจเทาดำให้สิ้นซาก เพราะมันกระทบกับโลกใบนี้ทั้งใบ เน้นงานสิทธิมนุษยชนและงานมนุษยธรรมรอบประเทศ ตัดความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องความร่วมมือการกดปราบข้ามชาติ (Transnational Repression—TNR) ไม่ร่วมมือกับกัมพูชาในการมอบผู้ลี้ภัยทางการเมืองกลับไปตายในกัมพูชา"

"เร่งสร้างการพัฒนาเมืองชายแดนให้เข้มแข็ง ออกนโยบายการสร้างเมืองคู่แฝด (sister cities) ทั่วประเทศ เสริมอำนาจชุมชุนให้มีความรู้สึกถึงความเป็นหุ้นส่วนการร่วมพัฒนา โดยใช้วิถีและอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเร่งสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนโดยชุมชนท้องถิ่นด้วยการพัฒนาอย่างสากล มองมิติการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจฐานรากชุมชนให้กระจายแผ่ไปชายแดนรอบประเทศ มาตรการพิจารณาปกป้องการนำสินค้าเข้ามายังประเทศในบางรายการที่อุ้มชูคนไทยรอบชายแดน และในขณะเดียวกันตรวจสอบจุดแข็งประเทศเพื่อนบ้านและพร้อมช่วยเหลือในบางอย่าง"

อย่างไรก็ตาม"เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน และรวมถึงการศึกษาบริเวณชายแดนที่มีลูกหลานของเพื่อนบ้านที่ยังต้องพึ่งพิงระบบการศึกษาในไทยบริเวณชายแดน ทำให้ดีมีระบบสร้างคุณธรรมตามหลักมนุษยธรรมไปด้วย เราต้องเล่นเหนือในด้านอื่นๆ ที่เป็นงานความมั่นคง อย่าห่วงเลยครับงานการทหาร ทหารไทยเอาอยู่ไม่มีบกพร่องอย่างแน่นอน แต่งานด้านอื่นๆ เพื่อเสริมความมั่นคงทั้งชายแดนและส่วนกลางของเราที่จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบผ่านการพัฒนา จำเป็นต้องเข้มแข็งให้มากกว่านี้ หวังว่าผู้บริหารประเทศจะเข้าใจในสิ่งที่ผมพยายามจะสื่อสารนะครับ"

ขอบคุณข้อมูล : กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

มทร.ธัญบุรี จับมือสถานประกอบการปั้นบัณฑิตพร้อมทำงาน

24 นาทีที่แล้ว

คุณ ‘เรอ’ บ่อยไหม… ‘เรอ’ บ่อย เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรหรือเปล่า…อ่านเลย !

45 นาทีที่แล้ว

“ปืนใหญ่” พับแผนล่า “เชชโก” หลังโดนโก่งค่าตัวแพงเวอร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

3 ภาค ‘ตกหนัก’ ร้อยละ 70 กทม.อ่วมด้วย! ระวังท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ยังเป็นปริศนา ‘เงิน-ทอง’ ค่า 22 ล้านเจ้าวัดหาย ล็อกเป้า 5 คนในวัด-ไม่พบขายร้านทอง

เดลินิวส์

‘มิว ศุภศิษฏ์‘ เปิดใจโต้ข่าวลือคู่รักเลิก ’ตุลย์’ ยันรักแฮปปี้ สร้างเรือนหอ 2 หลัง งบเฉียดร้อยล้าน!

เดลินิวส์

‘กันจอมพลัง’ สวนกลับเสียงวิจารณ์ ปมช่วยทหาร-ตำรวจชายแดน

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม