เปิด 20 ข้อเท็จริงที่อาจเขย่าความเชื่อเรื่องการรีไซเคิล
แนวทางการรีไซเคิลกำลังเติบโตขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนประชากรโลก เพื่อรองรับความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น สินค้าใหม่ ๆ ถูกผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรมากขึ้น แม้จะมีความพยายามส่งเสริมการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เรายังคงใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปและทิ้งสิ่งของจำนวนมากเป็นขยะ ความพยายามด้านการรีไซเคิลยังไม่เพียงพอ จึงควรเน้นข้อเท็จจริงด้านการรีไซเคิลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ
ความจำเป็นต้องเร่งเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ที่สามารถรักษามูลค่าของสินค้า วัสดุ และทรัพยากรให้นานที่สุด โดยสินค้าควรถูกรีไซเคิลเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน และต้องลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด
เมื่อทบทวนข้อเท็จจริงด้านการรีไซเคิลที่มีผลกระทบมากที่สุด จะเห็นได้ชัดว่า หากต้องการปกป้องโลกใบนี้เพื่อคนรุ่นหลัง จึงต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตและบริโภคอย่างจริงจัง
ข้อเท็จจริงที่ 1 อัตราหมุนเวียนทรัพยากรของโลกกำลังลดลง
ดัชนีนี้ หรือที่เรียกว่าอัตราการใช้วัสดุหมุนเวียน วัดสัดส่วนของวัสดุทดแทนทั่วโลก โดยลดลง 21% ในช่วง 5 ปี (ระหว่างปี 2018–2023) สาเหตุหลักคือ วัสดุส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจยังเป็นวัสดุใหม่ ตามรายงาน Circularity Gap Report ปี 2024
ข้อ 2 ปี 2023 สัดส่วนวัสดุหมุนเวียนในอียูอยู่ที่ 11.8%
- ตามข้อมูล Eurostat อัตราหมุนเวียนในอียูเพิ่มขึ้น 0.3 จุดเปอร์เซ็นต์จากปี 2022 และเพิ่มขึ้น 3.6 จุดจากปี 2004 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการเก็บข้อมูล
ข้อ 3 เนเธอร์แลนด์มีอัตราหมุนเวียนสูงสุดในปี 2023 ที่ 30.6%
- ตามด้วยอิตาลี (20.8%) และมอลตา (19.8%) ขณะที่ประเทศที่มีอัตราต่ำสุดคือ โรมาเนีย (1.3%) ไอร์แลนด์ (2.3%) และฟินแลนด์ (2.4%)
ขยะมูลฝอย (MSW) ต้องระวัง
ข้อ 4 มีเพียง 19% ของขยะมูลฝอยเมืองที่ถูกรีไซเคิลหรือทำปุ๋ยหมัก
- ธนาคารโลกระบุว่า ขยะมูลฝอยเมืองทั่วโลกมีปริมาณ 2.01 พันล้านตันต่อปี เทียบเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก 822,000 สระ
ข้อ 5 ขยะเมืองจะเพิ่มเป็น 3.8 พันล้านตันในปี 2050
- จากการศึกษาร่วมของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและสมาคมขยะมูลฝอยระหว่างประเทศ (ISWA)
ข้อ 6 แต่ละคนสร้างขยะเฉลี่ย 0.74 กิโลกรัมต่อวัน
- ตัวเลขจากธนาคารโลกระบุว่าแตกต่างกันไปตามประเทศ ตั้งแต่ 0.11 ถึง 4.54 กิโลกรัมต่อวัน
ข้อ 7 ประเทศร่ำรวยสร้างขยะเมืองมากที่สุด
- แม้มีเพียง 16% ของประชากรโลก แต่กลับสร้างขยะถึง 34% หรือ 63 ล้านตัน
ข้อ 8 อย่างน้อย 33% ของขยะเมืองไม่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย
- ธนาคารโลกเตือนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
ข้อ 9 สหภาพยุโรปตั้งเป้ารีไซเคิลขยะเมืองให้ได้ 60% ภายในปี 2030
- ขยะมูลฝอยเมืองคิดเป็น 7%–10% ของขยะทั้งหมดใน 27 ประเทศสมาชิก
ข้อ 10 เยอรมนี สโลวีเนีย ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน นำด้านการรีไซเคิล
- ประเทศเหล่านี้รีไซเคิลขยะเมืองได้มากที่สุด ในปี 2023 คณะกรรมาธิการยุโรปเตือนว่าสเปนยังห่างไกลจากเป้าหมาย
ขยะพลาสติก
ข้อ 11 มีเพียง 9% ของขยะพลาสติกที่ถูกรีไซเคิล
- ข้อมูลจาก OECD ระบุว่า ในปี 2019 ขยะพลาสติกทั่วโลกถูกรีไซเคิลเพียง 9% อีก 19% ถูกเผา 50% ฝังกลบ และ 22% ถูกทิ้งอย่างผิดวิธี
ข้อ 12 สหภาพยุโรปกำลังออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียว
- ทั่วโลกเริ่มเข้มงวดกับพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ และส่งเสริมวัสดุทางเลือก เช่น พลาสติกชีวภาพ
ขวดแก้ว
ข้อ 13 มีเพียง 21% ของขยะแก้วที่ถูกรีไซเคิลทั่วโลก
- ข้อมูลจาก MMR และ Statista ปี 2023 ส่วนในอียู อัตราเก็บบรรจุภัณฑ์แก้วเฉลี่ยอยู่ที่ 80.2% (ปี 2022)
- ขวดแก้ว 1 ขวดใช้เวลาย่อยสลายถึง 1 ล้านปี แต่หากรีไซเคิลจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก
ข้อ 14 ปี 2023 อียูรีไซเคิลแก้วได้ 76%
- ตัวเลขเพิ่มขึ้นในทุกประเทศสมาชิก แม้แต่ละประเทศจะมีอัตราที่ต่างกัน
กระดาษ
ข้อ 15 ยุโรปมีอัตรารีไซเคิลกระดาษ 70.5% ในปี 2022
- ข้อมูลจาก CEPI ขณะที่ EPRC ตั้งเป้าให้ถึง 76% ภายในปี 2030 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่มูลค่า
โลหะ
ข้อ 16 74.5% ของอะลูมิเนียมที่ผลิตทั่วโลกยังคงถูกใช้งาน
- ตามรายงานของ International Aluminum Institute ปี 2024 การรีไซเคิลอะลูมิเนียมช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ 94% และประหยัดพลังงาน 93% เมื่อเทียบกับการผลิตใหม่
ข้อ 17 สหรัฐฯ รีไซเคิลเศษเหล็กได้มากพอจะสร้างสะพาน Golden Gate ได้ 900 แห่ง
- สะพานแต่ละแห่งยาว 2.7 กิโลเมตร
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste)
ข้อ 18 ปี 2022 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทิ้งทั่วโลก 62 ล้านตัน
- เทียบเท่ารถบรรทุก 1.5 ล้านคัน สามารถเรียงต่อกันรอบเส้นศูนย์สูตรโลก รายงาน Global E-Waste Monitor เตือนว่า E-Waste โตเร็วกว่าอัตรารีไซเคิลถึง 5 เท่า
ข้อ 19 รีไซเคิลแบตเตอรี่อาจจ่ายไฟให้รถยนต์ไฟฟ้าในอียู 25% ภายในปี 2030
- จากงานศึกษาของ European Federation for Transport and Environment
เสื้อผ้าและสิ่งทอ
ข้อ 20 วัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอทั่วโลกมีเพียง 0.3% ที่มาจากการรีไซเคิล
- อุตสาหกรรมนี้ใช้ทรัพยากรถึง 3.25 พันล้านตันต่อปี เพื่อผลิตสินค้าอายุสั้น จากรายงานของ Circle Economy และมูลนิธิ H&M
ข้อมูลอ้างอิง
- PICVISA