โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ร้านหนังสืออิสระ’ คือ ดัชนีชี้วัด ความมี ‘เสน่ห์’ ของ เมือง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของ ร้านหนังสืออิสระ ตามเมืองต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ คือ ดัชนีชี้วัด ความเป็นเมืองที่ดี มีเสน่ห์ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกได้ถึงความมีสุนทรียะในจิตใจของผู้คนในเมืองนั้น ๆ

บททดสอบหนึ่งของการเป็น เมืองที่ดี คือ การมีร้านหนังสือที่มีคุณภาพ!

ในประเทศไทย มีร้านหนังสืออิสระ เกิดขึ้นมากมาย หากย้อนกลับไปในอดีต ร้านแรก ๆ ดูเหมือนจะเป็น ศึกษิตสยาม

"ผมเป็นผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย พิมพ์หนังสือขายลำบากมาก ต้องไปขอให้ร้านหนังสือเขาขาย เวลานั้นส่วนใหญ่อยู่ที่วังบูรพา เขาคิด 50% ที่ร้ายคือร้านพวกนี้เขาก็ลดราคา 50% เหมือนกัน ทำให้หนังสือเราขายไม่ออก

Cr. Kanok Shokjaratkul

ผมไปขอคณะกรรมการอนุญาตให้ตั้งร้านขายหนังสือ เขาอนุมัติให้ผมทำร้านเล็ก ๆ อยู่ที่หน้าสำนักพิมพ์ ตรงข้ามโรงเรียนอุเทนถวาย ผมอยากตั้งของเราเอง โชคดีที่สามย่าน มีร้านหนึ่งตรงข้ามกับประตูวัดหัวลำโพง คนจีนเขากลัวผีมาก เขาลดให้เรา 50% เปิดร้าน ศึกษิตสยาม ที่นั่น ไปรับหนังสืออื่น ๆ มาขายด้วย เลือกหนังสือที่เราพอใจจะขาย ส่วนมากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ"

อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียน นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคม กล่าวในงานเสวนา ทำไม เมือง ต้องมี ร้านหนังสืออิสระ ในงานสัปดาห์ร้านหนังสืออิสระ ครั้งที่ 8 วันที่ 29 มิถุนายน 2568 ณ ร้านศึกษิตสยาม ถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

"จุดประสงค์ไม่ได้ขายหนังสืออย่างเดียว เราต้องการให้ความคิดความอ่านแพร่หลาย ก่อนหน้านั้นสมัยจอมพลสฤษดิ์มีอำนาจมาก เราตั้งกลุ่ม ปริทรรรศ์เสวนา คุยกันที่วัดบวรนิเวศ นิสิตนักศึกษาจบแล้วก็ไปทำราชการ ไปค้าขาย ผมเห็นว่าต่อไปคงจะถูกกลืน ก็เลยตั้ง ศึกษิตเสวนา ไว้คุยกัน

Cr. Kanok Shokjaratkul

ตอนหลังประสิทธิภาพมีมากขึ้น กลายเป็นที่ชุมนุม ปี 2510 ผมจัดงานวิทยานุสรณ์ เราจัดงานกันแทบทุกสัปดาห์ เชิญคนที่มีความคิดความอ่าน มีทั้งฝรั่ง คนไทย คนต่างชาติ เป็นสถานที่ซึ่งนักเขียนไม่มีที่ไปก็มาใช้ที่เราอยู่ เป็นร้านเดียวที่ท้าทายอำนาจรัฐ สันติบาลติดต่อมาให้ผมเลิกกิจกรรมนี้ ผมไม่เลิกหรอก อำนาจอยู่ที่คุณ คุณจะจับใครก็จับได้ เขาก็ขอมาดูด้วย

ต่อมา จุฬาเขาไล่ที่ เขาต้องการเงิน เราก็ย้ายมาที่นี่ เดิมเป็นของขรรค์ชัย บุนปาน นสพ. มติชน เขาไปได้ที่ใหม่ ก็เลยเซ้งให้ผม ถนนเฟื่องนคร เป็นถนนเก่าแก่ของปัญญาชนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เทียนวรรณ, ก.ศ.ร.กุหลาบ ก็เปิดสำนักงานอยู่แถวนี้

ร้านหนังสืออิสระ เชียงใหม่ก็มี ขอนแก่นก็มี มีร้านเกิดขึ้นแพร่หลายไปหลายเมืองแล้ว ดีใจนะครับ เขาสนใจสติปัญญายิ่งกว่าคิดหาเงินหาทอง เศรษฐกิจแบบนี้อยู่ยาก สมัยนี้มียูทูบ มีมือถือ ยากกว่าสมัยผมทำมาก ให้กำลังใจได้อย่างเดียว ไม่มีอะไรสู้หนังสือได้หรอกครับ เพราะหนังสือจะหยิบขึ้นมาอ่านเมื่อไรก็ได้ หวังว่าหนังสือจะไม่ตายจากโลกไป"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ร้านหนังสืออิสระ เกิดขึ้นด้วยใจรัก

หลายแห่ง เกิดขึ้นจากความฝัน ความรัก ความชอบในตัวหนังสือ และหนังสือเล่ม

"จุดเริ่มต้นของผมมาจาก คนรักของผมชอบพาไปนั่งร้านกาแฟ พอผมมีลูก อยากให้เขาโตมากับร้านหนังสือ ก็เปิดร้านขายหนังสือ ปี 2551 ผมรับหนังสือมาขาย ได้ 25% ถ้าขายเล่มละ 100 เราได้ 25 บาท พอมีรัฐประหาร ผมก็เริ่มขายหนังสือที่สะสมไว้ทางเฟสบุ๊ค"

เจี๊ยบ-วิทยากร โสวัตร เจ้าของร้าน ฟิลาเดเฟีย จ.อุบลราชธานี เล่าให้ฟัง

"ร้านผมอยู่ได้เพราะมีเด็กนักเรียนนักศึกษา ถ้าเขามีเงินแค่ 2 เล่มแต่อยากได้ 3 เล่ม ผมลดให้เลย แล้วก็มีอาจารย์มาซื้อแล้วให้เงินเกินไว้ ให้คนที่ไม่มีเงินซื้อหนังสือ

Cr. Kanok Shokjaratkul

ร้านผมมีคอนเซปต์ว่า Make Your Self At Home หลายคนเคยมากินมานอนที่ร้านผม มีหม้อหุงข้าวมีอะไรวางไว้เสมอ ใครมี ชา มีกาแฟ ก็เอามา ผมเลยอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

ผมไม่เคยปิดร้าน อย่างวันนี้มาพูดที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ปิด ใครไปที่ร้านอยากได้เล่มไหนก็ถ่ายรูปหนังสือแล้วสแกนจ่ายเงินได้เลย

โครงการ เติมเงินหนังสือ ถ้าสร้างอีก 20 คน จะเป็นโครงการอ่านสร้างชาติ ผมรอรัฐบาลไม่ได้ ผมต้องทำเอง ได้แต่หวังว่าวันหนึ่งถ้านักศึกษาเขาโตไปแล้วมีกำลังซื้อจะมาซื้อหนังสือจากร้านแบบเรา

ผมมีข้อเสนอว่า โซนเมืองเก่าในกทม.น่าจะทำเป็นถนนสายวัฒนธรรมร้านหนังสือ มีเส้นทางให้เราได้ใช้เวลาหนึ่งวัน โดยกทม.อาจจะซัพพอร์ตค่าเช่าหรือเอาเงินมาวางให้คนซื้อหนังสือ หรือลงบัญชีไว้ก็ได้"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ร้านหนังสืออิสระ ที่เป็นมากกว่าร้านหนังสือ

ร้านหนังสืออิสระทุกร้าน จะมีความเป็นตัวของตัวเอง

"ร้านของเรามีจุดเริ่มต้นมาจากคุณปราย พันแสง มีโครงการเปิดร้านหนังสือที่บ้านเกิด เราเองก็มีความฝันอยากเปิดร้านหนังสือ ก็เลยเข้าร่วมโครงการ จากนั้นพี่เรืองเดช จันทรคีรี ก็โทรมาบอกว่าจะมีงานร้านหนังสืออิสระวันที่ 1 เราเร่งเปิดร้านในวันที่ 26 มิถุนายน 2546 เป็นวันสุนทรภู่พอดี หนังสือที่ขายก็มีของสุนทรภู่ บทกวี และวรรณกรรมต่าง ๆ "

ฐอน รัสรินทร์ กิจชัยสวัสดิ์ เจ้าของร้าน สุนทรภู่ จ.ระยอง เล่าความเป็นมาของร้านให้ฟัง

"เราลงทุนเอง เปิดปิดเมื่อไรก็ได้ อิสระมาก บางวันเจ้าของร้านไม่อยู่ไปทำทัวร์ภูฎาณ มองโกเลีย ก็จะมีเด็กเฝ้าร้านอยู่คนหนึ่ง ลูกค้ามาก็จะหยิบหนังสือเอง โอนเงินเอง

ถ้าพูดถึงเรื่องรายได้ ยังไม่โอเค แต่ด้วยความที่บ้านไม่ต้องเช่า แล้วทำเป็นออฟฟิศด้วย เป็นที่ประชุมด้วย

Cr. Kanok Shokjaratkul
จุดเด่นของร้านเราคือมีชา เป็น Book & Tea เมื่อ 20 ปีก่อน ไม่มีคนรู้จักเมืองแกลงเลย 12 ปีที่ผ่านมา ร้านเราเป็นที่รับบริจาคหาเงินสร้างห้อง ICU ให้โรงพยาบาลแกลง ได้ 38 ล้าน ก็ทำได้สำเร็จ มีโครงการอุปกรณ์การแพทย์ ในช่วงโควิดเป็นร้านหลักสร้างรพ.สนามเป็นพัน ๆ เตียง มีความรู้สึกว่า ร้านเราต้องอยู่ จะได้ช่วยคนอีกเยอะ เราทำกิจกรรมตลอด พรุ่งนี้ก็มีงานเจ้าชายน้อยภาคตะวันออก

ถ้าประเทศต้องการคนคุณภาพต้องเริ่มต้นที่หนังสือ รัฐบาลไปส่งเสริมเรื่องภาพยนตร์สำเร็จแล้ว หนังไทยไปไกลมาก แต่ว่าหนังสือมันยังไม่ไป อยากให้รัฐบาลมาสนับสนุน ทำระบบการจัดการหนังสือแห่งชาติ มันจะช่วยได้ทุกร้าน

เวลานี้ร้านหนังสือง่อนแง่นกันหมด มันต้องมีระบบที่สนับสนุนร้านหนังสือ มีเครือข่ายร้านหนังสือ มีสต็อกหนังสือในประเทศ พอคนเซิร์ชหาหนังสือก็รู้เลยว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง ใกล้ที่ไหนสะดวกที่ไหนก็ไปซื้อที่นั่น"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คนรุ่นใหม่ต้องการพื้นที่ ทำกิจกรรมในร้านหนังสือ

ร้านหนังสืออิสระน้องใหม่ อายุ 3 ปี เข้าสู่ปีที่ 4 มาร่วมงานโครงการสัปดาห์ร้านหนังสืออิสระเป็นครั้งแรก เป็นร้านหนังสืออิสระที่มีโมเดลต่างจากร้านอื่น เพราะเป็นสำนักพิมพ์มาก่อน

"ผมไม่ได้เป็นเจ้าของ เป็นแค่ Staff เป็นบก. ทำหนังสือที่ไม่ได้เป็นกระแส เราทำร้านหนังสือเพราะอยากขายหนังสือของตัวเอง ร้านอยู่ชานเมือง ถนนพุทธมณฑลสายสอง เราปรับตัวมาเรื่อย ๆ จากเดิมเป็นร้านหนังสืออย่างเดียว ก็เปลี่ยนมาเป็น Book & Café ผลตอบรับก็ดีขึ้น"

เอก เอกสิทธิ์ เทียมธรรม บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สมมติ ร้าน The Alphabet Bookcafe กรุงเทพฯ เล่าให้ฟัง

"เราเป็นร้านที่มาแล้วสบายใจ มาแล้วคุยกับใครก็ได้ เป็น Space ที่มีวัฒนธรรมการอ่าน มีความคิดบางอย่าง มีบทกวีบางบท มาที่นี่จะได้ประสบการณ์แบบนี้ เรามีหน้าที่ไปหาประโยค มาติดไว้ ถ้ามันโดนใจเขา เขาก็มาถามว่าประโยคนี้มาจากเล่มไหน อย่างน้อยก็ได้คุยกันแล้ว ได้เริ่มต้นแล้ว หรือได้อ่านหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ

Cr. Kanok Shokjaratkul

ที่ผ่านมาเรามีกิจกรรม นัดเดทหนังสือ ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก คนมาเต็มโควต้า เป็นมินิบุคส์คลับ ที่นัดกันมาอ่านหนังสือพร้อมกัน ช่วงสองทุ่มถึงสี่ทุ่ม ดึก ๆ มืด ๆ คนไม่รู้จักกัน ต่างคนต่างมา คนหนึ่งมาจากรังสิต คนหนึ่งมาจากสามพราน

ร้านหนังสือ หรือ Space มีความสำคัญ คนที่มาอยากมีประสบการณ์ที่มนุษย์สัมพันธ์กัน รวมตัวกัน อ่านหนังสือกัน อ่านเสร็จ ก็มาคุยกัน เราเห็นความสด ความพลุ่งพล่าน มีน้องคนหนึ่งเรียนอยู่ปี 3 ขับมอเตอร์ไซค์มา บอกว่าผมอ่านช้า แต่ผมจะกลับไปอ่านต่อ

สิ่งที่อยากเสนอ ผมคิดว่ายาก ที่จะให้รัฐมาสนับสนุน แต่ถ้ารวมกันเป็นเครือข่าย จะเป็นไปได้มากกว่า"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ร้านหนังสืออิสระ กับสิ่งที่อยู่ในใจ

ร้านสวนเงินมีมา อยู่ใกล้ ๆ ร้านศึกษิตสยาม เป็นร้านที่มีอายุยาวนาน ปีนี้เข้าสู่ปีที่ 24 จากยุคแรกขายแต่หนังสือ ระยะหลังมีกาแฟขาย และจัดกิจกรรมเดือนละครั้ง

"ก็อยู่มาได้เรื่อย ๆ ลุ้นกันปีต่อปีเหมือนกัน อย่างปีนี้ลุ้นหนักเลย ไม่รู้ว่าจะยังไงเหมือนกัน เพราะสถานการณ์มันแย่มาก ผู้คนแข่งกันลดราคาหนังสือลง ไม่รู้ว่าเป็นผลดีกับใครบ้างหรือเปล่า แต่สำหรับเรา เราถูกกระทบมาก จากการแข่งกันลดราคา"

มิ-วรนุช ชูเรืองสุข บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ตัวแทนจากร้านสวนเงินมีมา แสดงความคิดเห็น

"แล้วก็มีหนังสือปลอม มีขายออนไลน์เยอะมาก ร้านมีเยอะขึ้น ซึ่งมันก็ดี มีการเข้าถึงหนังสือได้เยอะขึ้น แต่น่าจะมีกฎกติกาอะไรเพิ่มขึ้นด้วย ในการช่วยกันให้อยู่ได้ด้วยกันทุกฝ่าย"

Cr. Kanok Shokjaratkul

ร้าน House of Commons-BookCafe&Space เป็นร้านหนังสืออิสระอีกร้านหนึ่ง ที่มีอายุ 13 ปีในปีนี้

"ร้านเราเดิมเคยอยู่หน้าร้านสวนเงินมีมา แล้วก็ย้ายไปที่ตลาดน้อย รูปแบบร้านคล้าย ๆ ร้าน Alphabet มีส่วนผสมระหว่างหนังสือ กาแฟ แล้วก็ Space เราได้แนวคิดนี้มาจากศึกษิตสยาม ในการทำร้าน เพราะคิดว่าเราต้องขับเคลื่อนอะไรบางอย่าง ก็เลยมีสเปซขึ้นมา

บุญเลิศ คณาธนสาร ผู้ร่วมก่อตั้งร้าน House of Commons-BookCafe&Space เสนอความคิดเห็น

การเปิดร้านหนังสืออิสระในสมัยนี้ ต้องมีเงินประกันค่าหนังสือในระบบฝากขาย ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ 5,000-10,000 บาท ส่วนสายส่ง 50,000 ขึ้นไป เราต้องมีเงินเย็น อย่างน้อย ห้าหมื่นถึงสองแสน ถึงจะทำร้านหนังสือได้ ซึ่งมันน่าจะมีระบบอื่นที่ดีกว่านี้"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ร้านหนังสืออิสระ สร้างวัฒนธรรมในการอ่าน

หนังสือมีพลังมากมาย อาจารย์ฮูก อรรถพล อนันตวรสกุล นักวิชาการ ครูบาอาจารย์ กล่าวว่า ตัวเองโตมาในยุคที่ร้านหนังสือยังไม่มีแฟรนไชส์

"บ้านอาม่าอยู่หลังพาหุรัดคือวังบูรพา ตอนป.5 ไปอยู่บ้านอาม่า ก็ไปสิงอยู่ตามร้านหนังสือแถววังบูรพา หรือศึกษาภัณฑ์ บ้านตัวเองอยู่เตาปูนก็มีร้านเช่าหนังสือ ผมโตมากับวัฒนธรรมที่มีหนังสือเล่ม มี Passion ว่าถ้าโตขึ้นทำงานได้ที่บ้านต้องมีหนังสือ

ที่บ้านผมมีแผงขายหนังสือเล็ก ๆ ก็โตมากับนิตยสารต่าง ๆ พอมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ก็มีหอสมุดใหญ่ ร้านหนังสือสำหรับผมเหมือนโอเอซิส เวลาไปต่างประเทศ อันดับแรกที่มองหาคือ Book Store เมืองนี้มีอยู่ที่ไหนบ้าง เคยไปอยู่ญี่ปุ่นปีกว่า ที่นั่นวัฒนธรรมการอ่านแข็งแรงมาก หนังสือญี่ปุ่นจะเล่มเล็ก ๆ ใส่กระเป๋าได้

Cr. Kanok Shokjaratkul

ร้านหนังสือคือดัชนีชี้วัดเมือง เพราะเมืองไหนที่น่าอยู่เราจะเจอร้านหนังสือขนาดเล็กหมดเลย อย่างมาร้านศึกษิตสยามวันนี้ผมได้เจอหนังสือ ห้องสีขาวใต้หลังคา หนังสือที่ผมเคยอ่านสมัยมัธยมปลาย มีผลกับการใช้ภาษาของตัวเองมาก ได้มาในราคา 20 บาท

เราจะไม่เจอหนังสือแบบนี้ที่ร้านหนังสือเชนสโตร์ เวลาไปที่ไหนผมจะไปอุดหนุนร้านหนังสือเล็ก ๆ ร้านเหล่านี้อยู่ได้เพราะคนซื้อ แล้วคนขายหนังสือก็รู้จักหนังสือดี ถามหาหนังสือได้

ผมเคยไปที่โปรตุเกส มีร้านหนึ่งอยู่มา 120 ปี มีบันไดสวยมาก อยากให้มีร้านอย่างนี้ในกรุงเทพฯบ้าง หรือถ้ามากรุงเทพฯ ต้องมาร้านหนังสือ 30 ร้านอะไรบ้าง"

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ชุมชนเข้มแข็ง สามารถผลักดัน 'เมือง' ได้

ในส่วนของภาครัฐ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมเสวนา กล่าวว่า ร้านหนังสืออิสระเป็นเรื่องของชุมชน เป็นเรื่องของคนเรียนรู้โลกที่ต่างกัน

"ร้านหนังสืออิสระ เป็นพื้นที่ให้เราได้เจอเพื่อน มีความรู้ที่ต่อเนื่องกัน บางทีอยากซื้อหนึ่งเล่ม แต่มีอีกหลายเล่มที่เนื้อหาต่อเนื่องกัน

อย่างน้อย ๆ เจ้าของร้านก็สามารถแนะนำ สร้างความอยากรู้ให้กับคนที่มาได้ ไม่เหมือนกับการเข้าแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราโดน Algorithm ครอบงำเรา มารู้ตัวอีกทีซื้อไป 5 เล่ม ซื้อหนังสือด้วย

เวลาเราไปร้านหนังสืออิสระ เราไม่ได้มาเพื่อซื้อหนังสืออย่างเดียว แต่ไปเพราะมีพี่คนนี้รู้เรื่องนี้ เราไปแล้วพูดภาษาเดียวกัน

เรามองเห็นคลื่นลูกใหญ่ ที่มีความนิชมากขึ้น เช่น ร้านหนังสือริมขอบฟ้า มีหนังสือเรื่องเมืองเก่า ประวัติศาสตร์

Cr. Kanok Shokjaratkul

กทม.พยายามจะทำอัตลักษณ์ของพื้นที่ ให้เป็นย่านย่านหนึ่งที่อยากมา มาแล้วก็เป็นเน็ตเวิร์ค ทำเป็นเส้นทางเดิน

สิ่งที่น่าจะทำได้ เราอยากทำถนนหนังสือ ก็ต้องมาหารือกัน ทั้งซอฟต์แวร์ฮาร์ดแวร์ เช่น ฝาท่อ การทำรั้ว ซึ่งมันลึกกว่าแค่พาเดิน

ใครที่อยากพาลูกไปอ่านหนังสือภาพสำหรับเด็ก ที่ห้องสมุดกทม. การันตีว่าตอนนี้มีหนังสือภาพสำหรับเด็กเยอะขึ้นมาก โดยเฉพาะที่หอสมุดเมือง

เรามีชุมชนผู้อ่านกระจัดกระจาย ถ้ารวมกันเป็นชุมชนเข้มแข็งได้ จะกระตุ้นรัฐได้อย่างดี สามารถผลักดันได้

ตอนแผ่นดินไหว ห้องสมุด ดรุณบรรณาลัย อาคารเสียหาย กทม.ก็เอาโยธามาดู มีเอกชนมาซัพพอร์ท ก็สามารถเปิดได้ เพราะห้องสมุดดรุณฯ มีชุมชนผู้ปกครองที่ใหญ่มากมารวมตัวกันเพื่อกอบกู้สิ่งนี้ขึ้นมา

สิ่งที่จะพยุงได้จริง ๆ คือพวกเราชุมชน ที่ห้องสมุดดรุณฯ กลับมาเปิดอีก ความดีความชอบอยู่ที่ผู้ปกครองเลย เพราะเข้มแข็งมาก"

Cr. Kanok Shokjaratkul

Cr. Kanok Shokjaratkul

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

รทสช. หวั่น เจรจา ‘ภาษีสหรัฐฯ’ ไม่ทันเดตไลน์ จี้ ‘พิชัย’ งัดแผนสำรอง

51 นาทีที่แล้ว

'เลี่ยงภาษี' หรือ 'วางแผนภาษี' เรื่องที่ควรรู้ก่อนสรรพากรมาถึง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตรวจสถานะข้อตกลงการค้าสหรัฐ ยังดีลไม่ได้อีกหลายประเทศ!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘นิด้าโพล’ ชี้ ‘ฮุน เซน’ ทายมั่ว ไทยเปลี่ยน ‘นายกฯ’ หวัง ยั่วยุ แทรกแซง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

รู้จักความสัมพันธ์แบบ ‘Monkey-Barring’ พฤติกรรมแบบลิงโหนบาร์ ไม่ปล่อยมือคนเดิม แต่เพิ่มเติมคนใหม่

The Momentum

วันไก่ทอดสากล KFC และอีกหลายแบรนด์ จัดโปรโมชั่นร่วมฉลองคึกคัก

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

MOODY: ทำไมคนเรา ‘อยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน’ จริงไหมที่การใส่ใจเรื่องราวคนอื่น ทำให้ชีวิตเรามีสีสันมากขึ้น

BrandThink

"สุชีลา ตันชัยนันท์" นักศึกษาผู้เรียกร้องสิทธิสตรี กับความรุนแรงบนรถเมล์ใน "6 ตุลา"

ศิลปวัฒนธรรม

Annie วง ALLDAY PROJECT เผยเงื่อนไขของครอบครัวก่อนจะยอมให้เธอมาเป็นไอดอล

THE STANDARD

วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ พนักงานต้องการอะไร ไม่ใช่แค่กาแฟฟรี!

SpringNews

CHANEL สนับสนุนเทศกาลฉายหนังกลางแจ้ง Cinéma Paradiso Louvre ที่ปารีส

THE STANDARD

ขยะใยแก้วคืนชีพ! AIS 3BB Fibre 3 สู่ดีไซน์อีสานสร้างมูลค่า

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...