โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เผยเหตุประกาศห้ามเล่น "ลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา)" ในสมัยรัชกาลที่ 5

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพถ่ายการเล่นไพ่สมัยรัชกาลที่ 5 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นการจัดฉากเพื่อถ่ายรูปโดยตรง ฉากหลังวาดเป็นภาพพระพุทธรูปและพระเจดีย์ (ภาพจากหนังสือสมุดภาพกรุงเทพฯ)

การเล่นที่ถูกสั่งห้ามเล่นสมัย ร.5 มี เล่นลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา) ด้วย !?

“การเล่น” ของเด็กในสมัยต่าง ๆ ล้วนมีประโยชน์ (และโทษ) ในตัว การศึกษาวัฒนธรรมการละเล่นและของเล่นย่อมสะท้อนสภาพแวดล้อมทางสังคมในสมัยนั้นได้ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในยุคหนึ่ง ประเทศไทยเคยมีการเล่นที่ถูกสั่งห้ามเล่นสมัย ร.5 นั่นคือ “ลูกข่าง” และ “ส้อนหา” (ซ่อนหา) ฯลฯ

ต้องยอมรับว่า ระบบการศึกษาของไทยในทศวรรษ 2400 ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงและพัฒนาควบคู่ไปกับการจัดระเบียบพื้นที่ต่างๆ การละเล่นหรือกิจกรรมของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเส้นทางสัญจรต่าง ๆ ก็ถูกรวมเข้าไปอยู่ในการจัดระเบียบด้วย

เอนก นาวิกมูล ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เขียนเล่าในหนังสือ “ของเล่นของเรา Our Toys” อธิบายการพบข้อมูลประกาศที่ออกเมื่อ พ.ศ. 2417 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการออกประกาศห้ามเด็กเล่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีส่วนขวางทางจนอาจส่งผลกระทบต่อผู้สัญจร หรือเป็นไปได้ว่าด้วยสาเหตุเรื่องผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กเอง

ผู้เขียนหนังสือเล่าว่า ค้นพบประกาศจากหนังสือ “เอกสารเรื่องจัดการศึกษาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เป็นหนังสือในวาระฉลองวันเฉลิมถวัลยราชสมบัติครบ 100 ปี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประกาศว่าด้วยการห้ามเด็กเล่นที่ออกมาใน พ.ศ. 2417 มี 2 ฉบับ ประกาศฉบับแรกมีเนื้อความ 3 ลำดับที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนหนังสือค้นหาข้อมูลความหมายของ “การเล่น” ในประกาศจากพจนานุกรมราชบัณฑิตสถานและหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2416 มาประกอบ

ประกาศฉบับแรก ลำดับแรก กล่าวถึงการเล่นพนันผู้ใหญ่ 12 อย่าง ซึ่งอาจล่อลวงให้เด็กเล่นจนเสียเวลาศึกษา ประกาศระบุโทษ กรณีจับได้ ให้ปรับและเฆี่ยนเจ้ามือ 30 ที ให้ผู้ใหญ่มารับเด็กภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าพ้นจากเวลาที่กำหนดแล้วต้องจ่ายค่าปรับเป็นค่าส่งตัว

ลำดับที่สอง ว่าด้วยการเล่นของเด็กตามหัวข้อ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการเล่นพนัน แต่เชื่อว่าการเล่นเหล่านี้อาจกีดขวางพื้นที่เดินทาง กรณีที่เล่นแล้วกีดขวางก็เป็นไปได้ว่าเข้าข่ายในประกาศนี้ แต่ถ้าเล่นในที่พักอาศัยส่วนตัวถือว่าไม่ละเมิด

ลำดับที่สองนี้ ระบุ การเล่น ไว้ 13 ประเภท ได้แก่

1. เล่นลูกข่าง
2. ช่วงไชย
3. จ้องเต
4. ทอยเทศ
5. ทอยกอง
6. อยู่โยง
7. ส้อนหา (คำว่า “ซ่อนหา” พบความหมายว่า การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง ฝ่ายหนึ่งซ่อน ฝ่ายหนึ่งหา คนที่หาผู้อื่นจะก้มหน้านับ 1 ถึง 10 ระหว่างนั้นให้ผู้อื่นไปซ่อนตัว เมื่อพบคนแอบคนใด คนนั้นต้องมาเป็นคนหาแทน แต่ถ้าคนแอบมาแตะตัวคนหาได้ก่อนที่จะถูกร้องขาน คนหาต้องหาต่อจนกว่าจะหาคนมาเป็นแทน)
8. กุลาส้อนผ้า
9. เล่นตี่
10. เล่นเหว้า (เล่นว่าว)
11. เล่นตะกร้อ
12. จุดดอกประทัด
13. จุดดอกไม้เพลิง

ลำดับที่สาม เป็นกลุ่มการเล่นที่เด็กเล่นตามลำพัง ลักษณะการเล่นใช้เนื้อที่น้อย ในประกาศไม่ได้ระบุว่าต้องจับปรับ แต่ให้ผู้ใหญ่คอยตักเตือนห้าม

ผู้เขียนหนังสือยกถ้อยคำจากหนังสือรวบรวมประกาศที่แจ้งว่า

“แลการเล่นต่างๆ ซึ่งกล่าวมาแต่ต้นนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าเปนเครื่องจูงใจให้เด็กเพลิดเพลินเอิบอาบเลยลามไปจนเล่นการพนันใหญ่คือไพ่ต่างๆ 1 ดวด 1 ถั่ว โป 1 จนเด็กยับเยินเปนหนี้เปนทาส แลพาบิดามารดาเป็นหนี้เปนทาส เข้าด้วยก็มีเปนมาก เพราะเด็กฝึกใจมาตั้งแต่เล็กจนคุ้มใหญ่ จะฝึกหัดดัดแปลงเมื่อโตก็ดัดเปนอันยาก

จึงโปรดเกล้าฯ ว่าตั้งแต่นี้สืบไปภายหน้า ให้บิดามารดา ญาติ ฤานายเงินของเด็กห้ามปรามเด็ก อย่าให้ประพฤติการเล่นอย่างที่ว่ามาแล้ว ให้เอาใจใส่ฝึกสอนเด็กให้รู้จักธรรมเนียมที่ดี คือให้เรียนหนังสือ ให้เรียนเลข การศิลปะศาสตร์วิชาช่างต่างๆ แลการวิชาค้าขายทำมาหากินตามนิไสของเด็กที่ชอบฝึกหัดสิ่งใดได้วิชาสำหรับตัวเด็กไว้อย่างหนึ่ง จะได้เปนที่พึ่งของเด็กต่อไปในภายน่า…”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

เอนก นาวิกมูล. ของเล่นของเรา Our Toys. กรุงเทพฯ : สายธาร, 2553

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 ตุลาคม 2561

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : เผยเหตุประกาศห้ามเล่น “ลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา)” ในสมัยรัชกาลที่ 5

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“อัมเบดการ์” บิดารัฐธรรมนูญอินเดีย ใช้กฎหมายช่วยคนทุกชนชั้น

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“รักเดียว” ของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สตรีที่พระบรมชนกนาถ (ร.5) ไม่ทรงชอบพระทัย

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เข้าใจตัวละคร How to Train Your Dragon เมื่อมนุษย์ไม่อาจเติบโตได้เพียงลำพัง

PPTV HD 36

‘แฟนไม่อยู่ หนูร่าเริง’ คำแซวจากเพื่อนของแฟนที่บางครั้งอาจไม่ใช่เรื่องตลกในความสัมพันธ์ เมื่อมุกที่คนพูดแค่ขำๆ อาจทำให้เกิดรอยร้าวในใจคน

Mirror Thailand

Tan Jianci ถูกแต่งตั้งให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนใหม่ของ Roger Vivier

THE STANDARD

งดงามชุ่มฉ่ำ “น้ำตกตาดฟ้า” กลางผืนป่าภูเวียง จ.ขอนแก่น

Manager Online

สำนักพุทธฯ เครียด ไม่เคยเจอวิกฤต นารีพิฆาต ข้องใจ ทำไมผู้หญิงคนเดียว เอี่ยวพระจำนวนมาก

MATICHON ONLINE

“อธิเกียรติ จิราธิวัฒน์” ทายาทรุ่นใหม่เซ็นทรัล เน้นสร้างทีมงานเข้าถึงใจคนดีกว่าใช้หุ่นยนต์

Manager Online

Infinite Workday การงานล้ำเส้นชีวิต เป็นมือที่ 3 เพิ่มการหย่าร้าง

กรุงเทพธุรกิจ
วิดีโอ

หมอยง เผย ระวัง"เห็บ"กัดคน แพร่เชื้อไวรัส โรคไข้สูงเกล็ดเลือดต่ำ ติดจากเห็บ พบทั่วไทย เสี่ยงตาย ยังไร้ยารักษา

BRIGHTTV.CO.TH

ข่าวและบทความยอดนิยม

เผยเหตุประกาศห้ามเล่น "ลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา)" ในสมัยรัชกาลที่ 5

ศิลปวัฒนธรรม

เปิดสมุดข่อย ส่องตำราแมวไทย เลี้ยงไว้ท่านว่าเป็นมงคล

ศิลปวัฒนธรรม

พิบูลสงคราม ราชทินนามผู้ว่าจังหวัดนครนายก ทำไมเป็นนามสกุล จอมพล ป.

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...