โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

WHA ชี้เวียดนามปิดดีลภาษีดี หนุนลงทุน หวั่น 5 ปีไทยโดนแซง หากไม่เร่งพัฒนา

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group ดำเนินธุรกิจ 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 1. ธุรกิจโลจิสติกส์ 2. ธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน 3. ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม 4. ธุรกิจดิจิทัล และ 5. ธุรกิจโมบิลิตี้ (ภายใต้แบรนด์ Mobilix) ซึ่งทั้ง 5 ธุรกิจ มีทั้งรายได้ที่เกิดประจำและรายได้ที่มาจากการขาย

โดยผลการดำเนินงานงวด ไตรมาส 1 ปี 2568 ว่า บริษัทมีรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรทั้งสิ้น 5,193 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 2,075 ล้านบาท โดยเป็นรายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติ 5,181 ล้านบาท และกำไรปกติ 2,065 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61% (Y-Y) เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยปัจจัยที่ทำให้กำไรปกติมาจากการเติบโตของ 5 กลุ่มธุรกิจ

ทั้งนี้ WHA ได้มุ่งขยายโครงการใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพทั้งในประเทศไทย และประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการใช้พื้นที่คลังสินค้าเพิ่ม

สำหรับไตรมาส 1/2568 WHA Group มีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 16 แห่ง ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่กำลังก่อสร้างและรอการพัฒนารวม 7 โครงการ บนพื้นที่ 9,681 ไร่ ล่าสุด มีการพัฒนาพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรม WHA Eastern Seaboard Industrial Estate 5 (WHA ESIE 5) เฟส1 พื้นที่กว่า 4,000 ไร่ ภายใต้แนวคิดนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ “Smart Eco Industrial Estate” ที่มุ่งเน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ขณะที่ประเทศเวียดนาม มี 2 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง พื้นที่รวม 2,297 ไร่ และอีก 1 โครงการ มีขนาดพื้นที่ 1,094 ไร่ อยู่ระหว่างการขออนุมัติใบอนุญาตลงทุน โดยช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับรัฐบาลท้องถิ่นประจำจังหวัด Thanh Hoa เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อพัฒนาเขตอุตสาหกรรม พื้นที่รวม 4,000 ไร่

น.ส.จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า การที่สหรัฐปิดดีลเจรจาภาษีกับเวียดนามเรียบร้อยแล้วนั้น ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมที่เวียดนามน่าจะดีขึ้นจากเดิมที่โดนเก็บภาษีนำเข้า 46% เหลือ 20% เพราะในช่วงแรกลูกค้ายังงงอยู่ที่เพราะคาดว่าน่าจะต่ำกว่าที่ได้ประกาศครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม สำหรับการเจรจาของประเทศไทย ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ทราบว่าเท่าไหร่ โดยขณะนี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างเจรจา ซึ่งจากการติดตามข่าวเห็นบอกว่าน่าจะอยู่ที่ 18% จาก 36% และคาดว่าจะต่อรองให้ได้ 10% ซึ่งก็ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าอะไรก็ตามถ้าไทยโดนภาษีที่ต่ำกว่าเวียดนามหรือไม่สูงกว่าเป็นเรื่องที่ดีกับประเทศไทยเพราะว่า จากการที่สหรัฐได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งแรกในไทยได้มีการเซอร์เวย์ลูกค้าที่ปัจจุบันมีการส่งออกไปสหรัฐอสูง โดยลูกค้า 70% มองว่าหากไทยโดนภาษีที่ 10% เป้นเรื่องที่รับได้ ส่วนลูกค้าอีก 30% มองว่าถ้าไม่เกิน 20% ก็ยังพอรับได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดู

“หากสุดท้ายแล้วไทยโดนเก้บภาษีนำเข้าสหรัฐที่ตัวเลข 18% ที่หลายคนมอง หรือต่ำกว่านี้ลงมาก็น่าสนใจ ซึ่งอะไรก็ตามขอให้ต่ำกว่าเวียดนามเข้าไว้ ส่วนการที่เวียดนามจะเป็นประเทศคู่แข่งกับไทยก็ไม่ใช่ direct เสมอไปเพราะในปัจจุบันการที่จะลงทุนประเทศไหนอยู่ที่ว่าอินดัสตรีนั้นๆ ต้องการอะไร”

ทั้งนี้ ปัจจุบันที่ไทยยังเหนือกว่าเวียดนามคือ Infrastructure ที่ดีกว่า อนาคตหากเวียดนามพัฒนาไปเรื่อยๆรวมถึงมีการปรับจังหวัด และ Restart ทั้งประเทศซึ่งหากทำได้ดีใน 5 ปีนี้ ความสามารถทางการแข่งขันเวียดนามจะสูงกว่าไทยมาก และไทยก็จะเหนื่อยถ้าไม่ปรับอะไร ส่วนเรื่องค่าแรงที่เป็นจุดเด่นของเวียดนามก็เริ่มลดลงแล้วเพราะในเมืองหลักไม่ว่าจะเป็นโฮจิมินห์และฮานอย ก็ปรับค่าแรงสูงขึ้น จากการขยายการลงทุนเยอะมากขึ้น

“ตอนนี้ทั้ง ฮานอยและโฮจิมินห์ ก็เริ่มมีประเด็นแรงงานที่เริ่มไม่พอแล้ว และยังมีประเด็นเกิดการแย่งแรงงานกันเกิดขึ้น จึงต้องดูในเรื่องนี้ จากการพัฒนาประเทศให้ไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น ทั้งเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น”

น.ส.จรีพร กล่าวถึงสินค้าสวมสิทธิ์ที่เป็นปัญหาในประเทศไทยว่า ยืนยันว่าลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ทั้งหมดล้วนเกิดการผลิตจริงไม่ทั้งสิ้น ลูกค้าอสหรัฐที่ล้วนเป็นบริษัทใหญ่ หากจะซื้อสินค้าจะบินมาตรวจโรงงานในนิคมว่าผลิตจริงหรือไม่ซึ่งมีการผลิตจริงที่เป็นโลคอล คอนเทนต์ และไม่มีการสวมสิทธิ์แน่นอนจะเห็นได้จากที่ลูกค้าในนิคมเมื่อซื้อที่ดินเสร็จก็จะสร้างโรงงานและนำเครื่องจักรเข้า รวมถึงเชิญเราหรือแม้กระทั้งเชิญรัฐมนตรี หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรี เพื่อไปเปิดโรงงานให้เห็นไลน์ผลิต

ดังนั้น จะเห็นว่าขณะนี้ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตรวจสอบและปิดโรงงานที่มาสวมสิทธิ์อยู่นอนมาก ถือเป็นประเด็นที่เอามาสวมสิทธิ์ ดังนั้น ในส่วนนี้เอกชนเห็นด้วยหากภาครัฐจะมีการอย่างจริงจัง เพราะกลายเป็นว่าผลกระทบมาเสร็จที่ประเทศไทยที่ต้องมาเจอในเรื่องของภาษีที่มาสวมสิทธิ์ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นอยู่แล้วในการนำสินค้าเข้ามาแล้วเปลี่ยนฉลากสวมสิทธิ์ เพราะประเทศไทยไม่ได้อะไรเลย รวมถึงคนไทยก็ไม่ได้อะไรไม่ควรจะมีอยู่แล้วต้องจัดการขั้นเด็ดขาด

“เศรษฐกิจขึ้นปีหลังในการลงทุนของ WHA ยังดีต่อเนื่อง เพราะในครึ่งปีหลังยังมองว่าลูกค้าที่เตรียมจะโอนที่ดินหรือลูกค้ารายใหม่ยังคงคอนเฟิร์มอยู่”

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'ทักษิณ' ไม่กังวลคดีชั้น 14 'ทนาย' ขอศาลงดแพร่คำเบิกความพยาน

34 นาทีที่แล้ว

โยคะ...ไม่ใช่แค่การยืดตัว: วิถีแห่งอินเดียที่เปลี่ยนชีวิตคุณได้

41 นาทีที่แล้ว

‘อรรถกร’ ประกาศ ไม่อายใคร ได้นั่ง ‘รมว.เกษตรฯ’ เพราะ ‘ธรรมนัส’

53 นาทีที่แล้ว

จีนสั่งห้าม ‘อีคอมเมิร์ซ’ บีบร้านค้าหั่นราคา แก้ปัญหา ‘สงครามราคา-เงินฝืด'

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

"ZSL" และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เปิดเวทีเสวนาสาธารณะว่าด้วย THAILAND TAXONOMY 2.0

สยามรัฐ

งานแรก! ‘จตุพร’ ลุยนครศรีฯ แก้ปัญหาราคามังคุด ปล่อยคาราววานรถกว่า 40 ตัน กระจายทั่วไทย

The Bangkok Insight

เมย์แบงก์ แนะสะสมหุ้น CENTEL ชี้ได้ผลดี"เที่ยวไทยคนละครึ่ง"

ทันหุ้น

CardX เตือนภัยมิจฉาชีพยุคใหม่ คนไทยสูญเงินเฉลี่ยเกือบแสน! พร้อมเปิด 5 กลโกง–ฟีเจอร์ใหม่กันแอบอ้างทันที

สยามรัฐ

NSL เดินหน้าส่งออก สร้างมูลค่าสินค้าด้วย Thai Soft Power ดันขนม–อาหารพร้อมทานสู่ตลาดโลก

สยามรัฐ

Nike ยืนยันสิ้นสุดแผนปรับตัว เปิดฉากทวงคืนตลาดค้าส่ง-นักช็อปหญิง

ประชาชาติธุรกิจ

GISTDA เดินหน้าพัฒนากำลังคนอวกาศ หนุนไทยเป็นศูนย์กลางกิจการอวกาศอาเซียน เชื่อมโยงอุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ ดิจิทัล

สยามรัฐ

AMATAลุ้นเจรจาภาษีหนุน “อิเล็ก-ดาต้า”ดันยอดขาย

ทันหุ้น

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...