โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

"อนุชา" ชู 4 นโยบายผนึกพลังภาคี สช. สร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายอนุชา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และประธานกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ซึ่งได้เดินทางมายังอาคารสุขภาพแห่งชาติ จ.นนทบุรี เพื่อพบปะพูดคุยและหารือแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง สธ. กับ สช.

นายอนุชา รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า คำที่สำคัญและตรงกับบทบาทภารกิจของ สช. คือ "สร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม" คำนี้ถือเป็นหลักการใหญ่ในการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้ใช้หลักการนี้มอบนโยบายให้กับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คือการสร้างสุขภาวะประชาชนทุกช่วงวัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดทั้งความตระหนักรู้ ส่งเสริมป้องกัน ร่วมกันผลักดันนโยบายที่ดี

ดังนั้น ในส่วนของ สช. ซึ่งทำงานครอบคลุมทั้งกาย จิตใจ สังคม และปัญญา และมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการมีส่วนร่วม เป็นกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน จึงยังคงขอใช้คำเดียวกันในการมอบนโยบาย แต่ในรายละเอียดจะมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างออกไป

สำหรับการทำงานของ สช. ซึ่งมีจุดแข็งคือภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการหนุนเสริมนโยบายรัฐบาลในการดูแลประชาชนในทุกช่วงวัย จึงขอฝากความหวังไว้กับ สช. ในการสานพลังทุกภาคส่วนมาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดสิ่งดี ๆ

ส่วนประเด็นที่อยากให้น้ำหนักในการขับเคลื่อนงานหลังจากนี้มีด้วยกัน 4 ประเด็น ได้แก่ 1. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย 3. เด็กและเยาวชนสุขภาพดีเติบโตอย่างมีคุณภาพ 4. คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่เกื้อกูลกันโดยทั้ง 4 ประเด็นนี้มีความเชื่อมโยงกัน สัมพันธ์กัน และอาจพูดได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะท้ายที่สุดจะนำไปสู่รูปธรรมของการสร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม

นายอนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนตัวเป็นคนที่มีบุคลิกเข้าถึงได้ง่าย การทำงานในฐานะรองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และ ส.ส.นครปฐม ก็มุ่งเน้นไปที่ประชาชนในระดับพื้นที่และกลุ่มคนเปราะบางเป็นสำคัญ ที่ผ่านมามีโอกาสทำงานร่วมกับชุมชนและอาสาสมัครต่าง ๆ และแน่นอนว่า ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคฯ ย่อมทำงานเชื่อมโยงกับหัวหน้าพรรคฯ คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ (พม.) ตรงนี้ช่วยยืนยันว่า ทั้งเรื่องสุขภาพและสังคมจะไร้รอยต่อ การทำงานหนุนเสริมกันและกันระหว่าง สธ. กับ พม. จะช่วยก้าวข้ามข้อจำกัด และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนได้อย่างแน่นอน

"ในส่วนการทำงานร่วมกันนั้น มี 5 หลักการที่อยากฝากทุกท่าน คือ 1. มุ่งเป้าเห็นผลสำเร็จระยะสั้นใน 3 เดือนและทำได้ต่อเนื่องจนเกิดความยั่งยืน 2. เลือกประเด็นสาธารณะที่ประชาชนต้องการ 3. สร้างการมีส่วนร่วมเป็นที่ยอมรับ 4. การสื่อสารเชิงคุณภาพ ทันสมัย เคลื่อนไหวสังคม 5. เน้นหานวัตกรรมในการขับเคลื่อนการทำงานส่วนร่วม ซึ่งเชื่อว่าหลักการนี้สอดคล้องกับที่คุณหมอสุเทพ เพชรมาก วางแนวทางการบริหารงานของ สช. เอาไว้อยู่ก่อนแล้ว" นายอนุชา กล่าว

พร้อมกันนี้นายอนุชา รมช.สาธารณสุขยังได้เสริมความเห็นต่อการขับเคลื่อนงานในประเด็นต่าง ๆ เช่น การป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ที่ควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ สร้างความเคยชินในเชิงของพฤติกรรมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสามารถทำได้ง่ายกว่า โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาในระดับอนุบาล ประถม มัธยม

ขณะที่การดูแลกลุ่มผู้สูงวัย ส่วนตัวมีแนวคิดที่กำลังขับเคลื่อนใน จ.นครปฐม โดยการให้หน่วยราชการในท้องถิ่นมีศูนย์ Day Care ที่คนทำงานสามารถพาพ่อแม่มาอยู่ในที่ทำงานได้ ในเชิงหนึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการทำงาน เพราะช่วยลดความกังวลจากการที่ต้องทิ้งพ่อแม่ไว้อยู่ลำพังที่บ้าน ในขณะที่ผู้สูงวัยเองเมื่อได้มาอยู่รวมกัน ก็เป็นสภาพแวดล้อมที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศไปได้ในตัว

ด้าน นพ.สุเทพ กล่าวว่า นโยบายที่ท่านอนุชา ในฐานะรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลงาน สช. นั้น สอดคล้องและเป็นเนื้อเดียวกับการทำงานของ สช. เป็นอย่างมาก จึงมั่นใจว่าการทำงานร่วมกันระหว่าง สช. สธ. และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจะกลมกลืนและเสริมพลังซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้จุดเน้นเรื่องการสร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นพันธกิจโดยตรงของ สช. ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ยิ่งตอกย้ำว่า ผู้บริหารฝ่ายการเมืองมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วม ที่จะนำไปสู่การคลี่คลายปัญหาอันสลับซับซ้อนได้จริง

นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการ คสช.

นพ.สุเทพ กล่าวต่อไปว่า เบื้องต้นได้นำเสนอความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะให้นายอนุชารับทราบ ประกอบด้วย 1.การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูง 2.การสานพลังสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

3.การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 17.1 เรื่องการท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน 4.เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร 5.การพัฒนาระบบสุขภาพช่องปาก 6. การดำเนินงานสานพลังพื้นที่เข้มแข็ง โดยใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านการบูรณาการระหว่าง 9 หน่วยงาน (ภาคีอาสา)

"ประเด็นที่ สช. ขับเคลื่อนเหล่านี้ตอบโจทย์สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีให้น้ำหนักความสำคัญ และที่ท่านรัฐมนตรียืนยันว่าการขับเคลื่อนงานจะไม่ใช่เพียงแค่ใน สธ. แต่ยังจะเชื่อมต่อไปยังท่านวราวุธ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ด้วย ตรงนี้จะช่วยหนุนเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้การสร้างสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ และนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของประเทศต่อไป" นพ.สุเทพ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

แผน “จักรพงษ์ภูวนาถ” คืออะไร หลังกองทัพไทยสั่งใช้ตอบโต้กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พรรคเพื่อไทย ประณามเหตุลอบวางทุ่นระเบิดช่องอานม้า ชายแดนไทย-กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดรายชื่อ 5 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บเหตุเหยียบกับระเบิดล่าสุด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นกแอร์ เหลือหนี้ 400 ล้าน ตั้งเป้าออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ กลางปี 2571

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เช็คเลย! อาการแบบนี้ร่างกายกำลังขาดวิตามิน

สยามรัฐวาไรตี้

รักษาหลุมสิวใช้เวลานานไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

new18
วิดีโอ

เตือนสายไดเอต! เด็กสาววัย 16 เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังใช้วิธีลดน้ำหนักสุดโหด

WeR NEWS

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันร้ายไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีโรคเพียบ

Amarin TV

ครีมกันแดด Chemical VS Mineral: ดูดซับ VS สะท้อน รังสียูวี จริงหรือ !?

Amarin TV

ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

BT Beartai

สุ่มตรวจเวชระเบียน ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดการรักษาเกินจำเป็น

ฐานเศรษฐกิจ

CIB ผนึก อย. บุกลาดกระบังทลายโกดังสินค้าจีน พบของใช้ในครัวเรือน - เครื่องสำอางเถื่อนเพียบ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...