โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ดุสิตฯ เผยโฉมแรก-ชวนตั้งชื่อ "สวนลอยฟ้า" 7 ไร่ ใหญ่สุดใจกลางกรุง!

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บริษัท วิมานสุริยา จำกัด ผู้พัฒนา Dusit Central Park โครงการมิกซ์ยูสระดับโลก ภายใต้คอนเซ็ปต์ Here for Bangkok และผู้พัฒนา The Residences at Dusit Central Park โครงการที่อยู่อาศัยระดับลักชัวรี่ใน Super Core CBD

เผยโฉมแรกและรายละเอียดองค์ประกอบสำคัญของ Thailand’s Largest Urban Roof Park สวนลอยฟ้าใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ภายในโครงการฯ ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ 7 ไร่ (11,200 ตารางเมตร)

สวนลอยฟ้า Dusit Central Park

สมบูรณ์ไปด้วยไลฟ์สไตล์ฟังก์ชั่นผสานธรรมชาติวิทยา ทั้งต้นไม้ สัตว์ และแมลงตัวเล็กตัวน้อย ปักหมุดเป็นแลนด์มาร์กแห่งความสุขแห่งใหม่ที่รองรับไลฟ์สไตล์ของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ กำหนดเปิดให้บริการต่อสาธารณชนเดือนสิงหาคมนี้

พร้อมชวนคนไทยทั่วโลกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ใน ‘Roof Park at Dusit Central Park: The Landmark of Thai Pride’ แคมเปญประกวดตั้งชื่อสวนลอยฟ้า Roof Park ชิงรางวัลแพ็คเกจตั๋วเครื่องบินพร้อมที่พักโรงแรมดุสิตธานี เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และอื่นๆ

ลองมาดูคอนเซปต์ของ "สวนลอยฟ้า" แห่งนี้กันก่อน เป็นข้อมูลเผื่อคุณสนใจเข้าประกวดตั้งชื่อสวนลอยฟ้าใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้

ศุภจี สุธรรมพันธุ์

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์การสร้างสวนลอยฟ้า แห่งนี้ว่า

“Roof Park แห่งนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของทีมผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาพื้นที่มิกซ์ยูสของโครงการ Dusit Central Park ให้เป็นมากกว่าพื้นที่เชิงธุรกิจบน Prime Location แต่เป็น พื้นที่ที่ตอบแทนสังคม ต้อนรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย รองรับทุกความต้องการและทุกไลฟ์สไตล์"

เพื่อมอบความสุขพร้อมยกระดับ คุณภาพชีวิต และ คุณภาพเมือง ที่ดีให้แก่คนไทยและนักท่องเที่ยวทั่วโลก ผ่านการสร้าง พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ 7 ไร่ (11,200 ตารางเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ชั้น 4 ต่อเนื่องถึงชั้น 7 ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจที่เชื่อมต่อองค์ประกอบทุกส่วนของโครงการ Dusit Central Park เข้าไว้ด้วยกัน

"นับเป็นครั้งแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่โครงการขนาดใหญ่ใจกลางเมืองได้สร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวเพื่อสาธารณประโยชน์ พร้อมทั้งมอบความสวยงามด้านภูมิสถาปัตย์ให้กับโครงการฯ ควบคู่กับการมอบทิวทัศน์แบบ Extended Park View ที่เชื่อมกับ สวนลุมพินี แบบไร้รอยต่ออีกด้วย"

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า การนำเสนอพื้นที่สีเขียว Roof Park ต่อสังคมในครั้งนี้ ยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ในระดับประเทศใน 3 มิติ

  • มิติทางเศรษฐกิจ ผ่านการเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ดึงดูดทั้งชาวไทยและคนจากทั่วโลกให้มาเยือน
  • มิติทางด้านสังคม ผ่านการมอบพื้นที่สีเขียวที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานได้ตามไลฟ์สไตล์ของตนเอง
  • มิติด้านระบบนิเวศเมือง ผ่านการปลูกพันธุ์ไม้ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจน ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดักจับและลดฝุ่น PM10 และ PM2.5 ลดอุณหภูมิและเพิ่มความชุ่มชื้นให้อากาศเย็นสบายด้วยน้ำตกที่กระจายตามจุดต่าง ๆ

การสร้างสรรค์ Roof Park ไม่ได้เพียงตอบสนองด้านฟังก์ชั่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่ได้สัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติที่พร้อมช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ผ่านการออกแบบให้สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกแบบ Roof Park หรือ "สวนลอยฟ้า" ของ Dusit Central Park ตั้งใจให้เกิด ประโยชน์ใช้สอย โดยเป็นทั้งจุดชมวิว พื้นที่สำหรับพบปะสังสรรค์ พื้นที่รับประทานอาหาร สนามเด็กเล่น และ Amphitheatre ที่สามารถรองรับกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงงานศิลปะ ดนตรี และการจัดมินิอีเวนต์ในวาระต่าง ๆ

ควบคู่กับการพัฒนาให้พื้นที่สามารถสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์เป็นของตัวเอง ผ่านการคัดเลือกต้นไม้อย่างพิถีพิถัน

"พื้นที่นี้จึงกลายเป็นบ้านของนก แมลงที่เป็นประโยชน์ และสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่เกื้อหนุนการดำรงอยู่ของธรรมชาติได้อย่างแท้จริง ตอบโจทย์ทั้งในด้านความยั่งยืนผ่านการสร้างระบบนิเวศเมืองที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน

โดยเราได้วางเป้าหมายให้ Roof Park เป็น สวนลอยฟ้าใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (Thailand’s Largest Urban Roof Park) และสามารถให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายเพราะเชื่อมต่อทั้งจากระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดง และรถไฟใต้ดิน MRT สถานีสีลม อย่างไร้รอยต่อ

เทียบเคียงสวนสาธารณะระดับโลกอย่าง Central Park ในมหานครนิวยอร์ก และ Hyde Park ในมหานครลอนดอน ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของทุกคนที่ตั้งอยู่บน Prime Location ใจกลางเมือง"

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) คาดหวังว่า กิจกรรมและการใช้สอยดังกล่าวที่เกิดขึ้นใน "สวนลอยฟ้า" ของ Dusit Central Park จะนำมาซึ่งประโยชน์ที่เชื่อมโยงกันใน 3 มิติ

"ใน มิติของด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่นำไปสู่การยกระดับของระบบนิเวศเมือง (Urban Ecology) ทำให้กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น และเสริมสร้างให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญและการรักษาพื้นที่สีเขียว

เพราะมีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่งใน มิติทางด้านจิตใจ และอารมณ์ โดยให้ธรรมชาติเข้ามาเติมเต็มในทุก ๆ องค์ประกอบ อาทิ รูปร่าง ลวดลาย และพื้นผิวของธรรมชาติ

รวมถึงสร้างภูมิทัศน์สีเขียวจากวัสดุธรรมชาติ บรรยากาศของเสียงนก เสียงน้ำตก และความเย็น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้ผู้ที่เข้ามาเยือนรู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติได้ลึกซึ้ง

ด้านมุมมองต่อ มิติการทำงาน จะช่วยบำบัดให้เกิดความสงบ ผ่อนคลาย และยังส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ สร้างมิติสัมพันธ์ในการบริหารจัดการ ทั้งการแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล และการวางแผนกลยุทธ์ที่เกิดประสิทธิผล

ทำให้ Roof Park แห่งนี้ จึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตควบคู่คุณภาพเมือง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระดับโลก” ศุภจี สุธรรมพันธุ์ กล่าว

ธัชพล สุนทราจารย์

สำหรับ ภูมิสถาปัตยกรรมของ Roof Park โครงการ Dusit Central Park ได้รับการออกแบบโดย บริษัท Landscape Collaboration จำกัด นำเสนอมุมมองที่สร้างอัตลักษณ์ให้โครงการฯ ควบคู่การรองรับความต้องการของคนเมือง ผ่านแนวคิด 3 เรื่องราว ได้แก่

1. การสานต่อมรดกอันงดงาม (Heritage & Legacy)

เป็นการสานต่อมรดกอันงดงามของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ในบริบทร่วมสมัย ผ่านการใช้อัตลักษณ์ต่าง ๆ เช่น การสร้างน้ำตกที่ไหลมารวมกัน การเลี้ยงปลา การปลูกต้นลีลาวดี

"โรงแรมดุสิตธานีดั้งเดิมเป็นโรงแรมหรือสถาปัตยกรรมที่ซึ่งผู้ก่อตั้งโรงแรมมีแนวคิดเรื่องสวนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งตั้งแต่การผัง ของเดิมเราเดินเข้ามาก็เจอน้ำตกอยู่ในสวนผสมผสานทั้งภายนอกภายในของโรงแรม และมีฟอร์มที่ชัด" ธัชพล สุนทราจารย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Landscape Collaboration จำกัด กล่าว

เอกลักษณ์ความเป็นไทยก็เป็นอีกองค์ประกอบที่นำมาใช้ในการออกแบบสวนลอยฟ้าครั้งนี้

2. การนำ Universal Design ผสานเข้า Inclusive Design for All

มุ่งเน้นไปที่การออกแบบเพื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือเพื่อใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยง

"เนื่องจากรูปแบบอาคารมีลักษณะของระเบียงหลายๆ ชั้น คือหลังคาของชั้นสามถึงชั้นเจ็ด ทำอย่างไรให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ ทั้งวีลแชร์ เด็ก ผู้สูงอายุ เดินเชื่อมต่อกันได้ จึงเป็นที่มาของภูมิสถาปัตยกรรมสวนที่มีลักษณะของเนิน" ธัชพล กล่าว

3. Urban Sanctuary & Ecosystem

แนวคิดนี้คือ พื้นที่สีเขียวในเมืองหรือ "สวน" ไม่ใช่มองสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ระบบนิเวศแก่ประชาชน

เพื่อสร้างระบบนิเวศที่มีความเฉพาะตัวสำหรับกรุงเทพฯ ธัชพลจึงเริ่มต้นจากสังคมพืช ผ่านการเลือกสรรพันธุ์ไม้ไทยจากหลายกลุ่มมาผสมผสานกันทั้งไม้เรือนยอดที่ให้ร่มเงา กลุ่มไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น ไม้น้ำ ไม้คลุมพื้น ไม้ดอก เพื่อสร้างสังคมพืชสำหรับ "สวนลอยฟ้า" สำหรับ Dusit Central Park

โดยทีมงานได้นำเสนอมุมมองเพื่อสร้างระบบนิเวศควบคู่กับศึกษาวรรณกรรมไทยของ สุนทรภู่ ซึ่งมีการกล่าวถึงพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมากมายในพื้นที่จริง อาทิวรรณกรรมเรื่อง นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณบุรี และ นิราศเมืองแกลง เพื่อให้เข้าใจถึงพันธุ์ไม้ไทยเดิม ต้นไม้ประจำถิ่น และไม้มงคล

เช่น มะกอกน้ำ ที่มาของชื่อบางกอก พร้อมทั้งคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่สามารถดักฝุ่นละออง และต้นไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงที่มีประโยชน์และสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย เช่น ผีเสื้อ ชันโรง แมลงปอ ผึ้ง เป็นต้น

"ต้นมะมอกน้ำก็จะปลูกอยู่ริมน้ำตกในสวนของเรา" ธัชพล ยกตัวอย่าง

นอกจากนี้ต้นไม้ใหญ่ๆ แต่ละสายพันธุ์ยังจัดทำคิวอาร์ โค้ด เพื่อให้ผู้สนใจและนักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ข้อมูล

ด้านระบบนิเวศได้วาง คอนเซปต์ธรรมชาติบำบัด ที่ปราศจากสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง คลอรีน ทำให้พื้นที่สีเขียวแห่งนี้เป็นบ้านที่เหมาะสมสำหรับทั้งแมลงปอ แมลงทับ ผีเสื้อ และกระรอก เป็นต้น

รวมทั้งในอนาคตสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่สำคัญยังได้คำนึงถึงอรรถประโยชน์ในการใช้งาน โดยนำเรื่อง สภาวะน่าสบาย (Thermal Comfort) คือลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก 1-2 องศาเซลเซียส เข้ามาเสริมอีกปัจจัย

ทำให้พื้นที่แห่งนี้ นอกจากมีคุณสมบัติในการสร้างออกซิเจน ดูดซับฝุ่น และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังมอบร่มเงาจากต้นไม้ และความสดชื่น ชุ่มชื้นจากละอองน้ำตก อากาศที่เย็นสบาย เกิดเป็นบรรยากาศความสุขและความรื่นรมย์จนสามารถใช้เวลาที่นี่ได้ทั้งวันอย่างเพลิดเพลิน

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ กล่าวเสริมว่า ทางโครงการฯ ได้สร้างสรรค์แคมเปญเพื่อต้อนรับพื้นที่ Roof Park แห่งนี้ และเชิญชวนให้คนไทยทั่วโลกได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กับพื้นที่สีเขียวคุณภาพหน้าใหม่ของกรุงเทพฯ ใน ‘Roof Park at Dusit Central Park: The Landmark of Thai Pride’ แคมเปญประกวดตั้งชื่อ Roof Park ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2568 ภายใต้ข้อกำหนดที่สะท้อนเนื้อหาและเรื่องราว ดังนี้

  • การเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Accessibility)
  • ความเป็นจุดหมายสำคัญของเมือง (Landmark)
  • ผสานความเป็นธรรมชาติกับความเป็นเมือง (Nature meets urban)
  • ความเป็นไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai)
  • การเชื่อมต่อกับผู้คนและชุมชน (Community Connection)

โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ ทีมผู้บริหาร ศิลปินแห่งชาติ และอดีตคณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (A49) และ บริษัท Landscape Collaboration จำกัด

ผู้ชนะเลิศการประกวดจะได้รับ รางวัลแพ็คเกจตั๋วเครื่องบินพร้อมที่พักโรงแรมดุสิตธานี เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น 3 วัน 2 คืน และรางวัลชมเชย บัตรรับประทานอาหารที่ห้องอาหาร Pavilion โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ มูลค่า 3,000 บาท จำนวน 5 รางวัล

ตรวจสอบรายละเอียด กฎ และกติกาของแคมเปญประกวดตั้งชื่อ ผ่านช่องทาง

  • Website : Dusitcentralpark.com
  • Facebook Page : Dusit Central Park
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

Oversharing เล่าดราม่าชีวิตในออฟฟิศมากไป งานอาจพังไม่รู้ตัว

28 นาทีที่แล้ว

หุ้นไทยมิ.ย.ผันผวน P/E ถูกกว่าภูมิภาคแตะ11 เท่า ดัชนี-วอลลุ่มวูบต่อ - ThaiESGXช่วยหยุง 3 หมื่นล้าน

31 นาทีที่แล้ว

กรุงเทพธุรกิจ CEO of the Year สร้างส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'การ์ทเนอร์' เผย 'AI Agents’ อาวุธลับ เปลี่ยนเกมการตัดสินใจธุรกิจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Maho Rasop Festival ประกาศหยุดพักจัดเทศกาลดนตรีประจำปี 2025 ด้วยเหตุผลเรื่องเศรษฐกิจ

THE STANDARD

MSD ประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อน Trans Pride Thailand 2025 สู่สังคมแห่งความเท่าเทียม

สยามรัฐวาไรตี้

ตับพังแน่นอน!! โปรดิวเซอร์อนิเมะ Cyberpunk Edgerunner เผย “เขาเป็นคนโปแลนด์ คนโปแลนด์เป็นคนเศร้า เกิดมาเพื่อเศร้า ตายไปก็เศร้า และเขาอยากทำให้ คนทั้งโลกเศร้า นั่นจะทำให้เขามีความสุขขึ้นมานิดนึง”

CatDumb

MIND: หยุดหลอกคนรักด้วยคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ เพราะอารมณ์ที่ซ่อนไว้อาจรั่วไหล จนทำลายความสัมพันธ์

BrandThink

‘Prince of Eurasia’ สารคดีโลกที่ผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก

เดลินิวส์

Oversharing เล่าดราม่าชีวิตในออฟฟิศมากไป งานอาจพังไม่รู้ตัว

กรุงเทพธุรกิจ

7 เทคนิคสำคัญ จอดรถหนีน้ำท่วม ลดความเสียหายให้กับรถยนต์

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

เช็กก่อนเลือกเดินทางทำงานต่างแดน ประเทศไหนค่าครองชีพสูง-ต่ำ ที่สุดสำหรับชาวต่างชาติ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...