โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

'แอลกอฮอล์' เสี่ยงมะเร็ง 8 ชนิด ยอดเจ็บ 5 ปี เสียเงินเฉียดครึ่งล้าน!

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันนี้ (4 กรกฎาคม 2568) ที่โรงแรมแมนดาริน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มูลนิธิเด็กเยาวชน และครอบครัว สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เครือข่ายชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันงดดื่มสุราแห่งชาติ 2568 พร้อมเสวนาถอดประสบการณ์ “เหยื่อสงครามน้ำเมา

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันเข้าพรรษา วันที่ 11 กรกฎาคม 2568 ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมติเห็นชอบ รูปแบบกิจกรรมรณรงค์ปีนี้โดย มุ่งเน้นการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เป็นศูนย์ “Zero drink Zero death” เป็นการให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชน

ดังนั้น ขอเชิญชวนประชาชนลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดชีวิต เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้นทางของปัญหาสำคัญหลายมิติ

การเปิดเวทีวันนี้ จึงได้เชิญผู้ได้รับผลกระทบ 4 คนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้แก่ เหยื่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับ คุณพ่อที่สูญเสียลูกชายเพราะพิษสุรา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว และเยาวชนที่ฤทธิ์สุรานำไปสู่อาชญากรรม เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจนักดื่มให้หันมาลด ละ เลิก เพราะไม่อยากให้ใครต้องเผชิญชะตากรรมอันเป็นผลจากการดื่มเช่นเดียวกับทั้ง4ท่าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘ปลดล็อกโฆษณาเหล้าเบียร์’ ไม่ตรงปก! แฉสส.รัฐบาลพลิกเกม

สสส.-เครือข่ายงดเหล้า ชู 'รักนำรู้' จุดเปลี่ยนครู สร้างภูมิคุ้มกันเด็กไทย

สสส.ชวนวางแก้ว ตั้งสติ ลดเหล้า

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคม การรณรงค์และให้ความรู้ กระตุ้นเตือนอันตรายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสำคัญในการดื่มไม่ขับ ขับไม่ดื่ม การสกัดนักดื่มหน้าใหม่ และกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มการดื่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน และกลุ่มเพศหญิง เป็นต้น

อีกทั้งนี้เข้าพรรษาปีนี้ สสส.ได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณารณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ผ่านแนวคิด “สสส ชวนตัวเองงดเหล้า คุณทำได้” เพราะ สสส.มองว่าจุดเริ่มต้นเรื่องนี้ต้องมาจากตัวเอง สำหรับภาพยนตร์ 3 เรื่อง จะเล่าถึงการที่ตัวเองเตือนตัวเองได้ดีที่สุด ผ่าน 3 ตัวละครหลัก ทั้ง 3 เรื่อง ดังนี้

1. เงา = เงาของตัวพระเอกเอง จะชวนตัวเองของเราเลิกเหล้ายังไง

2. แนนซี่=เมื่อแนนซี่บอกตัวเองว่าไม่ดื่ม แนนซี่จะพบกับชีวิตที่ดี

3. อ๊อด =ถ้า 1 อ๊อดมาเตือนยังไม่พอ อาจต้องยกทั้งมัลติเวิร์สของอ๊อดมาช่วยเตือน เรื่องราวเล็ก ๆ แต่หนักแน่นข้อเท็จจริงในชีวิต เป็นต้น

“การตัดสินใจ ดื่ม หรือเลิกดื่ม ไม่ได้อยู่ที่บริบทสังคม แต่เป็นการเลือกที่จะฟังเสียงจากใจของเราเอง เลือกที่จะมีสติ เลือกสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับตนเองและคนที่รักต่างหาก ผ่านการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพียงแค่บอกกับตัวเอง และชวนตัวเองวางหรือคว่ำแก้วเหล้าที่อยู่ในมือ เพื่อนำทางเราไปสู่เส้นทางที่ดีกว่า” น.ส.รุ่งอรุณ กล่าว

จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนใช้เวลาในช่วงเข้าพรรษาเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางชีวิตใหม่นี้ เริ่มวันนี้ ดีตั้งแต่วันนี้ ชวนตัวเองเลิกดื่มแอลกอฮอล์ คุณทำได้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำลายสุขภาพและร่างกาย เพื่อตนเองและครอบครัว

อุบัติเหตุจากน้ำเมา เสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 370,000 ล้านบาท

ด้าน รศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร ผอ.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ปี 2562–2566 พบว่า บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์เฉลี่ยปีละเกือบ 57,000 ราย รวม 5 ปี มากกว่า 284,000 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 370,000 ล้านบาท

ที่น่าตกใจคือ คนไทยเกือบ 80% เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มของผู้อื่น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และปัญหาครอบครัว โดยต้นทุนทางสังคมเฉลี่ยจากนักดื่มไทยหนึ่งคนสูงถึง 498,196 บาท โดยเฉพาะนักดื่มชายมีต้นทุนสูงถึง 721,344 บาทต่อคน

“แอลกอฮอล์ = สารเสพติดอันตรายอันดับ 1ยิ่งกว่า กัญชา เฮโรอีน โคเคน และสร้างผลกระทบทั้งผู้ดื่ม ครอบครัว และคนรอบข้าง ซึ่งกลายเป็นเหยื่อของน้ำเมา และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 ที่เชื่อมโยงกับมะเร็งอย่างน้อย 8 ชนิด ดังนั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการลด ละ เลิกการดื่ม เพื่อปกป้องสุขภาพ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน” รศ.ดร.นพ.พลเทพ กล่าว

อีสาน- ขอนแก่น ขึ้นแท่งจังหวัดอัตราดื่มมากที่สุด

ทั้งนี้ ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2567 พบว่า นักดื่มปัจจุบัน 35.2% (20.9 ล้านคน) แบ่งเป็น ชาย 55.7% (15.7 ล้านคน) หญิง 16.7% (5.2 ล้านคน) โดยชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าหญิงถึง 3.3 เท่า

จากการเก็บข้อมูลประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ใน 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อัตราความชุกของนักดื่มหนัก 16.9% อัตราความชุกของ นักดื่มประจำ 14.0% แนวโน้มอัตราความชุกของ นักดื่มหนัก/ประจำเพิ่มสูงขึ้น และเป็นสถิติสูงสุด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีอัตราการดื่ม สูงสุด 43.4% ป็นพื้นที่ดื่มมากสุด และจ.ขอนแก่น ขึ้นแท่นจังหวัดนักดื่ม

5 อันดับจังหวัด ที่มีอัตราการดื่ม "มากที่สุด" ได้แก่

  • ขอนแก่น 64.1%
  • ลำปาง 59.5%
  • มหาสารคาม 56.0%
  • เชียงราย 53.7%
  • พะเยา 53.6%

5 อันดับจังหวัดที่มีอัตราการดื่ม "น้อยที่สุด" ได้แก่

  • ปัตตานี 3.8%
  • นราธิวาส 4.3%
  • ยะลา 5.8%
  • สตูล 7.9%
  • พังงา 15.2%

วัยทำงาน -เยาวชนดื่มเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิง

ขณะที่ วัยทำงาน (อายุ 25–44 ปี)มี อัตราการดื่มสูงสุด โดยอัตราการดื่มของกลุ่มอายุ 15-19 ปี 9.6% และอัตราการดื่มของกลุ่มอายุ 20-24 ปี 37.8%

"อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ครั้งแรก คือ 19.9 ปี"

ส่วนเด็กไทยดื่มเร็ว! นักเรียนหญิงเคยดื่มมากกว่าชาย ดื่มครั้งแรกจากผู้ใหญ่รอบตัว การได้รับแอลกอฮอล์จากผู้อื่นที่อายุ >20 ปี ชาย 30.6% หญิง 28.4% การซื้อด้วยตนเอง ชาย 18.7% หญิง 28.1%

แอลกอฮอล์: ตัวเร่ง “โรคเรื้อรัง” ตัวจริง

  • ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) เช่น โรคตับแข็ง, มะเร็ง, เบาหวาน, ความดันสูง, หลอดเลือดสมอง
  • >200 โรคและอาการบาดเจ็บ เป็น “ต้นตอซ่อนเร้น” ของโรคเรื้อรังในวัยทำงานและวัยสูงอายุ
  • ประเทศไทย: แอลกอฮอล์เป็น “ปัจจัยเสี่ยงลำดับ 2” ที่ทำให้ประชากรสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) ในผู้ชายแอลกอฮอล์ = สารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1

แอลกอฮอล์ทำให้เกิดโรคมะเร็งอย่างน้อย 7+1 ชนิด

เป็นที่ทราบกันว่า การดื่มแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในอวัยวะ ดังนี้

  • มะเร็งช่องปาก
  • มะเร็งคอหอย
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งกล่องเสียง
  • มะเร็งเต้านม(ในผู้หญิง)
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • มะเร็งตับอ่อน

ดื่มแอลกอฮอล์แก้วแรกก็เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งแล้ว และมากกว่า 1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ทั่วทั้งภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลกในปี 2561 เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย กล่าวคือ ไม่เกิน เบียร์ขวดใหญ่ 1 ขวด (500 มล.) ไวน์ 2 แก้ว (200 มล.) เหล้า 60 มล.ต่อวัน

อุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ 1 ในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตบนถนน ในช่วงเทศกาลของไทย ทั้งปีใหม่และสงกรานต์ ความสูญเสียจาก เมาแล้วขับ จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ

ไม่ใช่แค่คนดื่มที่เจ็บป่วย แต่คนรอบข้าง คือ เหยื่อ

  • 79% เคยได้รับผลกระทบจากการดื่มของผู้อื่น (ภายใน 12 เดือน)
  • ผลกระทบทางจิตใจ 76.8%
  • ผลกระทบทางร่างกาย 6.2%
  • กลุ่มเปราะบาง เด็ก เยาวชน ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์
  • ความรุนแรงในครอบครัว 12.8%

ครอบครัวเป็นแหล่งเสี่ยง

  • อยู่ร่วมกับผู้ดื่มหนัก 69.7%
  • ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 20.8%

พื้นที่สาธารณะและที่ทำงาน

  • 40%เคยต้องทำงานแทน/คุณภาพงานลดจากเพื่อนร่วมงานที่เมา
  • 33% รู้สึกไม่ปลอดภัยจากคนเมาในพื้นที่สาธารณะ

สุราลดอายุ ยิ่งดื่มสังคมยิ่งจ่ายแพง

นักดื่มไทย 1 คน สร้างต้นทุนเฉลี่ยให้สังคมตลอดช่วงชีวิตสูงถึง 498,196 บาท โดยนักดื่มชาย = 721,344 บาท นักดื่มหญิง = 263,812 บาท

อายุขัยสั้นลง ผู้ชาย 2.7 ปี ผู้หญิง 1.2 ปี ต้นทุนที่ใหญ่ที่สุดมาจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ชาย 58% ของต้นทุนส่วนเกิน ผู้หญิง 71.5% ของต้นทุนส่วนเกิน รองลงมา คือ ค่ารักษาพยาบาล

เสียงของครอบครัว -คนรัก เหยื่อน้ำเมา

นายไสว ไพรศาลหรือลุงไสว คนขับรถสามล้อย่านหัวลำโพง กล่าวว่า ตอนนี้ขับรถสามล้อรับจ้าง ต้องสูญเสียลูกชายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งถ้าย้อนกลับไป ตอนนั้นลูกชายอายุประมาณ 15 ปี ออกมาขับจักรยานยนต์รับจ้าง ได้ดื่มเหล้าสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง แต่หลังๆ เริ่มดื่มหนักขึ้นทุกวันถึงขนาดพกติดตัวเอาไว้ เป็นอย่างนี้อยู่หลายปี ตนตักเตือนว่าแอลกอฮอล์ไม่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งเป็นโรคลมชักอยู่ด้วย ถ้าไม่ฟังพ่อ เดี๋ยวหมอก็จะตักเตือนเอง

"พฤติกรรมการดื่มของลูกชายตนนั้นเป็นเช่นนี้มาเรื่อย ๆ กระทั่งมีแฟนตอนอายุประมาณ 25 ปี แล้วแยกไปอยู่กับแฟน ก็ยังดื่มเช่นเดิม สุดท้ายร่างกายไม่ไหว เสียชีวิตตอนอายุ 30 ปี ด้วยอาการตับวาย ปอดติดเชื้อ จากเหตุการณ์นี้ตนก็อยากจะเตือนคนอื่นๆ ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งไม่ดี ทำให้เจ็บป่วย ฟังสิ่งที่พ่อ แม่ ตักเตือน หากเลิกได้ก็ขอให้เลิก"

ด้าน น.ส.ตวิษา ปานแม้น ซึ่งเป็นผู้ได้รับผบกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตอนที่อายุ 18 ปี ได้พบกับอดีตแฟนซึ่งเป็นพ่อของลูกตอนนี้ ต่างคนต่างก็มีการมีงานทำ มีการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ และไม่ได้มีปัญหาอะไร จนกระทั่ง 2-3 ปีให้หลัง ก็ออกแววไม่เอาอะไรเลย ขี้เกียจ เริ่มดื่มหนักขึ้น ดื่มเป็นประจำ ดื่มจนจำหน้าลูก หน้าแม่ ไม่ได้ และลงมือทำร้ายร่างกาย ลาออกจากงานและไม่ได้กลับไปทำงานอีก

มีเพียงตนที่ออกไปทำงานนอกบ้านคนเดียว แต่นั่นก็ทำให้เกิดปัญหาหึงหวงอย่างหนัก คุยกับใครก็ไม่ได้ แม้กระทั่งคนที่ทำงาน แค่จับโทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊ค ก็หึง เป็นอย่างนี้มาเรื่อย จนมีลูกด้วยกัน และคลอดลูกได้ประมาณ 5 เดือน เขาก็เมาและทำร้ายร่างกายตนและลูก จึงเป็นจุดที่ทำให้ตัดสินใจหอบลูกหนีออกมา แต่เขาก็ยังตามตลอด จนเอาลูกไปจากเราได้ และคาราคาซังกันมา 3 ปี ถึงตัดกันได้ขาด ตอนนี้เขาเสียชีวิตแล้ว

"จากประสบการณ์ของตนเอง อยากจะเตือนคนที่กำลังเผชิญปัญหาสุราและความรุนแรงในครอบครัว ขอให้ใช้สติและกลับมารักตัวเองให้มาก และพาตัวเองออกมาจากตรงนั้นให้เร็วที่สุด จะได้เจอกับแสงสว่างและความสุขที่แท้จริง"

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

สุดเจ๋ง! นักศึกษา DPUโชว์ผลงานวิจัยนานาชาติ วิเคราะห์ตลาดการเงินโลก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘อร่อยทั่วไทย’ ยกระดับแกงไทยสู่สากล ที่ เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

NSL Foods ทุ่ม 800 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ ดันกำลังผลิตแซนวิช โกยรายได้โต 16%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เห็ดแครงสายพันธุ์ใหม่ ไบโอเทคตอบโจทย์โปรตีนทางเลือก อาหารแพลนต์เบส

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

สุดเจ๋ง! นักศึกษา DPUโชว์ผลงานวิจัยนานาชาติ วิเคราะห์ตลาดการเงินโลก

กรุงเทพธุรกิจ

แพทย์เตือน!! 2 กลุ่มเสี่ยงไม่ควรดื่ม น้ำมะพร้าว เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

News In Thailand

'สมศักดิ์' ปัดตอบเวลา 'กัญชา' คืนยาเสพติด ยก 'กระท่อม' คุมดี - ราคาสูง

กรุงเทพธุรกิจ

ผื่นกุหลาบ ผื่นจากไวรัส พบบ่อยช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยตั้งครรภ์เสี่ยงแท้งได้

Amarin TV

IMCRANIB 100 ยารักษามะเร็งมุ่งเป้าเม็ดแรกของไทย พระอัจฉริยภาพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ

กรุงเทพธุรกิจ

นักวิจัยพบ "กลุ่มโปรตีน" ที่ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย

TNN ช่อง16

แหล่งอาหารช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้น แก้ก่อนเรื้อรังกระทบต่อสุขภาพ

PPTV HD 36

การนอนหลับกระบวนการซ่อมแซมชีวิต เผยเทคนิคช่วยให้การนอนมีคุณภาพดีขึ้น

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...