โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผู้ว่า ธปท. ห่วงภาษีสหรัฐฯ กระทบ SME แนะต้องเร่งเจรจา ลดความเสี่ยงสินค้าสวมสิทธิ์

การเงินธนาคาร

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผู้ว่าธปท. ชี้ไทยเร่งเจรจาภาษีสหรัฐฯ ให้จบเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อหาทางบรรเทาผลกระทบและเยียวยา จับตาประเด็นสินค้าสวมสิทธิ์ เร่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของเอสเอ็มอีระยะยาว

16 ก.ค. 2568 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลมอบรางวัลเกียรติยศ "Money & Banking Awards 2025" จัดโดยวารสารการเงินธนาคาร โดยระบุว่า

ปัจจุบันเริ่มทยอยเห็นผลการเจรจาภาษีสหรัฐฯ ของหลายๆ ประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าการที่ไทยจะเร่งเจรจาให้ชัดเจนและจบเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อที่เมื่อเห็นรายละเอียดต่างๆ แล้วจะนำมาซึ่งการหาแนวทางบรรเทาผลกระทบและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยคือการปรับตัวสำหรับในอนาคต

“ส่วนมากเรามักเน้นเรื่องของระยะสั้นมากกว่าและลืมเรื่องของระยะยาว แต่ครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่เราจะต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่เน้นเรื่องของตัวเลขไม่ว่าจะเป็นส่งออก ลงทุน ต้องมาดูว่ามูลค่าเพิ่มของเราจะเป็นอย่างไร”

สำหรับกรณีที่เวียดนามและอินโดนีเซียเปิดตลาดให้กับสหรัฐฯ จะเป็นแรงกดดันให้ทีมเจรจาของไทยหรือไม่ ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า การเปิดตลาดเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศต้องดูสถานการณ์ของตัวเอง อย่างไรก็ตามรายละเอียดในหลายเรื่องยังไม่ได้ออกมา เช่นประเด็นสินค้าสวมสิทธิ (Transshipment) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจะส่งผลกระทบอย่างมาก

“อย่างของเวียดนามรายละเอียดก็ยังไม่ได้ออกมาว่าอะไรคือ Transshipment เขาจะนิยามว่าอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้จะมีผลเยอะมากต่อเรื่องการลงทุนของเรา ตอนนี้เราก็ยังต้องรอดูปัจจัย รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ให้ชัดเจนก่อน”

ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า การรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ การทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน

“ตอนนี้ทุกหน่วยงานต้องหันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเราก็ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ และ หน่วยงานภาคเอกชน เช่น กกร. ว่าสิ่งที่เราควรทำคืออะไร ซึ่งสิ่งที่ผมดีใจคือ การหารือในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้มีแค่เรื่องระยะสั้น แต่มีเรื่องการปรับตัว เพิ่มความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น”

ส่วนข้อเรียกร้องถึงธปท. เช่น เรื่องดอกเบี้ย หรือ การดูแลค่าเงิน ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติที่ธปท. ต้องเตรียมรับมือ โดยในช่วงที่มีการประเมินเศรษฐกิจก็ได้คำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้

“อยากย้ำว่าเรื่องของนโยบายการเงินไม่ใช่เฉพาะเรื่องดอกเบี้ยแต่ยังมีเรื่องมาตรการอื่นที่เกี่ยวกับมาตรการการเงิน หนี้ครัวเรือนต่างๆ ด้วย”

สำหรับกรณีที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ไทยได้เปิดตลาดให้สหรัฐฯ 90% จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า เนื่องจากไม่ได้อยู่ในคณะเจรจาจึงไม่ทราบว่า 90% ครอบคลุมสินค้าชนิดใดบ้าง

อย่างไรก็ตามอยากฝากไว้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมาจากหลายช่องทาง คือ 1. กลุ่มที่ส่งออกไปสหรัฐฯ 2. กลุ่มที่รับผลกระทบจากการเจรจาลดภาษีจากการเปิดตลาด 3. กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าที่ทะลักเข้ามาในประเทศ เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งมีความเปราะบางสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ที่มีบริษัทต่างชาติค่อนข้างสูง

“ประเด็นสำคัญคือต้องรอดูว่าการเจรจาของไทยจะเป็นอย่างไร เพราะประเทศอื่นๆ ตอนประกาศก็ได้อัตราภาษีที่สูงพอเจรจาก็ลดลงมา เรื่องนี้คงต้องรอก่อน”

ทั้งนี้ผลกระทบต่อกลุ่มเอสเอ็มอีอาจจะสูงกว่ากลุ่มอื่น นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเข้าไม่ถึงสินเชื่อของเอสเอ็มอี ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า สาเหตุที่เอสเอ็มอีเข้าไม่ถึงสินเชื่อไม่ได้มาจากเกณฑ์ของธปท. โดยสาเหตุหลักที่เอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มาจากความเสี่ยง โดยหากจะแก้ไขปัญหาคือการแก้เรื่องความเสี่ยงคือการค้ำประกันสินเชื่อ

“เรื่องที่ต้องทบทวนคือสัดส่วนการค้ำประกันมีความเหมาะสมที่จะทำให้เพิ่มขึ้นหรือไม่”

ดร. เศรษฐพุฒิ เปิดเผยว่า ปัญหาสำคัญของเอสเอ็มอีคือเรื่องความสามารถในการแข่งขันที่จะต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น

“ถ้าธุรกิจแข่งขันไม่ได้จะให้สินเชื่อก็แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ แต่ถ้าธุรกิจปรับตัว เพิ่มศักยภาพ แข่งขันได้ สถาบันการเงินก็อยากทำกำไรและอยากปล่อยสินเชื่อ”

อ่านข่าว เศรษฐกิจทั่วไทย ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

SME D Bank คว้าแชมป์ 3 ปีซ้อน ‘ธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีแห่งปี’

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

8 ปีซ้อน! ธอส. คว้ารางวัล “ธนาคารยอดเยี่ยมด้านสินเชื่อบ้าน ปี 2568” ในงาน MONEY & BANKING AWARDS 2025

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ชาติศิริ โสภณพนิช” สร้างประวัติศาสตร์ ครองรางวัล ‘นักการเงินแห่งปี 2567’ 3 ครั้ง พร้อมนำทีม ธนาคารกรุงเทพ คว้ารางวัล ‘Bank of the Year 2025’ เป็นครั้งที่ 15

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทีมไทยแลนด์ ถก USTR คืนนี้ ให้ 0% สินค้าสหรัฐฯ หลายหมื่นรายการ

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ผ่าอาณาจักร “สุกี้ตี๋น้อย” จากร้านสุกี้ห้องแถวสู่ “บุฟเฟต์หมื่นล้าน”

ฐานเศรษฐกิจ

"กสทช." จี้ค่ายมือถือจัด "แพ็กเกจธงฟ้า" ไม่เกิน 240 บ./เดือน เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค

สยามรัฐ

HOKA บุกเจริญกรุง! เนรมิตตึกเก่าร้อยปีเป็น Culture Hub

ฐานเศรษฐกิจ

‘คราฟต์ช็อกโกแลตไทย’ พลิกโฉมอุตสาหกรรมที่คนทั่วโลกต้องเหลียวมอง

SMART SME

วัฒนธรรมในภูมิภาคไม่ใช่ของใครคนเดียว นักวิชาการ มธ. แนะ ‘ไทย’ ยื่นหลักฐาน แสดงบทบาทร่วมขึ้นทะเบียนกับ ‘ยูเนสโก’

SMART SME

“สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์”ส่งไม้ต่อ “สรวิช สนธิจิรวงศ์”นักธุรกิจรุ่นใหม่ ปั้น SAMAS อาหาร Chef's Table สุดหรู

Manager Online

Broker ranking 16 Jul 2025

Manager Online

ปูนซีเมนต์นครหลวง คว้ารางวัล “บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี” จาก Money & Banking Awards 2025

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...