ความเหงา คร่าชีวิตคน 100 คน ในทุก ๆ ชั่วโมง
ทุกๆ ชั่วโมง จะมีคนเสียชีวิตเพราะความเหงา 100 คน หรือมากกว่า 870,000 คนทั่วโลก
สถิตินี้เปิดเผยโดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาเตือนว่า ประชากรโลกกว่า 1 ใน 6 กำลังเผชิญกับความเหงา โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง
WHO ชี้ว่า ความเหงา ไม่เท่ากับการอยู่คนเดียว แต่หมายถึง การรับรู้ว่าตัวเองขาดการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีคุณภาพ
ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกาย ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจโรคเบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม และอาจร้ายแรง ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ส่วนผลกระทบทางจิตใจ คนที่รู้สึกเหงาบ่อยๆ ยังจะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูงเป็น 2 เท่า ที่นำไปสู่ความคิดอยากทำร้ายตัวเองเพิ่มขึ้น
ความเหงา ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยรวมแทบจะในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การทำงาน และความสามัคคีในสังคม
เมื่อความเหงาสามารถส่งผลต่อชีวิตของเราขนาดนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราสามารถป้องกันความเหงา เริ่มจากการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ในสังคม อย่างการทำกิจกรรม เป็นอาสาสมัคร เลี้ยงสัตว์ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้โซเชียลมีเดีย
การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่เพียงทำให้เราไม่เหงา แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ และยืดอายุขัยได้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ภาวะซึมเศร้าในช่วงเย็น" (Evening Depression) อารมณ์เศร้าที่มาพร้อมกับฟ้ามืด
- งานวิจัยชี้ ความเหงาเชื่อมโยงป่วยทางกาย โรคหัวใจ ความดันโลหิต ภูมิตก
- นิวนิว เอวเด้ง ป่วยซึมเศร้า วูบหมดสติ โชคดีทีมกู้ภัยเข้าช่วยเหลือทัน
- งานวิจัยพบ ตื่นเช้าแค่ 1 ชั่วโมง อาจช่วยลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้ถึง 23%
- เตือนภาวะแบ่งขั้วความคิดทางการเมืองส่งผลกระทบสุขภาพจิต